หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สื่อสารภาษาไทยระดับเบื้องต้นเพื่อการปฏิบัติในครัวอาหารไทย

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-BWMC-980A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สื่อสารภาษาไทยระดับเบื้องต้นเพื่อการปฏิบัติในครัวอาหารไทย

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5120 ผู้ประกอบอาหาร 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการฟังคำศัพท์และแปลคำศัพท์ภาษาไทยที่เกี่ยวข้องกับอาหารไทย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
5120 พ่อครัว/แม่ครัว

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20901.01 ฟังคำศัพท์และแปลคำศัพท์ภาษาไทยที่เกี่ยวข้องกับอาหารไทย 1. ฟังและแปลความคำศัพท์ภาษาไทยที่เกี่ยวข้องกับอาหารไทยได้ 20901.01.01 225221

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการฟังและแปลความหมายคำศัพท์ภาษาไทยที่เกี่ยวกับอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับการเตรียมวัตถุดิบอาหารในครัวอาหารไทย

2. ทักษะการฟังและแปลความหมายคำศัพท์ภาษาไทยที่เกี่ยวกับวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการประกอบอาหารในครัวอาหารไทย

3. ทักษะการฟังและแปลความหมายคำศัพท์ภาษาไทยที่เกี่ยวกับการเตรียมอาหารในครัวอาหารไทย

4. ทักษะการฟังและแปลความหมายคำศัพท์ภาษาไทยที่เกี่ยวกับการปรุงอาหารอาหารในครัวอาหารไทย

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้คำศัพท์ภาษาไทยเพื่อการปฏิบัติงานในครัวอาหารไทย ในกลุ่มคำศัพท์อุปกรณ์และเครื่องมือในการเตรียมอาหารไทย

2. ความรู้คำศัพท์ภาษาไทยเพื่อการปฏิบัติงานในครัวอาหารไทย ในกลุ่มคำศัพท์วัตถุดิบอาหารไทย

3. ความรู้คำศัพท์ภาษาไทยเพื่อการปฏิบัติงานในครัวอาหารไทย ในกลุ่มคำศัพท์การเตรียมอาหารไทย

4. ความรู้คำศัพท์ภาษาไทยเพื่อการปฏิบัติงานในครัวอาหารไทย ในกลุ่มคำศัพท์การปรุงอาหารไทย

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

บันทึกการปฏิบัติงาน 

(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ใบบันทึกการอบรม ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ภาษาไทยเพื่อการปฏิบัติงานในครัวอาหารไทย

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

N/A

วิธีการประเมิน

1.  พิจารณาจากหลักฐานการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน

2.  ประเมินจากการทดสอบความรู้ ชุดข้อสอบ

3.  เอกสารหลักฐานการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ  ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)  คำแนะนำ 

N/A

(ข)  คำอธิบายรายละเอียด

1)  ขั้นตอน ระเบียบ หรือวิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน (workplace procedures)

1.  ฟังและแปลความคำศัพท์ภาษาไทยที่เกี่ยวข้องกับอาหารไทย ได้ดังนี้

1.1  ฟังและแปลความหมายคำศัพท์ภาษาไทยที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับการเตรียมวัตถุดิบได้

1.2  ฟังและแปลความหมายคำศัพท์ภาษาไทยที่เกี่ยวข้องกับวัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหารไทยได้

1.3  ฟังและแปลความหมายคำศัพท์ภาษาไทยที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมอาหารไทยได้

1.4  ฟังและแปลความหมายคำศัพท์ภาษาไทยที่เกี่ยวข้องกับการปรุงอาหารไทยได้

2)  สถานที่ทำงาน (work site)

N/A

3)  สภาวะในการทำงาน (operating conditions)

N/A

4)  ข้อมูล/เอกสาร (information/documents)

1.  คู่มือการปฏิบัติงานครัว

2.  เอกสารคำศัพท์ภาษาไทยเพื่อการปฏิบัติงานในครัวอาหารไทย

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสัมภาษณ์

18.2 เอกสารที่ใช้ทดสอบ (ภาคทฤษฎี)  

18.3 การสื่อสารภาษาไทยระดับเบื้องต้นเพื่อการปฏิบัติงานในครัวอาหารไทย (การสัมภาษณ์)

 



ยินดีต้อนรับ