หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียม จัดเก็บเครื่องมือ อุปกรณ์ในการประกอบอาหาร

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-SKOL-984A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียม จัดเก็บเครื่องมือ อุปกรณ์ในการประกอบอาหาร

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ประกอบอาหารในร้านอาหาร  



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในการเตรียม จัดเก็บเครื่องมือ อุปกรณ์ในการเตรียมการประกอบอาหารได้เหมาะสมต่อการใช้งาน หน่วยสมรรถนะนี้เหมาะกับผู้เข้ารับการประเมินที่มีทักษะฝีมือ และเทคนิค ภายใต้การควบคุมดูแลช่วยเหลือจากผู้ที่มีตำแหน่งงานที่สูงกว่า 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบอาหารในร้านอาหาร ขนาดเล็ก จนถึงขนาดใหญ่

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. กฎหมายเกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหาร2. พระราชบัญญัติอาหาร 25223. กฎหมายอาหารตามมาตรฐานสากล 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10111 เลือกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ได้เหมาะสมกับการใช้งาน 1.  สวมใส่ผ้ากันเปื้อน หมวกคลุมผมทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน 10111.01 225251
10111 เลือกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ได้เหมาะสมกับการใช้งาน 2. กำหนดเครื่องมือ อุปกรณ์ในการประกอบอาหารได้ตามรายการอาหารที่ออกแบบไว้ 10111.02 225252
10111 เลือกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ได้เหมาะสมกับการใช้งาน 3. จัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับการเตรียมอาหารได้ครบถ้วน 10111.03 225253
10112 แยกประเภทของเครื่องมือ อุปกรณ์ในการประกอบอาหาร 1.  แยกประเภทของเครื่องมือ อุปกรณ์แต่ละประเภทของการเตรียม ผสม ประกอบและจัดเสิร์ฟ 10112.01 225256
10112 แยกประเภทของเครื่องมือ อุปกรณ์ในการประกอบอาหาร 2.  แยกประเภทของเครื่องมือเพื่อทำความสะอาด 10112.02 225257
10113 จัดเก็บเครื่องมือ อุปกรณ์ให้พร้อมกับการใช้งาน 1.  ทำความสะอาดเครื่องมือ อุปกรณ์ได้ถูกต้องตามชนิดของวัสดุที่ใช้ผลิตเครื่องมือ อุปกรณ์นั้น 10113.01 225258
10113 จัดเก็บเครื่องมือ อุปกรณ์ให้พร้อมกับการใช้งาน 2.  จัดเก็บเครื่องมือและอุปกรณ์แยกตามชนิด จัดเก็บเครื่องมืออุปกรณ์ในที่เก็บให้เหมาะสมกับการใช้งานอย่างปลอดภัย 10113.02 225259

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการประเมินเพื่อพิจารณาคุณภาพของวัสดุที่ใช้ทำเครื่องมือและอุปกรณ์งานครัว

2. ทักษะการอ่านออกเขียนได้

3. ทักษะการใช้เครื่องมือ  อุปกรณ์การประกอบอาหารอย่างถูกวิธีและปลอดภัย

4. ทักษะในการจัดการตนเอง  เพื่อดูแลรักษาสุขภาพและความปลอดภัย

5. ทักษะการดูแล  จัดเก็บอุปกรณ์

6. ทักษะการนับเลข  เพื่อประมาณการในเรื่องน้ำหนัก  ขนาด  จำนวน

7. ทักษะในการดูแลทำความสะอาดพื้น

8. ทักษะการกำจัดของเสียที่เหมาะสม

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ทำเครื่องมือและอุปกรณ์งานครัว

2. ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์งานครัว

3. รู้วิธีการดูแลรักษา  จัดเก็บอุปกรณ์งานครัว

4. รู้วิธีการกำจัดขยะ  ของเสีย

5. รู้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

6. รู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แฟ้มสะสมผลงาน/ภาพถ่าย

2. รายงานการใช้ การจัดเก็บเครื่องมือ อุปกรณ์งานครัว

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือ  อุปกรณ์งานครัวและการใช้งาน

2. ความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บ  การบำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

คณะกรรมการควรสัมภาษณ์เพิ่มเติม เพื่อให้ผู้รับการประเมินได้แสดงผลงาน ที่แสดงว่ามีความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. การสอบถามปากเปล่า/การสัมภาษณ์ผู้ขอรับการประเมิน

2. แฟ้มสะสมผลงาน หลักฐานเอกสารต่าง ๆ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

- เตรียมสุขอนามัยส่วนบุคคล สวมผ้ากันเปื้อน หมวกคลุมผม ผ้าเช็ดมือ

- ศึกษารายการอาหารให้ถูกต้องและครบถ้วน เพื่อการจัดเตรียมอุปกรณ์

- แยกประเภทของเครื่องมืออุปกรณ์ในการประกอบอาหาร เช่น หม้อ กระทะ ตะหลิว ทัพพี เขียง มีด และอุปกรณ์ในการจัดเสิร์ฟ เช่น จาน ชาม

- แยกประเภทของเครื่องมือในการทำความสะอาดอุปกรณ์ น้ำยาล้างจาน ฝอยขัดหม้อ ฟองน้ำ ผ้าเช็ดจาน ผ้าขาวบาง ผ้าเช็ดจาน ผ้าเช็ดโต๊ะ ผ้าเช็ดพื้น

- การจัดเก็บเครื่องมืออุปกรณ์แยกตามชนิด เก็บให้เหมาะสมกับการใช้งานอย่างปลอดภัย เช่นอุปกรณ์ประเภทมีด เขียง ทัพพี ตะหลิว กระบวย



(ก) คำแนะนำ 

หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ประเมินใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ประเมินต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงานในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้นๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าและนำไปแก้ไข

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

คู่มือการใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์  สำหรับการประกอบอาหาร  อธิบายให้ผู้ใช้งานรู้เกี่ยวกับ

วิธีการใช้งาน  ข้อระวังในการใช้งาน  การดูแลรักษา และการจัดเก็บเครื่องมือและอุปกรณ์

- เตรียมสุขอนามัยส่วนบุคคล สวมผ้ากันเปื้อน หมวกคลุมผม ผ้าเช็ดมือ ให้ครบถ้วนก่อนการปฏิบัติงานทุกครั้ง และมีความสะอาดทุกครั้งก่อนการสวมใส่

- ศึกษารายการอาหารให้ถูกต้องและครบถ้วน เพื่อการจัดเตรียมอุปกรณ์ที่แม่นยำ ทำให้ไม่เกิดข้อผิดพลาดเวลาปฏิบิตงาน

- แยกประเภทของเครื่องมืออุปกรณ์ในการประกอบอาหาร เช่น หม้อ กระทะ ตะหลิว ทัพพี เขียง มีด และอุปกรณ์ในการจัดเสิร์ฟ เช่น จาน ชาม ให้เป็นหมวดหมู่เพื่อง่ายต่อการหยิบใช้งาน

- แยกประเภทของเครื่องมือในการทำความสะอาดอุปกรณ์ น้ำยาล้างจาน ฝอยขัดหม้อ ฟองน้ำ ผ้าเช็ดจาน ผ้าขาวบาง ผ้าเช็ดจาน ผ้าเช็ดโต๊ะ ผ้าเช็ดพื้น ให้เหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละประเภท

- การจัดเก็บเครื่องมืออุปกรณ์แยกตามชนิด เก็บให้เหมาะสมกับการใช้งานอย่างปลอดภัย เช่นอุปกรณ์ประเภท เขียง ทัพพี ตะหลิว กระบวย ของมีคมควรจะมีการเก็บที่ปลอดภัยและแยกกันอย่างชัดเจน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. หลักฐานความรู้ที่ต้องการ ประเมินจากการสัมภาษณ์

2. แฟ้มสะสมผลงาน(Portfolio) หลักฐานเอกสารต่างๆ

 



ยินดีต้อนรับ