หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนการทดสอบสมบัติยางในอุตสาหกรรมยางกลางน้ำ

สาขาวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RUB-USFO-142A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนการทดสอบสมบัติยางในอุตสาหกรรมยางกลางน้ำ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานทดสอบสมบัติยางกลางน้ำ

ISCO-08    1311 หัวหน้าแผนกผลิตผลิตภัณฑ์ยาง/ผู้จัดการโรงงานผลิตยางแผ่น

                  2145 ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียาง

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับอาชีพผู้ปฏิบัติงานทดสอบสมบัติยางกลางน้ำเพื่อการทดสอบ กำหนดวิธีการและขั้นตอนการเก็บตัวอย่างรวมถึงการกำหนดผู้รับผิดชอบในการเก็บตัวอย่าง โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนทดสอบสมบัติยางกลางน้ำ โดยสามารถกำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการทดสอบได้ รวมถึงกำหนดระยะเวลาในการทดสอบ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา สาขาแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1) คู่มือมาตรการยางเอสทีอาร์ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร2) ISO 2000 Natural Rubber (NR) Specifications3) ISO 2004-1997 Natural Rubber Latex Concentrate4) มอก. 980-2552 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
TS611

วางแผนการเก็บและเตรียมตัวอย่างยางกลางน้ำ

1. อธิบายหลักการเก็บตัวอย่างยางกลางน้ำเพื่อการทดสอบ

TS611.01 224501
TS611

วางแผนการเก็บและเตรียมตัวอย่างยางกลางน้ำ

2. กำหนดวิธีการและขั้นตอนการเก็บตัวอย่าง

TS611.02 224502
TS611

วางแผนการเก็บและเตรียมตัวอย่างยางกลางน้ำ

3. กำหนดผู้รับผิดชอบเก็บตัวอย่าง

TS611.03 224503
TS612

วางแผนการทดสอบสมบัติยางกลางน้ำตามแผนการผลิต

1. กำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการทดสอบ

TS612.01 224504
TS612

วางแผนการทดสอบสมบัติยางกลางน้ำตามแผนการผลิต

2. ศึกษาเอกสารข้อกำหนดของการทดสอบ

TS612.02 224505
TS612

วางแผนการทดสอบสมบัติยางกลางน้ำตามแผนการผลิต

3. กำหนดระยะเวลาของแต่ละการทดสอบ

TS612.03 224506
TS612

วางแผนการทดสอบสมบัติยางกลางน้ำตามแผนการผลิต

4. กำหนดผู้รับผิดชอบการทดสอบ

TS612.04 224507
TS612

วางแผนการทดสอบสมบัติยางกลางน้ำตามแผนการผลิต

5. กำหนดการติดตามและแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น

TS612.05 224508
TS613

ประเมินประสิทธิภาพและความพร้อมของเครื่องมือทดสอบสมบัติยางแท่ง

1. เข้าใจหลักการทำงานของอุปกรณ์และเครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบยาง

TS613.01 224509
TS613

ประเมินประสิทธิภาพและความพร้อมของเครื่องมือทดสอบสมบัติยางแท่ง

2. ตรวจสอบสภาพของเครื่องให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน

TS613.02 224510
TS613

ประเมินประสิทธิภาพและความพร้อมของเครื่องมือทดสอบสมบัติยางแท่ง

3. บำรุงรักษาเครื่องมือด้วยวิธีการที่ถูกต้องตามหลักการ

TS613.03 224511

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)     มีทักษะเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์วิทยาศาสตร์

2)     มีทักษะเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบ

3)     มีทักษะเกี่ยวกับการเตรียมสารเคมี และสารมาตรฐาน

4)     มีทักษะทางด้านการสื่อสาร

5)     มีทักษะการเขียนรายงาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)     มีความรู้เรื่องสารเคมีและการเตรียมสารเคมี

2)     มีความรู้เรื่องมาตรฐานการทดสอบสมบัติยางกลางน้ำ

3)     มีความรู้เรื่องการใช้เครื่องมือวิเคราะห์และทดสอบสมบัติของยางกลางน้ำ

4)     มีความรู้ด้านการเขียนรายงานและแปรผลการทดสอบ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

 หลักฐานที่ต้องการจะเป็นแนวทางในการกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรใช้เป็นเอกสารประกอบการประเมินร่วมกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)     หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

2)     หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

3)     แฟ้มสะสมงาน (ถ้ามี)

4)     เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หรือ เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงาน

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)     หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2)     หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

3)     ผลการสอบข้อเขียน

4)     ผลการสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1)     ผู้ประเมินจะต้องดำเนินการตรวจประเมินความรู้เกี่ยวกับหน่วยสมรรถนะย่อยที่รับการพิจารณา

2)    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานต้องแสดงถึง

    - ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    - วิธีการปฏิบัติงานในกระบวนการผลิต กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    - ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    (ง) วิธีการประเมิน

1)     การสอบข้อเขียน

2)     การสอบสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

           อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุการวางแผนทดสอบสมบัติยางกลางน้ำ ได้แก่ 

           1. สมบัติยางแท่ง ซึ่งต้องวางแผนการทดสอบให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดโดยกองการยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ประกอบไปด้วย การเตรียมตัวอย่าง การทดสอบปริมาณสิ่งสกปรก การทดสอบปริมาณเถ้า การทดสอบปริมาณสิ่งระเหย การทดสอบปริมาณไนโตรเจน การทดสอบดัชนีความอ่อนตัว การทดสอบสี การทดสอบความหนืด รวมถึงวางแผนกำหนดผู้รับผิดชอบเก็บตัวอย่าง และวางแผนกำหนดระยะเวลาของแต่ละการทดสอบ

           2. สมบัติของน้ำยางข้น  โดยวางแผนการทดสอบให้เป็นไปตามมาตรฐาน  โดยทั่วไปสมบัติน้ำยางข้นผลิตโดยวิธีการปั่นแยก  จะอ้างอิง            ตามมาตรฐาน ISO 2004-1997 หรือ มอก. 980-2552 ระบุสมบัติต่าง ๆ ได้แก่ ปริมาณของแข็งทั้งหมด ปริมาณเนื้อยางแห้ง ปริมาณของแข็งที่ไม่ใช่

ยางความเป็นด่าง  เวลาความคงตัวต่อเครื่องมือกล ปริมาณก้อนยางจับตัว ปริมาณแมกนีเซียม   ปริมาณตม  ค่ากรดไขมันที่ระเหยได้  ค่าโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ รวมถึงวางแผนกำหนดผู้รับผิดชอบเก็บตัวอย่าง และวางแผนกำหนดระยะเวลาของแต่ละการทดสอบ

           นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการวางแผนการเตรียมสารเคมีและสารละลายมาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบสมบัติของยางแท่ง และสมบัติของน้ำยางข้น หลักการทดสอบของเครื่องมือที่ใช้ทดสอบสมบัติต่าง ๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
 

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1)    ประเมินโดยใช้แบบทดสอบเขียน

2)    ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

3)    ประเมินจากหลักฐานอื่นๆ เช่น หนังสือ/เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องพิจารณาควบคู่ไปกับการสอบสัมภาษณ์ 

 



ยินดีต้อนรับ