หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินสมบัติของวัตถุดิบยางก้อนถ้วยและกำหนดวิธีการปรับปรุงสมบัติ

สาขาวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RUB-RBQN-134A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินสมบัติของวัตถุดิบยางก้อนถ้วยและกำหนดวิธีการปรับปรุงสมบัติ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานผลิตยางแท่ง 

ISCO-08    1311 หัวหน้าแผนกผลิตผลิตภัณฑ์ยาง/ผู้จัดการโรงงานผลิตยางแผ่น

                  2145 ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียาง

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับอาชีพผู้ปฏิบัติงานผลิตยางแท่ง โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินสมบัติของยางก้อนถ้วยจากข้อมูลในห้องปฏิบัติการ การกำหนดวิธีการปรับปรุงสมบัติยางแท่ง และการกำหนดกระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับสมบัติที่ต้องการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา สาขาแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
คู่มือการผลิตยางก้อนถ้วยคุณภาพดี ศูนย์บริการทดสอบรับรองภาคใต้ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง การยางแห่งประเทศไทย

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BS521

ประเมินสมบัติของยางก้อนถ้วยโดยดูจากข้อมูลผลการทดสอบ
จากห้องปฏิบัติการ

1. อธิบายสมบัติของยางก้อนถ้วยที่กำหนดในกระบวนการผลิตยางแท่ง


BS521.01 224440
BS521

ประเมินสมบัติของยางก้อนถ้วยโดยดูจากข้อมูลผลการทดสอบ
จากห้องปฏิบัติการ

2. รายงานข้อมูลสมบัติของยางก้อนได้อย่างถูกต้อง

BS521.02 224441
BS522

กำหนดวิธีการปรับปรุงสมบัติยางแท่ง

1. อธิบายวิธีการปรับปรุงสมบัติยางแท่งที่ถูกต้องตามที่กำหนด

BS522.01 224442
BS522

กำหนดวิธีการปรับปรุงสมบัติยางแท่ง

2. ควบคุมการปรับปรุงสมบัติยางแท่งให้เป็นไปตามที่กำหนด


BS522.02 224443
BS523

กำหนดกระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับสมบัติแท่งที่ต้องการ

1. อธิบายกระบวนการผลิตที่ถูกต้องเพื่อให้สอดคล้อง
กับสมบัติที่ต้องการ


BS523.01 224444
BS523

กำหนดกระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับสมบัติแท่งที่ต้องการ

2. กำหนดสภาวะที่เหมาะสมในกระบวนการผลิต

BS523.02 224445

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    มีทักษะการประเมินสมบัติของยางก้อนถ้วยจากข้อมูลในห้องปฏิบัติการ

2)    มีทักษะเกี่ยวกับการควบคุมการปรับปรุงสมบัติยางแท่ง

3)    มีทักษะเกี่ยวกับกระบวนการผลิตยางแท่ง

4)    มีทักษะทางด้านการสื่อสาร

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    มีความรู้เรื่องสมบัติของยางก้อนถ้วย

2)    มีความรู้เรื่องการปรับปรุงสมบัติยางแท่ง

3)    มีความรู้เรื่องกระบวนการผลิตยางแท่ง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

  หลักฐานที่ต้องการจะเป็นแนวทางในการกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรใช้เป็นเอกสารประกอบการประเมินร่วมกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

2)    หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

3)    แฟ้มสะสมงาน (ถ้ามี)

4)    เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หรือ เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงาน

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)  หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2)  หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

3)  ผลการสอบข้อเขียน

4) ผลการสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1)    ผู้ประเมินจะต้องดำเนินการตรวจประเมินความรู้เกี่ยวกับหน่วยสมรรถนะย่อยที่รับการ

พิจารณา

2)    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานต้องแสดงถึง

    - ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    - วิธีการปฏิบัติงานในกระบวนการผลิต กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    - ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    (ง) วิธีการประเมิน

1)    การสอบข้อเขียน

2)    การสอบสัมภาษณ์

3)    การสอบปฏิบัติ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

           อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุตามคู่มือการผลิตยางก้อนถ้วยคุณภาพดี ศูนย์บริการทดสอบรับรองภาคใต้ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง การยางแห่งประเทศไทย ยางก้อนถ้วยคุณภาพดีคือ ก้อนยางที่เกิดจากน้ำยางสดจับตัวในถ้วยน้ำยาง มีลักษณะเป็นก้อน รูปถ้วยรับน้ำยาง ก้อนยางที่ผลิตได้จะมีสีขาวและสีค่อย ๆ คล้ำขึ้นและความชื้นค่อย ๆ ลดลงเมื่อทิ้งไว้หลาย ๆ วัน ยางก้อนถ้วยจัดเป็นวัตถุดิบขั้นต้นที่ใช้ในการผลิตยางแท่ง ยางก้อนถ้วยที่มีคุณภาพดีก็จะได้ยางแท่งคุณภาพดีด้วย อีกทั้งในกระบวนการผลิตไม่ต้องผ่านเครื่องจักรหลายตัว เนื่องจากวัตถุดิบมีความสะอาดอยู่แล้ว เป็นการลดต้นทุนการผลิตยางแท่งและยังใช้น้ำในกระบวนการผลิตน้อย ยางก้อนถ้วยคุณภาพดีสามารถผลิตได้ถึงยางแท่ง STR 5 และถ้าหากใช้ยางก้อนถ้วยผสมกับยางแผ่นดิบหรือยางคุณภาพต่ำ เช่น เศษยาง สามารถผลิตได้ยางแท่งที่มีคุณภาพต่ำกว่าเช่น STR 10 เป็นต้น

           การผลิตยางก้อนถ้วยคุณภาพดีเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยางแท่งที่มีต้นทุนต่ำ มีหลักปฏิบัติง่าย ๆ คือให้น้ำยางที่ได้จากการกรีดจับตัวรวมกันในถ้วยรองรับน้ำยาง จากนั้นเก็บรวบรวมเพื่อนำไปผึ่ง 

ลักษณะของยางก้อนถ้วย 

(1) ยางก้อนถ้วยสด มีอายุของยางก้อน 1 – 3 วัน ปริมาณเนื้อยางแห้งอยู่ที่ระดับ 45 – 55% ผิวของก้อนยางมี สีขาวจนถึงสีขาวขุ่น เมื่อกดหรือสัมผัสจะมีความนุ่มและคืนตัวได้เร็ว และยางคงมีของเหลวหรือน้ำเซรั่มไหลออกจากก้อนยาง

(2) ยางก้อนถ้วยหมาด มีอายุของยางก้อน 4 – 7 วัน ปริมาณเนื้อยางแห้งอยู่ที่ระดับ 55 – 65% ผิวของก้อนยางมี สีขาวขุ่นจนถึงสีน้ำตาลอ่อน เมื่อกดหรือสัมผัสจะมีความนุ่มเล็กน้อยจนถึงกึ่งแข็ง ก้อนยางเริ่มแห้งโดย ไม่มีของเหลวไหลออกมา 

(3) ยางก้อนถ้วยแห้ง มีอายุของยางก้อนมากกว่า 15 วันขึ้นไป ปริมาณเนื้อยางแห้งมากกว่า 65% ผิวของก้อน ยางมีสีน้ำตาลเข้ม มีความแห้งและแข็ง

          การประเมินปริมาณเนื้อยางแห้งของยางก้อนถ้วย เกษตรกรจะผลิตยางก้อนถ้วยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับจำนวนวันกรีด หากกรีด 4 ครั้ง จะเรียก 4 มีดกรีด โดยทั่วไปจะกรีด 1, 2, 4, 6 จนถึง 8 มีดกรีด การกรีดสะสมก้อนยางในถ้วยมากขึ้น ทำให้ปริมาณเนื้อยางแห้งมากขึ้นด้วย เช่น ยางก้อนถ้วยที่กรีดถึง 8 มีดกรีด จะมีปริมาณเนื้อยางแห้งมากกว่าการกรีดแบบ 6, 4, 2 และ 1 มีด ตามลำดับ ในทางปฏิบัติการประเมินปริมาณเนื้อยางแห้งใช้หลักการประเมินด้วยสายตา แต่การประเมินแบบนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากไม่เหมือนกับยางแผ่นดิบหรือยางแผ่นรมควันที่มีลักษณะเป็นแผ่นบาง สามารถตรวจพบสิ่งสกปรก ฟองอากาศ หรือรอยตำหนิบนแผ่นยางได้ง่าย แต่ยางก้อนถ้วยเป็นก้อนหนาทึบไม่สามารถตรวจเนื้อยางที่อยู่ข้างในได้ ทำได้เพียงสังเกตจากลักษณะภายนอกด้วยการดูสีบนก้อนยาง หากมีสีขาวแสดงว่าก้อนยางยังสด และให้นับจำนวนก้อยยางที่เกาะกันในแต่ละก้อนใหญ่ 

         การประเมินปริมาณเนื้อยางแห้งนอกจากสังเกตจากสีของก้อนยางแล้ว อาจต้องบีบหรือเหยียบก้อนยางเพื่อประเมินความนุ่มและความแข็ง หากบีบหรือเหยียบแล้วก้อนยางนิ่มและมีน้ำเซรั่มไหลออกจากก้อนยางอาจประเมินได้ว่าเป็นยางที่อายุ 1 – 3 วัน หากเหยียบแล้วด้านนอกแข็งแต่ข้างในรู้สึกว่ายังนุ่มแสดงว่าเป็นยางก้อนถ้วยที่มีอายุการเก็บนานกว่า 5 วัน แต่ถ้าเหยียบรู้สึกว่าแข็งแสดงว่าเป็นยางก้อนถ้วยที่มีอายุการเก็บนานกว่า 7 วันขึ้นไป ปริมาณเนื้อยางแห้งของก้อนยางก็เพิ่มขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของสารจับตัวที่ไม่ใช่กรดฟอร์มิกด้วยเช่นกัน ยางบางพันธุ์ให้สียางค่อนข้างคล้ำจนบางครั้งอาจจะสับสนว่าเป็นก้อนยางที่หมาดแล้ว นอกจากนี้อาจจำเป็นต้องผ่าก้อนยางเพื่อดูสี ดูความสม่ำเสมอของเนื้อยาง หากมีความสม่ำเสมอดี แสดงว่าใช้กรดจับตัวในอัตราที่ถูกต้อง แต่หากเนื้อด้านในเป็นรูพรุนแสดงว่าปล่อยให้จับตัวเองตามธรรมชาติ และอาจสังเกตพบสิ่งปลอมปนที่จงใจใส่มาในยางก้อนถ้วยได้อีกด้วย ในระดับโรงงานยางแท่ง การประเมินหาปริมาณเนื้อยางแห้งได้มีการนำตัวอย่างยางก้อนถ้วยรีดผ่านเครื่องรีดเครพ วิธีนี้เป็นวิธีการหาปริมาณเนื้อยางแห้งที่ได้มาตรฐานมากที่สุด 

         ยางก้อนถ้วยที่รับซื้อมามีลักษณะที่แตกต่างกัน เนื่องจาก พันธุ์ยาง อายุยาง วิธีการทำยางก้อนถ้วย ฤดูกาลเก็บเกี่ยว ฯลฯ ที่แตกต่างกัน เช่น บางแหล่งอาจใช้กรดต่างชนิดกันในการช่วยให้ยางจับตัวเป็นก้อน เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ลักษณะการบ่มและระยะเวลาการบ่มก่อนนำเข้าสู่กระบวนการผลิตยางแท่งแตกต่างกันตามไปด้วย ซึ่งเมื่อยางก้อนถ้วยถูกนำเข้ามาในโรงงาน ยางจะถูกนำมาบ่มในบ่อบ่มเร่ง หรือ ตากบ่มในลานวัตถุดิบกลางแจ้ง ก่อนที่จะนำยางเข้าสู่กระบวนการผลิต เพื่อปรับสภาพของยางที่มีสมบัติที่แตกต่างกันให้มีสมบัติที่ใกล้เคียงกันและมีความสม่ำเสมอของคุณสมบัติวัตถุดิบก่อนนำเข้าสู่กระบวนการผลิตยางแท่งต่อไป

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1)    ประเมินโดยใช้แบบทดสอบเขียน

2)    ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

3)    ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ

4)    ประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือ/เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องพิจารณาควบคู่ไปกับการสอบสัมภาษณ์ 

5)    ประเมินจากการปฏิบัติงานจริง



 



ยินดีต้อนรับ