หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทำเครื่องเคียง

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-RGQZ-939A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทำเครื่องเคียง

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5120 ผู้ประกอบอาหาร 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการจัดเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือและวัตถุดิบสำหรับการทำน้ำพริกได้ตามข้อบ่งชี้ที่กำหนด และการทำน้ำพริกชนิดต่างๆ จัดตกแต่งและนำเสนอได้เหมาะสมกับประเภทของน้ำพริก

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
5120 พ่อครัว/แม่ครัว

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10401.01 จัดเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือสำหรับทำเครื่องเคียง 1. เลือกใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ ในการทำเครื่องเคียง ได้เหมาะสมกับประเภทและปริมาณของอาหาร 10401.01.01 224670
2. ทำความสะอาด บำรุงรักษาและจัดเก็บอุปกรณ์เครื่องมือครัวได้อย่างถูกต้อง 10401.01.02 224671
10401.02 จัดเตรียมวัตถุดิบสำหรับทำเครื่องเคียง 1. เลือกใช้วัตถุดิบได้อย่างเหมาะสมกับประเภทของเครื่องเคียง ที่ทำ 10401.02.01 224672
2. เตรียมวัตถุดิบสำหรับทำเครื่องเคียง ได้อย่างเหมาะสมตามประเภทของเครื่องเคียง 10401.02.02 224673
3. จัดเก็บวัตถุดิบได้อย่างถูกต้องตามประเภทของวัตถุดิบ 10401.02.03 224674
10401.03 ทำเครื่องเคียงชนิดต่างๆ 1. ทำเครื่องเคียง ได้ตามคุณลักษณะและมีเอกลักษณ์ที่ถูกต้อง 10401.03.01 224675
10401.04 จัดตกแต่งและนำเสนอเครื่องเคียง 1. จัดตกแต่งและนำเสนอเครื่องเคียง ได้อย่างเหมาะสมกับประเภทของอาหาร 10401.04.01 224676

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- เลือกใช้วัตถุดิบที่เหมาะสม และ ตรงกับความต้องการ

- ใช้อุปกรณ์ที่จัดเตรียมได้ถูกต้อง ตามข้อบ่งชี้การใช้งานของอุปกรณ์เหล่านั้น

- ประกอบอาหารประเภทเครื่องเคียงชนิดต่าง ๆ 

- จัดตกแต่งนำเสนอเครื่องเคียงชนิดต่าง ๆ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ชนิด ประเภท และ การใช้งานอุปกรณ์และเครื่องมือครัว

- ชนิด ประเภทของวัตถุดิบ คุณลักษณะ การเลือก ใช้งาน การเตรียม และการเก็บรักษา

- ประเภทของเครื่องเคียงชนิดต่าง ๆ คุณลักษณะที่ถูกต้องของเครื่องเคียงแต่ละชนิด และเทคนิคการทำเครื่องเคียง

- การนำเสนออาหารในรูปแบบการบริการที่แตกต่างกัน

- ความสะอาดปลอดภัยในอาหาร

- ระบบความปลอดภัยทั่วไปในการทำงานและห้องปฏิบัติการครัว

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

- บันทึกการปฏิบัติงาน 

- Portfolio 

(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

- ใบบันทึกการอบรม ความรู้เกี่ยวกับการอุปกรณ์เครื่องมือครัว และการใช้งาน    

- รายการวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเตรียม ตำรับอาหาร

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์ และ ตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยต้องแสดงถึง 

1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

3. ขอบเขตด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

วิธีการประเมิน

- พิจารณาจากหลักฐานการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน  

- ประเมินจากการทดสอบปฏิบัติและทดสอบความรู้ 

- อุปกรณ์และวัตถุดิบที่สำคัญในการปฏิบัติงาน

- เอกสารประกอบการพิจารณาที่เหมาะสม รวมถึง วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน

กฎข้อบังคับ มาตรการในการฝึกปฏิบัติ คู่มือในการปฏิบัติการ

การประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

- การมีส่วนร่วมในกิจกรรมในระหว่างการฝึกปฏิบัติงานในหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และ  สภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

ขอบเขต (range statement) เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะในภาพรวม ซึ่งจะเป็นการระบุสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมของงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ ที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน มีลักษณะสำคัญใน 4 กลุ่ม กล่าวคือ ขั้นตอน ระเบียบ หรือวิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน (workplace procedures) สถานที่ทำงาน (work site) สภาวะในการทำงาน (operating conditions) และข้อมูล/เอกสาร (information/documents)

(ข)  คำอธิบายรายละเอียด

1)  ขั้นตอน ระเบียบ หรือวิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน (workplace procedures)

•    เตรียมวัตถุดิบโดยการ ล้าง ตัดแต่ง หั่น สับ ชั่ง ตวง วัด ตามที่กำหนด

•    จัดเก็บวัตถุดิบตามโดยคำนึงถึงหลักสุขาภิบาลและความปลอดภัยในอาหาร

•    ทำเครื่องเคียง  ได้แก่ ของทอด (ไข่เจียว ไข่ดาว ทอดมัน ปูจ๋า ไข่สอดไส้ หมี่กรอบ) ห่อหมกและของย่าง

•    จัดตกแต่งและนำเสนอเครื่องเคียงตามรูปแบบที่กำหนด

2)  สถานที่ทำงาน (work site)

•    ทำความสะอาด บำรุงรักษาและจัดเก็บอุปกรณ์เครื่องมือครัวโดยคำนึงถึงหลักสุขาภิบาลและความปลอดภัยในอาหารและความสะดวกและปลอดภัยในการทำงาน

3)  สภาวะในการทำงาน (operating conditions)

•    อุปกรณ์ เครื่องมือ ที่ใช้ในการทำเครื่องเคียง ได้แก่ หม้อ กระทะ ตะหลิว เตา เตาย่าง ที่คีบอ่างผสม กระชอนของทอด เขียง มีดหั่น เครื่องปั่น/บดสับอาหาร  

•    วัตถุดิบที่ใช้ในการทำเครื่องเคียง ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ ผัก สมุนไพร เครื่องปรุงรส  

4)  ข้อมูล/เอกสาร (information/documents)

•    คู่มือการปฏิบัติงานครัว

•    ตำรับอาหารมาตรฐาน

•    เอกสารข้อกำหนดด้านความสะอาดปลอดภัยในอาหารและความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เอกสารหลักฐานการสัมภาษณ์

18.2 เอกสารที่ใช้ทดสอบ (ภาคทฤษฎี)  

18.3 เอกสารใบประเมินผลการทดสอบทักษะการทำเครื่องเคียงแบบต่างๆ (ภาคปฏิบัติ)  

18.4 เอกสารหลักฐานการเทียบโอนประสบการณ์