หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียม จัดเก็บวัตถุดิบในการประกอบอาหาร

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-OGXB-986A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียม จัดเก็บวัตถุดิบในการประกอบอาหาร

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ประกอบอาหารในร้านอาหาร  



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในเรื่องการเตรียม จัดเก็บวัตถุดิบในการประกอบอาหาร แต่ละรายการและตำรับมาตรฐาน  โดยเลือกวัตถุดิบตามลำดับการใช้งาน เพื่อประกอบอาหารที่มีความสดใหม่และมีคุณค่าทางโภชนาการ     หน่วยสมรรถนะนี้เหมาะกับผู้เข้ารับการประเมินที่มีทักษะฝีมือ และเทคนิค ภายใต้การควบคุมดูแลช่วยเหลือจากผู้ที่มีตำแหน่งงานที่สูงกว่า 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบอาหารในร้านอาหาร ขนาดเล็ก จนถึงขนาดใหญ่

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. กฎหมายเกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหาร2. พระราชบัญญัติอาหาร 25223. กฎหมายอาหารตามมาตรฐานสากล 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10131 เตรียมวัตถุดิบในการประกอบอาหารได้ตามที่กำหนด 1.  เตรียมวัตถุดิบตามตำรับที่ได้กำหนดไว้  10131.01 225265
10131 เตรียมวัตถุดิบในการประกอบอาหารได้ตามที่กำหนด 2.  ใช้วัตถุดิบตามลำดับการใช้งาน 10131.02 225266
10131 เตรียมวัตถุดิบในการประกอบอาหารได้ตามที่กำหนด 3.  ใช้อุปกรณ์ในการเตรียมวัตถุดิบได้เหมาะสม 10131.03 225267
10131 เตรียมวัตถุดิบในการประกอบอาหารได้ตามที่กำหนด 4. รักษาความสะอาด ในขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบได้ถูกสุขอนามัย ป้องกันการปนเปื้อนข้าม 10131.04 225268
10132 จัดเก็บวัตถุดิบในการประกอบอาหาร 1.  แยกชนิดและประเภทวัตถุดิบในการประกอบอาหารออกเป็นหมวดหมู่ตามหลักการ 10132.01 225269
10132 จัดเก็บวัตถุดิบในการประกอบอาหาร 2.  เลือกสถานที่และอุณหภูมิในการเก็บวัตถุดิบในการประกอบอาหารได้เหมาะสมและถูกสุขลักษณะ  10132.02 225270
10132 จัดเก็บวัตถุดิบในการประกอบอาหาร 3.  ใช้วัตถุดิบแบบมีลำดับการใช้งาน  10132.03 225271

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการเลือกคุณภาพของวัตถุดิบในการประกอบอาหาร

2. ทักษะการแยกประเภทของวัตถุดิบ

3. ทักษะการเตรียมวัตถุดิบ  เทคนิคการประกอบอาหาร  การหั่น  การซอย  การสับ

4. ทักษะการดูแลและจัดเก็บวัตถุดิบในการประกอบอาหาร

5. ทักษะการกำจัดของเสียที่เหมาะสม

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. รู้คุณสมบัติของวัตถุดิบในการประกอบอาหาร

2. รู้วิธีการเตรียมวัตถุดิบ  เทคนิคการประกอบอาหารตามตำรับอาหาร

3. รู้วิธีการดูแลและจัดเก็บวัตถุดิบในการประกอบอาหาร

4. รู้วิธีการแยกประเภทของวัตถุดิบ

5. รู้วิธีการคัดแยกขยะของเสีย

6. รู้หลักการประกอบอาหาร

7. รู้เรื่องการสุขาภิบาลอาหาร

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แสดงวิธีเตรียม ล้างวัตถุดิบในการประกอบอาหาร

2. แสดงวิธีการดูแลและจัดเก็บวัตถุดิบในการประกอบอาหาร

3. แสดงวิธีการคิดแยกวัตถุดิบ

4. แสดงวิธีการจัดการกับเศษวัตถุดิบที่เหลือใช้

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. การเตรียม ล้างวัตถุดิบในการประกอบอาหาร

2. การดูแลรักษาและจัดเก็บวัตถุดิบ  การแยกประเภทวัตถุดิบ

3. การจัดการเศษวัตถุดิบทีเหลือใช้

4. คู่มือการสุขาภิบาลอาหาร

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

คณะกรรมการควรสัมภาษณ์เพิ่มเติม เพื่อให้ผู้รับการประเมินได้แสดงผลงาน ที่แสดงว่ามีความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. การสอบถามปากเปล่า/การสัมภาษณ์ผู้ขอรับการประเมิน

2. ตรวจสอบผลงานจริง

3. แฟ้มสะสมผลงาน หลักฐานเอกสารต่าง ๆ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

- เตรียมวัตถุดิบตามตำรับที่ได้กำหนดไว้

- ใช้วัตถุดิบตามลำดับการใช้งาน

- ใช้อุปกรณ์ในการเตรียมวัตถุดิบได้เหมาะสม

- แยกชนิดและประเภทวัตถุดิบในการประกอบอาหารออกเป็นหมวดหมู่ตามหลักการ

- เลือกสถานที่ในการเก็บวัตถุดิบในการประกอบอาหารได้เหมาะสมและถูกสุขลักษณะ

- ใช้วัตถุดิบแบบมีลำดับการใช้งาน

(ก) คำแนะนำ

- หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ประเมินใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ประเมินต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงานในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้นๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าและนำไปแก้ไข



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

-เตรียมวัตถุดิบตามตำรับที่ได้กำหนดไว้ เช่น ทำความสะอาดล้างเนื้อสัตว์ก่อน เพราะจะมีการสูญเสียคุณค่าทางโภชนาการมากที่สุด จากนั้นทำการเตรียมผัก เครื่องปรุงรส

- ใช้วัตถุดิบตามลำดับการใช้งาน คือเลือกวัตถุดิบตามการใช้งานก่อนหลัง เช่น วัตถุดิบที่ซื้อมาก่อนควรใช้ให้หมดก่อน

- ใช้อุปกรณ์ในการเตรียมวัตถุดิบได้เหมาะสม เช่น การเลือกหม้อสแตนเลสสำหรับประกอบอาหารที่มีกรดเป็นส่วนประกอบ

- แยกชนิดและประเภทวัตถุดิบในการประกอบอาหารออกเป็นหมวดหมู่ตามหลักการ เช่น เก็บเนื้อสัตว์ แยกออกจากผักและผลไม้ ของแห้งควรเก็บรวมกับของแห้ง เครื่องปรุงรสควรเก็บรวมกัน

- เลือกสถานที่ในการเก็บวัตถุดิบในการประกอบอาหารได้เหมาะสมและถูกสุขลักษณะ คือสถานที่เก็บต้องมีความสะอาด ปราศจากแมลงหรือสัตว์พาหะนำโรค และความชื้น

- ใช้วัตถุดิบแบบมีลำดับการใช้งาน คือการรู้จักใช้วัตถุดิบก่อนหลังเช่น การผัดผักก่อนการใส่ผักต้องใส่กระเทียมก่อนเพื่อป้องการกระเทียมไม่สุก และรู้จักการปรุงรสหลังสุดเพื่อป้องกันการไหม้ในขณะที่ผักยังไม่สุก

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. หลักฐานความรู้ที่ต้องการ ประเมินจากการสัมภาษณ์

2. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หลักฐานเอกสารต่างๆ

 



ยินดีต้อนรับ