หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทำขนมหวานประเภทต้ม

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-ZQSE-950A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทำขนมหวานประเภทต้ม

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5120 ผู้ประกอบอาหาร 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการจัดเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือและวัตถุดิบสำหรับการทำขนมหวานประเภทต้ม ได้ตามข้อบ่งชี้ที่กำหนด และการทำขนมหวานประเภทต้ม จัดตกแต่งและนำเสนอได้เหมาะสมกับประเภทของขนมหวาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
5120 พ่อครัว/แม่ครัว

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10901.01 จัดเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือสำหรับทำขนมหวานประเภทต้ม 1. เลือกใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ ในการทำขนมหวานประเภทต้ม ได้เหมาะสมกับประเภทและปริมาณของอาหาร 10901.01.01 224750
10901.01 จัดเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือสำหรับทำขนมหวานประเภทต้ม 2. ทำความสะอาด บำรุงรักษาและจัดเก็บอุปกรณ์เครื่องมือครัวได้อย่างถูกต้อง 10901.01.02 224751
10901.02 จัดเตรียมวัตถุดิบสำหรับทำขนมหวานประเภทต้ม 1. เลือกใช้วัตถุดิบได้อย่างเหมาะสมกับขนมหวานประเภทต้มที่ทำ 10901.02.01 224752
10901.02 จัดเตรียมวัตถุดิบสำหรับทำขนมหวานประเภทต้ม 2. เตรียมวัตถุดิบสำหรับทำขนมหวานประเภทต้มได้อย่างเหมาะสมตามประเภทของอาหาร 10901.02.02 224753
10901.02 จัดเตรียมวัตถุดิบสำหรับทำขนมหวานประเภทต้ม 3. จัดเก็บวัตถุดิบได้อย่างถูกต้องตามประเภทของวัตถุดิบ 10901.02.03 224754
10901.03 ทำขนมหวานประเภทต้มชนิดต่างๆ 1. ทำขนมหวานประเภทต้มชนิดต่างๆ ได้ตามคุณลักษณะและมีเอกลักษณ์ที่ถูกต้อง 10901.03.01 224755
10901.04 จัดตกแต่งและนำเสนอขนมหวานประเภทต้ม 1. จัดตกแต่งและนำเสนอขนมหวานประเภทต้มได้อย่างเหมาะสมกับประเภทของอาหาร 10901.04.01 224756

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- เลือกใช้วัตถุดิบที่เหมาะสม และตรงกับความต้องการ

- ใช้อุปกรณ์ที่จัดเตรียมได้ถูกต้อง ตามข้อบ่งชี้การใช้งานของอุปกรณ์เหล่านั้น

- ทำขนมหวานประเภทต้มชนิดต่าง ๆ 

- จัดตกแต่งนำเสนอขนมหวานประเภทต้มชนิดต่าง ๆ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ชนิด ประเภท และการใช้งานอุปกรณ์และเครื่องมือครัว

- ชนิด ประเภทของวัตถุดิบ คุณลักษณะ การเลือก ใช้งาน การเตรียม และการเก็บรักษา

- ประเภทของขนมหวานประเภทต้มชนิดต่างๆ คุณลักษณะที่ถูกต้อง และเทคนิคการทำ

- การนำเสนออาหารในรูปแบบการบริการที่แตกต่างกัน

- ความสะอาดปลอดภัยในอาหาร

- ระบบความปลอดภัยทั่วไปในการทำงาน และห้องปฏิบัติการครัว

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

- บันทึกการปฏิบัติงาน 

- Portfolio

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

- ใบบันทึกการอบรม ความรู้เกี่ยวกับการอุปกรณ์เครื่องมือครัว และ การใช้งาน    

- รายการวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเตรียม ตำรับอาหาร

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์ และ ตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยต้องแสดงถึง 

1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

3. ขอบเขตด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

วิธีการประเมิน

- พิจารณาจากหลักฐานการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน

- ประเมินจากการทดสอบปฏิบัติ และทดสอบความรู้ 

- อุปกรณ์และวัตถุดิบที่สำคัญในการปฏิบัติงาน

- เอกสารประกอบการพิจารณาที่เหมาะสม รวมถึง วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน

กฎข้อบังคับ มาตรการในการฝึกปฏิบัติ คู่มือในการปฏิบัติการ

การประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

- การมีส่วนร่วมในกิจกรรมในระหว่างการฝึกปฏิบัติงานในหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือ สถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

ขอบเขต (range statement) เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะในภาพรวม ซึ่งจะเป็นการระบุสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมของงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ ที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน มีลักษณะสำคัญใน 4 กลุ่ม กล่าวคือ ขั้นตอน ระเบียบ หรือวิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน (workplace procedures) สถานที่ทำงาน (work site) สภาวะในการทำงาน (operating conditions) และข้อมูล/เอกสาร (information/documents)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1) ขั้นตอน ระเบียบ หรือวิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน (workplace procedures)

•    เตรียมวัตถุดิบโดยการ ปอก ล้าง ตัดแต่ง คว้าน หั่น สับ ขูด บด ชั่ง ตวง วัด ตามที่กำหนด

•    จัดเก็บวัตถุดิบตามโดยคำนึงถึงหลักสุขาภิบาลและความปลอดภัยในอาหาร

•    ทำขนมหวานประเภทต้ม ได้แก่ กล้วย มัน ฟักทอง ขนมต้มขาว/แดง ถั่วแปบ ขนมเหนียว ขนมด้วง ทับทิมกรอบ ลอยแก้ว ข้าวเหนียวเปียก สาคูเปียก เต้าส่วน ถั่วต้มน้ำตาล

•    จัดตกแต่งและนำเสนอขนมหวานประเภทต้ม ตามรูปแบบที่กำหนด

2) สถานที่ทำงาน (work site)

•    ทำความสะอาด บำรุงรักษาและจัดเก็บอุปกรณ์เครื่องมือครัวโดยคำนึงถึงหลักสุขาภิบาลและความปลอดภัยในอาหารและความสะดวกและปลอดภัยในการทำงาน

3) สภาวะในการทำงาน (operating conditions)

•    อุปกรณ์ เครื่องมือ ที่ใช้ในการทำขนมหวานประเภทต้มได้แก่ หม้อ ทัพพี กระบวย อ่างผสมกระชอน เตา เขียง มีด กระทะทองเหลือง

•    วัตถุดิบที่ใช้ในการทำขนมหวานประเภทต้ม ได้แก่ ผัก ผลไม้ พืชหัว แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว แป้งมัน สาคู ข้าวเหนียว กะทิ และ เครื่องปรุงรส น้ำแข็ง

4) ข้อมูล/เอกสาร (information/documents)

•    คู่มือการปฏิบัติงานครัว

•    ตำรับอาหารมาตรฐาน

•    เอกสารข้อกำหนดด้านความสะอาดปลอดภัยในอาหารและความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เอกสารหลักฐานการสัมภาษณ์

18.2 เอกสารที่ใช้ทดสอบ (ภาคทฤษฎี)  

18.3 เอกสารใบประเมินผลการทดสอบทักษะทำขนมหวานประเภทต้ม (ภาคปฏิบัติ) 

18.4 เอกสารหลักฐานการเทียบโอนประสบการณ์ 

 



ยินดีต้อนรับ