หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เก็บตัวอย่างยางแท่งเพื่อนำไปทดสอบ

สาขาวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RUB-WYYM-139A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เก็บตัวอย่างยางแท่งเพื่อนำไปทดสอบ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานผลิตยางแท่ง 

ISCO-08    1311 หัวหน้าแผนกผลิตผลิตภัณฑ์ยาง/ผู้จัดการโรงงานผลิตยางแผ่น

                 2145 ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียาง

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับอาชีพผู้ปฏิบัติงานผลิตยางแท่ง โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเก็บตัวอย่างยางแท่งตามหลักการเก็บตัวอย่าง และการเตรียมตัวอย่างยางแท่งสอดคล้องกับวิธีการทดสอบ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา สาขาแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1) คู่มือมาตรการยางเอสทีอาร์ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร2) ISO 2000 Natural Rubber (NR) Specifications3) คู่มือการทดสอบตามมาตรฐานยางแท่งเอสทีอาร์ กองการยาง กรมวิชาการเกษตร 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
TS511

เก็บตัวอย่างยางแท่งตามวิธีการเก็บตัวอย่าง

1. อธิบายหลักการเก็บตัวอย่างยางแท่งเพื่อการทดสอบ

TS511.01 224478

2. เก็บตัวอย่างยางแท่งด้วยความถี่และวิธีการที่ถูกต้อง

TS511.02 224479

3. เขียนรายละเอียดตัวอย่างที่เก็บได้ก่อนส่งต่อไปยังการทดสอบได้

TS511.03 224480
TS512

เตรียมตัวอย่างยางแท่งได้สอดคล้องกับวิธีการทดสอบ

1. อธิบายวิธีการเตรียมตัวอย่างยางก่อนการทดสอบได้

TS512.01 224481

2. เตรียมตัวอย่างยางแท่งได้สอดคล้องกับวิธีการทดสอบ

TS512.02 224482

3. ใช้เครื่องมือในการเตรียมตัวอย่างได้อย่างถูกต้อง

TS512.03 224483

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    มีทักษะการเก็บตัวอย่างยางแท่ง

2)    มีทักษะเกี่ยวกับการเตรียมตัวอย่างยางแท่งให้สอดคล้องกับวิธีการทดสอบ

3)    มีทักษะทางด้านการสื่อสาร

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    มีความรู้เรื่องการเก็บตัวอย่างยางแท่ง

2)    มีความรู้เรื่องวิธีการทดสอบยางแท่ง

3)    มีความรู้เรื่องการใช้เครื่องมือทดสอบ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

 หลักฐานที่ต้องการจะเป็นแนวทางในการกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรใช้เป็นเอกสารประกอบการประเมินร่วมกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

2)    หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

3)    แฟ้มสะสมงาน (ถ้ามี)

4)    เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หรือ เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงาน

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)    หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2)    หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

3)    ผลการสอบข้อเขียน

4)    ผลการสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1)    ผู้ประเมินจะต้องดำเนินการตรวจประเมินความรู้เกี่ยวกับหน่วยสมรรถนะย่อยที่รับการพิจารณา

2)    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานต้องแสดงถึง

    - ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    - วิธีการปฏิบัติงานในกระบวนการผลิต กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    - ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    (ง) วิธีการประเมิน

1)    การสอบข้อเขียน

2)    การสอบสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

         อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุตามคู่มือมาตรการยางเอสทีอาร์ ตามเอกสารของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร การปรับปรุงรูปแบบและพัฒนาการผลิตยางธรรมชาติมีหลายวี และการผลิตยางชนิดที่ เรียกว่า “ยางแท่ง” หรือยางที่ผลิตโดยระบุคุณภาพมาตรฐาน (Technically Specified Rubber) เป็นการผลิตแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ยอมของผู้ใช้ยางทั่วไป ประเทศไทยได้เริ่มการผลิตยางแท่งเมื่อปี พ.ศ. 2511 เรียกว่า ยางแท่งทีทีอาร์ (Thai Tested Rubber, TTR) โดยมีสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบในมาตรฐานควบคุมการผลิตและการทดสอบ เพื่อรับรองคุณภาพซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากล ISO 2000 Natural Rubber (NR) Specifications และตามข้อตกลงของ International Rubber Association (IRA)

          ในปี พ.ศ. 2526 สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้ประกาศปรับปรุงข้อกำหนดขีดจำกัดค่าปริมาณความชื้น และค่าปริมาณไนโตรเจน แม้ว่ายางแท่งภายใต้ชื่อ “ทีทีอาร์” จะเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในด้านคุณภาพที่ดีและเหมาะสมกับการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ยางต่าง ๆ ก็ตาม ยังมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงมาตรการของยางแท่งไทย เพื่อให้ทันสมัยและสอดคล้องกับภาวะอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางปัจจุบัน สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร จึงได้ดำเนินการจัดประชุมระดมความคิดเห็นจากภาคเอกชนผู้ประกอบการผลิตและค้ายางแท่ง และจากภาคราชการ กลุ่มนักวิชาการผู้ปฏิบัติงานรับผิดชอบการทดสอบและควบคุมคุณภาพยางแท่ง ผลการประชุมมีมติเห็นชอบในการปรับปรุงการกำหนดชั้น ขีดจำกัดสมบัติต่าง ๆ และเปลี่ยนชื่อเรียกจากยางแท่งทีทีอาร์ เป็นยางแท่งเอสทีอาร์ (Standard Thai Rubber, STR) ตามมาตรฐานสากล ที่มีการระบุรายละเอียดด้านการจัดเกรด และสมบัติต่าง ๆ อย่างชัดเจน

           ยางแท่ง มีกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานมีการคัดเลือกวัตถุดิบที่ได้คุณภาพ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทันสมัย สะอาด ลดขนาดให้ได้ ตามที่กำหนดจากนั้น เข้าสู่กระบวนการอบยางให้สุกในอุณหภูมิที่เหมาะสม เข้าสู่กระบวนการอัดแท่ง ชั่งน้ำหนักให้ได้ตามที่กำหนด จนถึงการบรรจุภัณฑ์

ยางจะผ่านกระบวนการทดสอบด้วยห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน ให้ผลทดสอบที่มีความแม่นยำสูง

       ก่อนที่จะนำตัวอย่างยางแท่งไปทดสอบหาสมบัติต่าง ๆ จะต้องมีการเตรียมตัวอย่างโดยการบดตัวอย่างให้เป็นเนื้อเดียวกัน (Homogenisation)

เพื่อความสม่ำเสมอของชิ้นทดสอบ โดยมีวิธีการดังนี้

      (1) ปรับระยะห่างระหว่างลูกกลิ้ง โดยผ่านแผ่นตะกั่วลงไประหว่างช่องห่าง (gap or nip) ของลูกกลิ้งขณะที่เครื่องกำลังทำงาน ณ สองจุดพร้อมกัน คือ ที่บริเวณปลายทั้งสองด้านของลูกกลิ้ง แล้ววัดความหนาของแผ่นตะกั่วด้วยเวอร์เนียคาลิปเปอร์ ถ้าไม่ได้ความหนาตามต้องการ หรือความหนาของแผ่นตะกั่วไม่เท่ากัน ให้ปรับระยะห่างระหว่างลูกกลิ้งทั้งสองจนได้ความหนาที่ต้องการ หรือเท่ากันทั้งสองแผ่น ต้องตรวจสอบความหนาของแผ่นตะกั่ว

ทุกครั้งที่ปรับระยะห่างระหว่างลูกกลิ้ง เสร็จแล้วทำเครื่องหมายไว้ที่สเกล (Scale) สำหรับปรับระยะห่างที่อยู่หน้าเครื่องบด เพื่อความสะดวกในการใช้งานครั้งต่อไป

        ระยะห่างระหว่างลูกกลิ้งที่ต้องปรับเพื่องานทดสอบยางแท่ง คือ

                    0.065 นิ้ว (1.65 มม.) สำหรับการบดยางให้เป็นเนื้อเดียวกัน

                    0.020 นิ้ว (0.51 มม.) สำหรับการเตรียมขึ้นทดสอบปริมาณสิ่งระเหย

                    0.013 นิ้ว (0.33 มม.) สำหรับการเตรียมชิ้นทดสอบปริมาณสิ่งสกปรก

       (2) ลงหมายเลขตัวอย่าง

       (3) บดตัวอย่างให้เป็นเนื้อเดียวกัน

                    3.1) ก่อนและตลอดเวลาการบดตัวอย่าง ต้องทำให้ลูกกลิ้งเย็นที่อุณหภูมิห้องโดยผ่านน้ำเย็นเข้าลูกกลิ้ง

                    3.2) ปรับระยะห่างระหว่างลูกกลิ้งทั้งสองให้ห่างกัน 0065 นิ้ว (1.65 มม.)

                    3.3) นำตัวอย่างไปผ่านลูกกลิ้งที่ปรับระยะแล้ว จำนวน 6 ครั้ง ยางที่ผ่านลูกกลิ้งออกมา

      แต่ละครั้ง ม้วนเป็นรูปทรงกระบอก ใส่ปลายข้างหนึ่งเข้าเครื่องในการบดครั้งต่อ ๆ ไป ระหว่างบดครั้งที่ 1- ครั้งที่ 5 หากมีเศษยางตกอยู่บนภาชนะรองรับใต้ลูกกลิ้งทั้งสอง ให้เก็บนำมารวมกับยางที่จะบดในครั้งครั้งต่อไปให้หมด ส่วนครั้งที่ 6 รีดยางออกมาเป็นแผ่น แล้วนำไปตัดแบ่งเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อทดสอบหาสมบัติต่าง ๆ ดังนี้

          สมบัติ                                   น้ำหนักชิ้นทดสอบโดยประมาณ (กรัม)

1. การทดสอบสมบัติตามมาตรฐาน

    ปริมาณสิ่งสกปรก                                 15

    ปริมาณเถ้า                                          10

    ปริมาณไนโตรเจน                                10

    ปริมาณสิ่งระเหย                                  15

    ดัชนีความอ่อนตัว และสี                       25

    ความหนืด                                          25

2. การทดสอบสมบัติอื่น

    การคงรูป                                           350

    การทดสอบปริมาณสารที่ถูกสกัดด้วยยอะซิโตน25

    การเพิ่มความแข็งระหว่างการเก็บ         25

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1)    ประเมินโดยใช้แบบทดสอบเขียน

2)    ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

3)    ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ

4)    ประเมินจากหลักฐานอื่นๆ เช่น หนังสือ/เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องพิจารณาควบคู่ไปกับการสอบสัมภาษณ์ 

5)    ประเมินจากการปฏิบัติงานจริง