หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการทดสอบสมบัติยางในอุตสาหกรรมยางกลางน้ำ

สาขาวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RUB-IKBG-143A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการทดสอบสมบัติยางในอุตสาหกรรมยางกลางน้ำ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานทดสอบสมบัติยางกลางน้ำ

ISCO-08    1311 หัวหน้าแผนกผลิตผลิตภัณฑ์ยาง/ผู้จัดการโรงงานผลิตยางแผ่น

                  2145 ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียาง

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับอาชีพผู้ปฏิบัติงานทดสอบสมบัติยางพาราในอุตสาหกรรมยางกลางน้ำ โดยสามารถกำหนดตัวชี้วัดในการเก็บตัวอย่างและเตรียมตัวอย่าง ควบคุมการเก็บตัวอย่างในอุตสาหกรรมกลางน้ำ รวมถึงควบคุมการรายงานผลการทดสอบในอุตสาหกรรมยางยางกลางน้ำ  โดยผู้ที่ผ่าน หน่วยสมรรถนะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมการทดสอบสมบัติยางกลางน้ำ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา สาขาแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1) คู่มือมาตรการยางเอสทีอาร์ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร2) ISO 2000 Natural Rubber (NR) Specifications3) ISO 2004-1997 Natural Rubber Latex Concentrate4) มอก. 980-2552 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
TS621

ควบคุมการเก็บตัวอย่างยางในอุตสาหกรรมยางกลางน้ำ

1. กำหนดตัวชี้วัดในการเก็บตัวอย่างและเตรียมตัวอย่าง

TS621.01 224512
TS621

ควบคุมการเก็บตัวอย่างยางในอุตสาหกรรมยางกลางน้ำ

2. ประเมินขั้นตอนและวิธีการเก็บตัวอย่างและเตรียมตัวอย่าง

TS621.02 224513
TS621

ควบคุมการเก็บตัวอย่างยางในอุตสาหกรรมยางกลางน้ำ

3. ให้คำแนะนำในการเก็บตัวอย่างและเตรียมตัวอย่าง

TS621.03 224514
TS622

ควบคุมการทดสอบยางในอุตสาหกรรมยางกลางน้ำ

1. กำหนดตัวชี้วัดในการทดสอบ

TS622.01 224515
TS622

ควบคุมการทดสอบยางในอุตสาหกรรมยางกลางน้ำ

2. ประเมินขั้นตอนและวิธีการทดสอบตัวอย่างยางกลางน้ำให้ถูกต้องตามที่กำหนด


TS622.02 224516
TS622

ควบคุมการทดสอบยางในอุตสาหกรรมยางกลางน้ำ

3. วิเคราะห์ความเสี่ยงในการทดสอบตัวอย่างยางกลางน้ำ


TS622.03 224517
TS622

ควบคุมการทดสอบยางในอุตสาหกรรมยางกลางน้ำ

4. ให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาการทดสอบตัวอย่างยางกลางน้ำ

TS622.04 224518
TS622

ควบคุมการทดสอบยางในอุตสาหกรรมยางกลางน้ำ

5. วิเคราะห์ความผิดปกติของข้อมูลจากการทดสอบ

TS622.05 224519
TS623

ควบคุมการรายงานผลการทดสอบในอุตสาหกรรมยางกลางน้ำ

1. ทบทวนและปรับแผนงานให้สอดคล้องกับการผลิตและความต้องการของลูกค้า


TS623.01 224520
TS623

ควบคุมการรายงานผลการทดสอบในอุตสาหกรรมยางกลางน้ำ

2. ปรับปรุงกระบวนการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรายงานผล


TS623.02 224521
TS623

ควบคุมการรายงานผลการทดสอบในอุตสาหกรรมยางกลางน้ำ

3. กำหนดตัวชี้วัดในการปฏิบัติงาน

TS623.03 224522
TS623

ควบคุมการรายงานผลการทดสอบในอุตสาหกรรมยางกลางน้ำ

4. ประเมินความถูกต้องในการปฏิบัติงานทดสอบสมบัติยางกลางน้ำ

TS623.04 224523

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)     มีทักษะเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบ

2)     มีทักษะทางด้านการสื่อสาร

3)     มีทักษะการเขียนรายงาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)     มีความรู้เรื่องมาตรฐานการทดสอบและจัดเกรดยางแผ่น

2)     มีความรู้เรื่องการใช้เครื่องมือวิเคราะห์และทดสอบสมบัติของยาง

3)     มีความรู้ด้านการเขียนรายงานและแปรผลการทดสอบ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

 หลักฐานที่ต้องการจะเป็นแนวทางในการกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรใช้เป็นเอกสารประกอบการประเมินร่วมกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)     หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

2)     หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

3)     แฟ้มสะสมงาน (ถ้ามี)

4)     เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หรือ เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงาน

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)     หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2)     หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

3)     ผลการสอบข้อเขียน

4)     ผลการสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1)     ผู้ประเมินจะต้องดำเนินการตรวจประเมินความรู้เกี่ยวกับหน่วยสมรรถนะย่อยที่รับการพิจารณา

2)    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานต้องแสดงถึง

    - ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    - วิธีการปฏิบัติงานในกระบวนการผลิต กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

    - ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

    (ง) วิธีการประเมิน

1)     การสอบข้อเขียน

2)     การสอบสัมภาษณ์

3)     การสอบปฏิบัติ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

              อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุการควบคุมการทดสอบสมบัติยางกลางน้ำ ได้แก่ 

              1. สมบัติยางแท่ง ซึ่งต้องควบคุมการทดสอบให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดโดยกองการยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ประกอบไปด้วย การเตรียมตัวอย่าง การทดสอบปริมาณสิ่งสกปรก การทดสอบปริมาณเถ้า การทดสอบปริมาณสิ่งระเหย การทดสอบปริมาณไนโตรเจน การทดสอบดัชนีความอ่อนตัว การทดสอบสี การทดสอบความหนืด รวมถึงควบคุมการเตรียมสารเคมีและสารละลายมาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบสมบัติของยางแท่งตามที่ได้กล่าวมาแล้ว

              2. สมบัติของน้ำยางข้น โดยควบคุมการทดสอบให้เป็นไปตามมาตรฐาน โดยทั่วไปสมบัติน้ำยางข้นผลิตโดยวิธีการปั่นแยก จะอ้างอิง

ตามมาตรฐาน ISO 2004-1997 หรือ มอก. 980-2552 ระบุสมบัติต่าง ๆ ได้แก่ ปริมาณของแข็งทั้งหมด ปริมาณเนื้อยางแห้ง ปริมาณของแข็งที่ไม่ใช่ยาง ความเป็นด่าง เวลาความคงตัวต่อเครื่องมือกล ปริมาณก้อนยางจับตัว ปริมาณแมกนีเซียม ปริมาณตม ค่ากรดไขมันที่ระเหยได้ ค่าโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์  รวมถึงควบคุมการเตรียมสารเคมีและสารละลายมาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบสมบัติของน้ำยางข้นตามที่ได้กล่าวมาแล้ว

             นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการควบคุมการเก็บตัวอย่าง เตรียมตัวอย่าง วิเคราะห์ความเสี่ยงในการทดสอบสมบัติยางกลางน้ำ และวิเคราะห์ความผิดปกติของข้อมูลจากการทดสอบสมบัติยางกลางน้ำอีกด้วย

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1)    ประเมินโดยใช้แบบทดสอบเขียน

2)    ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

3)    ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ

4)    ประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือ/เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องพิจารณาควบคู่ไปกับการสอบสัมภาษณ์ 

5)    ประเมินจากการปฏิบัติงานจริง

 



ยินดีต้อนรับ