หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดำเนินการตามระบบมาตรฐานห้องปฏิบัติการ หลักอาชีวอนามัย และความปลอดภัย

สาขาวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RUB-CDPM-137A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดำเนินการตามระบบมาตรฐานห้องปฏิบัติการ หลักอาชีวอนามัย และความปลอดภัย

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานทดสอบสมบัติยางกลางน้ำ

ISCO-08    1311 หัวหน้าแผนกผลิตผลิตภัณฑ์ยาง/ผู้จัดการโรงงานผลิตยางแผ่น

                  2145 ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียาง

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับอาชีพผู้ปฏิบัติงานทดสอบสมบัติยางกลางน้ำ โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดเตรียมเอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานห้องปฏิบัติการ หลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย  สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้อย่างถูกต้อง และสามารถประเมินประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการ หลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เพื่อเป็นประโยชน์ในการตรวจสอบย้อนกลับและปรับปรุงกระบวนการทำงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา สาขาแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1) พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 25542) พระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ. 2542 มาตราที่ 29 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
TS011

เตรียมเอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานห้องปฏิบัติการ
หลักอาชีวอนามัย และความปลอดภัย


1. อธิบายระเบียบข้อบังคับของมาตรฐาน ห้องปฏิบัติการ
หลักอาชีวอนามัยและ
ความปลอดภัย


TS011.01 224462
TS011

เตรียมเอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานห้องปฏิบัติการ
หลักอาชีวอนามัย และความปลอดภัย


2. จัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐาน ห้องปฏิบัติการ
หลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

TS011.02 224463
TS011

เตรียมเอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานห้องปฏิบัติการ
หลักอาชีวอนามัย และความปลอดภัย


3. จัดทำระบบควบคุมเอกสารและบันทึกการดำเนินงานให้สอดคล้อง
กับมาตรฐาน ห้องปฏิบัติการ หลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


TS011.03 224464
TS012

ปฏิบัติตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการ หลักการอาชีวอนามัย และความปลอดภัย

1. อธิบายหลักการและวัตถุประสงค์ของมาตรฐาน ห้องปฏิบัติการ หลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


TS012.01 224465
TS012

ปฏิบัติตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการ หลักการอาชีวอนามัย และความปลอดภัย

2. อธิบายระเบียบข้อบังคับของมาตรฐาน  ห้องปฏิบัติการ
หลักอาชีวอนามัยและ
ความปลอดภัยได้อย่างถูกต้อง


TS012.02 224466
TS012

ปฏิบัติตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการ หลักการอาชีวอนามัย และความปลอดภัย

3. ประยุกต์ใช้ระเบียบข้อบังคับของมาตรฐาน ห้องปฏิบัติการ
หลักอาชีวอนามัยและ
ความปลอดภัยได้อย่างถูกต้อง


TS012.03 224467
TS013

ประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการ
หลักอาชีวอนามัย และความปลอดภัย

1. อธิบายกระบวนการวัดและประเมินผล การปฏิบัติงานตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการ หลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

TS013.01 224468
TS013

ประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการ
หลักอาชีวอนามัย และความปลอดภัย

2. เตรียมเอกสารในการประเมินผลการปฏิบัติงาน ภายในตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการ หลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


TS013.02 224469
TS013

ประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการ
หลักอาชีวอนามัย และความปลอดภัย

3. ดำเนินการประเมินตามขั้นตอนการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน
ห้องปฏิบัติการ หลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

TS013.03 224470
TS013

ประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการ
หลักอาชีวอนามัย และความปลอดภัย

4. ตรวจสอบย้อนกลับผลการปฏิบัติงานตาม มาตรฐานและปรับปรุงกระบวนการทำงาน


TS013.04 224471

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)  มีทักษะด้านการจัดเตรียมเอกสาร

2)  มีทักษะปฏิบัติงานตามระเบียบข้อบังคับ

3)  มีทักษะทางด้านการสื่อสาร

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

 1)  มีความรู้เรื่องมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการ หลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน

 2)  มีความรู้เรื่องกฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน

 3)  มีความรู้เรื่องกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

  หลักฐานที่ต้องการจะเป็นแนวทางในการกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรใช้เป็นเอกสารประกอบการประเมินร่วมกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

2) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

3) แฟ้มสะสมงาน (ถ้ามี)

4) เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หรือ เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงาน

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

3) ผลการสอบข้อเขียน

4) ผลการสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1) ผู้ประเมินจะต้องดำเนินการตรวจประเมินความรู้เกี่ยวกับหน่วยสมรรถนะย่อยที่รับการพิจารณา

2) หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานต้องแสดงถึง

    - ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    - วิธีการปฏิบัติงานในกระบวนการผลิต กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    - ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    (ง) วิธีการประเมิน

1) การสอบข้อเขียน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

            อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุมาตรฐานห้องปฏิบัติการ หลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ดำเนินการภายใต้มาตรฐานการจัดตั้งห้องปฏิบัติการที่เป็นไปตามรายละเอียดที่ระบุในพระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ. 2542 มาตราที่ 29 ว่าด้วยผู้ใดจะจัดให้มีการวิเคราะห์หรือการทดสอบคุณภาพยางต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต และผู้รับใบอนุญาตต้องใช้เครื่องมือเครื่องใช้สำหรับการวิเคราะห์หรือการทดสอบคุณภาพยาง รวมทั้งผู้ปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่การวิเคราะห์หรือการทดสอบคุณภาพยางซึ่งกระทำโดยหน่วยงานของรัฐ กระบวนการจัดเตรียมเอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้มาซึ่งใบอนุญาตจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิเคราะห์หรือการทดสอบคุณภาพยาง โดยกองการยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

            การปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ที่หมายความถึง การกระทำหรือสภาพการทำงานซึ่งปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดการประสบอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัยอันเนื่องจากการทำงานหรือเกี่ยวกับการทำงาน ตามประกาศของกระทรวงแรงงาน

            ความหมายของห้องปฏิบัติการที่มีการใช้สารเคมีตามมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน หมายถึง ห้องปฏิบัติการที่มีการใช้สารเคมีในกระบวนการ เช่น การวิจัย การเรียนการสอน การทดสอบ สอบเทียบ หัวหน้าห้องปฏิบัติการต้องกำหนดหลักการดังต่อไปนี้ เพื่อให้การจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการมีประสิทธิภาพ 

           (1) ความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานของผู้ปฏิบัติงาน เป็นส่วนหนึ่งของแผนการดำเนินงานของห้องปฏิบัติการ เป็นความรับผิดชอบของหัวหน้าห้องปฏิบัติการ และต้องได้รับการบริหารจัดการ รวมทั้งการจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสม 

           (2) ห้องปฏิบัติการต้องกำหนดนโยบายความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการให้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายห้องปฏิบัติการ ซึ่งกล่าวถึงวัตถุประสงค์ แผนงาน และความมั่นคงของห้องปฏิบัติการ ในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ และต้องเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและการจัดการด้านความปลอดภัย 

           (3) ดำเนินการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการอย่างเป็นระบบ มีการวางแผน (Plan) นำไปปฏิบัติ (Do) ติดตามประเมินผล (Check) และทบทวนการจัดการ (Act) บนพื้นฐานของข้อมูลอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1) ประเมินโดยใช้แบบทดสอบเขียน



ยินดีต้อนรับ