หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดำเนินการทดสอบสมบัติยางแท่ง

สาขาวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RUB-UEEM-140A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดำเนินการทดสอบสมบัติยางแท่ง

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานทดสอบสมบัติยางกลางน้ำ

ISCO-08    1311 หัวหน้าแผนกผลิตผลิตภัณฑ์ยาง/ผู้จัดการโรงงานผลิตยางแผ่น

                  2145 ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียาง

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับอาชีพผู้ปฏิบัติงานทดสอบสมบัติยางกลางน้ำ โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเตรียมสารเคมีสำหรับการทดสอบยางแท่งตามมาตรฐานการทดสอบยางแท่งกำหนด ทั้งขั้นตอนการทดสอบตามมาตรฐาน การเตรียมและการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือในการทดสอบยางได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา สาขาแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1) คู่มือมาตรการยางเอสทีอาร์ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร2) ISO 2000 Natural Rubber (NR) Specifications 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
TS521

เตรียมสารเคมีสำหรับการทดสอบสมบัติยางแท่ง

1. อธิบายวิธีการเตรียมสารเคมีและสารมาตรฐานในการทดสอบได้

TS521.01 224484
TS521

เตรียมสารเคมีสำหรับการทดสอบสมบัติยางแท่ง

2. เลือกใช้สารเคมีให้สอดคล้องกับการทดลองเตรียมสารเคมีตามความเข้มข้นที่กำหนดได้

TS521.02 224485
TS522

เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับการทดสอบสมบัติยางแท่ง

1. ใช้อุปกรณ์และเครื่องมือในการทดสอบยางแท่งได้อย่างถูกต้องตามหลักการ

TS522.01 224486
TS522

เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับการทดสอบสมบัติยางแท่ง

2. เลือกใช้อุปกรณ์และเครื่องมือได้สอดคล้องกับการทดสอบ

TS522.02 224487
TS522

เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับการทดสอบสมบัติยางแท่ง

3. ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์และเครื่องมือก่อนการทดสอบ

TS522.03 224488
TS523

ทดสอบตัวอย่างตามมาตรฐานทดสอบยางแท่งกำหนด

1. อธิบายขั้นตอนการทดสอบตาม มาตรฐานการทดสอบสมบัติยางแท่ง

TS523.01 224489
TS523

ทดสอบตัวอย่างตามมาตรฐานทดสอบยางแท่งกำหนด

2. ดำเนินการทดสอบยางแท่งได้ตามวิธีการที่กำหนดตามมาตรฐาน

TS523.02 224490
TS523

ทดสอบตัวอย่างตามมาตรฐานทดสอบยางแท่งกำหนด

3. อ่านผลการทดสอบการทดสอบได้อย่างถูกต้องตามหลักการ

TS523.03 224491

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) มีทักษะการเตรียมสารเคมีสำหรับการทดสอบสมบัติยางแท่ง

2) มีทักษะการใช้อุปกรณ์วิทยาศาสตร์

3) มีทักษะเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบ

4) มีทักษะทางด้านการสื่อสาร

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) มีความรู้เรื่องมาตรฐานการทดสอบยางแท่งตามมาตรฐาน

2) มีความรู้เรื่องการใช้อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ตามหลักการ

3) มีความรู้เรื่องการใช้เครื่องมือวิเคราะห์และทดสอบสมบัติของยาง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

 หลักฐานที่ต้องการจะเป็นแนวทางในการกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรใช้เป็นเอกสารประกอบการประเมินร่วมกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

2) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

3) แฟ้มสะสมงาน (ถ้ามี)

4) เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หรือ เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงาน

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

3) ผลการสอบข้อเขียน

4) ผลการสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1) ผู้ประเมินจะต้องดำเนินการตรวจประเมินความรู้เกี่ยวกับหน่วยสมรรถนะย่อยที่รับการพิจารณา

2) หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานต้องแสดงถึง

    - ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    - วิธีการปฏิบัติงานในกระบวนการผลิต กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    - ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    (ง) วิธีการประเมิน

1) การสอบข้อเขียน

2) การสอบสัมภาษณ์

3) การสอบปฏิบัติ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

     อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุการเก็บตัวอย่าง การทดสอบสมบัติ และการรายงานผลการทดสอบสมบัติของยางแท่งเอสทีอาร์ หรือ Standard Thai Rubber (STR) ตามมาตรฐานที่กำหนดโดยกองการยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีการจัดเกรดยางแท่งตามมาตรฐานเอสทีอาร์แบ่งออกเป็น 8 ชั้น ได้แก่ STR XL  STR 5L  STR 5 STR 5CV  STR 10  STR 10CV  STR 20 และ STR 20CV มีการทดสอบสมบัติยางแท่งตามมาตรฐานที่ประกอบไปด้วย การเตรียมตัวอย่าง การทดสอบปริมาณสิ่งสกปรก การทดสอบปริมาณเถ้า การทดสอบปริมาณสิ่งระเหย การทดสอบปริมาณไนโตรเจน การทดสอบดัชนีความอ่อนตัว การทดสอบสี การทดสอบความหนืด รวมไปถึงการเตรียมสารเคมี และการหาความเข้มข้นของสารละลายมาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบ โดยมีคำนิยามของสมบัติต่าง ๆ ดังนี้

    1. การเตรียมตัวอย่าง (Sample Preparation) หมายถึง การนำตัวอย่างยางมาบดผสมเป็นเนื้อเดียวกัน (Homogenization) โดยการบดผ่านเครื่องบดยาง 2 ลูกกลิ้ง เพื่อให้ตัวอย่างมีคุณภาพสม่ำเสมอทั้งชิ้นทดสอบ ก่อนที่จะนำตัวอย่างยางไปตัดแบ่ง เพื่อทดสอบสมบัติต่าง ๆ ตามมาตรฐาน

    2. การทดสอบปริมาณสิ่งสกปรก (Dirt Content) หมายถึง ปริมาณของสารที่ได้จากการกรองด้วยตัวกรองที่มีแผ่นตะแกรงขนาด 325 เมช (Mesh) หรือ 44 ไมครอน (Micron) ปริมาณและชนิดของสิ่งสกปรกมีผลต่อกระบวนการแปรรูปยาง หากยางมีปริมาณสิ่งสกปรกสูงจะมีผลกระทบต่อกระบวนการแปรรูปและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ยาง ดังนั้น จึงต้องมีการควบคุมการผลิตให้มีปริมาณสิ่งสกปรกน้อยที่สุด

    3. การทดสอบปริมาณเถ้า (Ash Content) หมายถึง ปริมาณสารอนินทรีย์ที่มีอยู่ในยาง หลังจากที่เผาสารอินทรีย์หมดแล้ว    ประกอบด้วย                  เกลืออนินทรีย์ (Inorganic Salt) ประเภทคาร์บอเนต ออกไซด์ และฟอสเฟตของโพแทสเซียม แมกนีเซียม แคลเซียม โซเดียม และแร่ธาตุอื่น ๆ นอกจากนี้ เถ้าอาจเป็นซิลิกา หรือซิลิเกตที่มีอยู่ในยางเองหรือปะปนมาจากภายนอก ซึ่งปริมาณเถ้าเป็นตัวบ่งชี้ปริมาณแร่ธาตุที่มีอยู่ในยางดิบ และเป็นการบ่งชี้ของการเติมสารตัวเติม (Filler) ลงไปในยางธรรมชาติ

    4. การทดสอบปริมาณสิ่งระเหย (Volatile Matter Content) หมายถึง ปริมาณความชื้นในยางธรรมชาติรวมถึงปริมาณสารชนิดอื่นในยางที่ระเหยได้ที่อุณหภูมิ 100°C การจำกัดปริมาณความชื้นเป็นการป้องกันไม่ให้มีความชื้นในยางมากเกินไป รวมถึงป้องกันการปนเปื้อนของตัวทำละลายจากกระบวนการแปรรูปยาง

    5. การทดสอบปริมาณไนโตรเจน (Nitrogen Content) หมายถึงการทดสอบปริมาณไนโตรเจนในยางดิบ ส่วนใหญ่อยู่ในรูปโปรตีน การหาปริมาณไนโตรเจนในตัวอย่างสามารถใช้บ่งบอกคุณภาพของตัวอย่างยาง ดังนั้นปริมาณไนโตรเจนจึงเป็นตัวบ่งชี้ว่าในยางดิบมีปริมาณโปรตีนมากน้อยเพียงใด โดยการกำหนดขีดจำกัดของปริมาณไนโตรเจนในยางแท่งเพื่อป้องกันไม่ใช้ผู้ผลิตนำหางน้ำยาง (Skim Latex) ซึ่งมีปริมาณไนโตรเจนสูงมาผลิตยางแท่ง เพราะมีผลทำให้ยางเกิดการคงรูปเร็วขึ้น

    6. การทดสอบดัชนีความอ่อนตัว (Plasticity Retention Index) หมายถึง อัตราส่วนของค่าความอ่อนตัว หลังจากการใช้ความร้อนที่อุณหภูมิ 140°C เป็นเวลา 30 นาที ต่อค่าความอ่อนตัวก่อนการให้ความร้อน ซึ่งค่าดัชนีความอ่อนตัวนี้จะบอกถึงความต้านทานต่อการแตกหักของโมเลกุลที่อุณหภูมิสูง หรือความต้านทานต่อการเกิดออกซิเดชันของยาง ยางที่มีดัชนีความอ่อนตัวสูง แสดงว่ามีความต้านทานต่อการเกิดการแตกหักของโมเลกุลสูง หรือต่อการเกิดออกซิเดชันสูง

    7. การทดสอบสี (Color) เป็นสมบัติของยางแท่งที่ผลิตจากน้ำยาง เมื่อเปรียบเทียบสีของตัวอย่างยางกับสีมาตรฐาน Lovibond ต้องอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อประโยชน์ในการนำยางไปทำผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความใส หรือมีสีต่าง ๆ

    8. การทดสอบความหนืด (Viscosity) เป็นสมบัติความต้านทานการไหลหรือการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของยางโดยค่าความหนืดสัมพันธ์โดยตรงกับน้ำหนักโมเลกุล ยางที่มีความหนืดสูง หมายความว่า ยางนั้นมีน้ำหนักโมเลกุลมากและมีลักษณะค่อนข้างแข็ง เมื่อนำไปใช้งานต้องใช้เวลานานในการบดยางให้นิ่ม หรือทำให้ยางมีความหนืดลดลง เมื่อยางมีค่าความหนืดตามต้องการแล้วจึงจะสามารถผสมสารเคมีต่าง ๆ และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้

    นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการเตรียมสารเคมีและสารละลายมาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบสมบัติของยางแท่ง หลักการทดสอบของเครื่องมือที่ใช้ทดสอบสมบัติต่าง ๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1)    ประเมินโดยใช้แบบทดสอบเขียน

2)    ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

 



ยินดีต้อนรับ