หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์และแก้ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการผลิตยางแท่งจากยางแห้ง

สาขาวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RUB-LSHV-136A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์และแก้ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการผลิตยางแท่งจากยางแห้ง

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานผลิตยางแท่ง (Block Rubber)

ISCO-08    1311 หัวหน้าแผนกผลิตผลิตภัณฑ์ยาง/ผู้จัดการโรงงานผลิตยางแผ่น

                  2145 ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียาง

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับอาชีพผู้ปฏิบัติงานผลิตยางแท่ง โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการผลิต และการเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขในกระบวนการผลิต 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา สาขาแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1) คู่มือมาตรการยางเอสทีอาร์ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร2) ISO 2000 Natural Rubber (NR) Specifications 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BS541

วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการผลิต

1. เข้าใจวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่าง
การผลิตยางแท่ง

BS541.01 224454
BS541

วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการผลิต

2. วิเคราะห์ความผิดปกติของการผลิตยางแท่งจากยางแห้ง


BS541.02 224455
BS541

วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการผลิต

3. เข้าใจกระบวนการผลิตยางแท่งจากน้ำยางสดอย่างถูกต้อง
เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาในกระบวนการผลิตที่แท้จริง


BS541.03 224456
BS542

เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดในกระบวนการผลิต

1. เข้าใจหลักการในการแก้ไขปัญหาในกระบวนการผลิตยางแท่ง


BS542.01 224457
BS542

เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดในกระบวนการผลิต

2. ยืนยันความถูกต้องของวิธีการแก้ไขปัญหาในกระบวนการ
ผลิตยางแท่งจากยางแห้ง


BS542.02 224458
BS542

เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดในกระบวนการผลิต

3. เสนอแนะวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเดิมซ้ำ

BS542.03 224459
BS543

รายงานผลสัมฤทธิ์ของแผนการผลิตแก่ผู้บังคับบัญชา

1. รายงานผลสัมฤทธิ์ของแผนการผลิตได้อย่างถูกต้อง

BS543.01 224460
BS543

รายงานผลสัมฤทธิ์ของแผนการผลิตแก่ผู้บังคับบัญชา

2. นำเสนอผลแก่ผู้บังคับบัญชาได้อย่างเหมาะสม

BS543.02 224461

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)  มีทักษะการวางแผนการผลิต

2)  มีทักษะการวางแผนการเตรียมสารเคมีสำหรับแผนการผลิต

3)  มีทักษะการวางแผนการเตรียมเครื่องจักรและกำลังคน

4)  มีทักษะทางด้านการสื่อสาร

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    มีความรู้เรื่องการวางแผนการผลิตที่สอดคล้องกับแผนการตลาด

2)    มีความรู้เรื่องการเตรียมสารเคมีสำหรับแผนการผลิต

3)    มีความรู้เรื่องการเตรียมเครื่องจักรและกำลังคน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

  หลักฐานที่ต้องการจะเป็นแนวทางในการกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรใช้เป็นเอกสารประกอบการประเมินร่วมกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

2)    หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

3)    แฟ้มสะสมงาน (ถ้ามี)

4)    เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หรือ เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงาน

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)    หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2)    หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

3)    ผลการสอบข้อเขียน

4)    ผลการสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1)    ผู้ประเมินจะต้องดำเนินการตรวจประเมินความรู้เกี่ยวกับหน่วยสมรรถนะย่อยที่รับการพิจารณา

2)    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานต้องแสดงถึง

    - ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    - วิธีการปฏิบัติงานในกระบวนการผลิต กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    - ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    (ง) วิธีการประเมิน

1)    การสอบข้อเขียน

2)    การสอบสัมภาษณ์

3)    การสอบปฏิบัติ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

            อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุตามคู่มือมาตรการยางเอสทีอาร์ ตามเอกสารของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร การปรับปรุงรูปแบบและพัฒนาการผลิตยางธรรมชาติมีหลายวี และการผลิตยางชนิดที่ เรียกว่า “ยางแท่ง” หรือยางที่ผลิตโดยระบุคุณภาพมาตรฐาน (Technically Specified Rubber) เป็นการผลิตแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้ยางทั่วไป ประเทศไทยได้เริ่มการผลิตยางแท่งเมื่อปี พ.ศ. 2511 เรียกว่า ยางแท่งทีทีอาร์ (Thai Tested Rubber, TTR) โดยมีสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบในมาตรฐานควบคุมการผลิตและการทดสอบ เพื่อรับรองคุณภาพซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากล ISO 2000 Natural Rubber (NR) Specifications และตามข้อตกลงของ International Rubber Association (IRA)

            ในกระบวนการผลิตยางแท่งนั้น ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบระบบการวางแผนการผลิตมักจะพบว่าต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนการผลิตอยู่ตลอดเวลา แผนงานที่เคยวางไว้ไม่สามารถนำไปใช้ได้จริงเมื่อเกิดความคลาดเคลื่อนระหว่างแผนการผลิตและความต้องการที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งส่งผลให้กระบวนการผลิตที่ดำเนินงานตามแผนงานดังกล่าวเป็นกระบวนการที่ไม่มีประสิทธิภาพตามไปด้วย ถึงแม้ว่าทรัพยากรผลิตทางด้านค่าง ๆ เช่น แรงงาน เครื่องจักร หรือวัตถุดิบ จะมีความพร้อมเพียงใดก็ตาม ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการพิจารณาสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการวางแผนการผลิตเพื่อกำหนดแนวทางในการปรับปรุงต่อไป โดยสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น อาจเกิดจากความคลาดเคลื่อนของปริมาณที่ผลิตได้จริงกับปริมาณที่วางแผนการผลิตไว้ หรืออาจเกิดจากความไม่มีเสถียรภาพของปัจจัยการผลิต เช่น แรงงาน เครื่องจักร หรือวัตถุดิบ การแก้ไชปัญหาตามแนวทางที่กำหนด ส่งผลให้การใช้ทรัพยากรการผลิตเกิดประโยชน์สูงสุดในกระบวนการผลิต และช่วยลดความไม่สอดคล้องกันของการจัดเตรียมทรัพยากรการผลิตกับความต้องการที่เกิดขึ้นจริงในกระบวนการผลิต

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1)    ประเมินโดยใช้แบบทดสอบเขียน

2)    ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

3)    ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ

4)    ประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือ/เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องพิจารณาควบคู่ไปกับการสอบสัมภาษณ์ 

5)    ประเมินจากการปฏิบัติงานจริง

 



ยินดีต้อนรับ