หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปรับปรุงสมบัติวัตถุดิบยางแห้งให้ได้ตามมาตรฐาน

สาขาวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RUB-GPYR-130A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปรับปรุงสมบัติวัตถุดิบยางแห้งให้ได้ตามมาตรฐาน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานผลิตยางแท่ง 

ISCO-08    1311 หัวหน้าแผนกผลิตผลิตภัณฑ์ยาง/ผู้จัดการโรงงานผลิตยางแผ่น

                  2145 ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียาง

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับอาชีพผู้ปฏิบัติงานผลิตยางแท่ง โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกลุ่มวัตถุดิบจากผลการประเมินสมบัติเบื้องต้น การผสมยางก้อนถ้วยและยางแผ่นดิบเพื่อปรับสมบัติให้ได้ตามมาตรฐาน และการเติมสารเคมีเพื่อปรับปรุงสมบัติยาง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา สาขาแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1) คู่มือมาตรการยางเอสทีอาร์ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร2) ISO 2000 Natural Rubber (NR) Specifications 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BS421

จัดกลุ่มวัตถุดิบจากผลการประเมินสมบัติในเบื้องต้น

1. อธิบายจุดประสงค์ของการจัดกลุ่มวัตถุดิบ

BS421.01 224394
BS421

จัดกลุ่มวัตถุดิบจากผลการประเมินสมบัติในเบื้องต้น

2. ประเมินสมบัติของวัตถุดิบเพื่อจัดกลุ่มได้อย่างถูกต้อง


BS421.02 224395
BS421

จัดกลุ่มวัตถุดิบจากผลการประเมินสมบัติในเบื้องต้น

3. จัดกลุ่มวัตถุดิบได้ถูกต้องตามกำหนด

BS421.03 224396
BS422

ดำเนินการผสมยางก้อนถ้วยและยางแผ่นดิบเพื่อปรับสมบัติให้ได้ตามมาตรฐาน

1. อธิบายวิธีการผสมยางก้อนถ้วยและยางแผ่นดิบเพื่อปรับสมบัติให้ได้ตามมาตรฐาน

BS422.01 224397
BS422

ดำเนินการผสมยางก้อนถ้วยและยางแผ่นดิบเพื่อปรับสมบัติให้ได้ตามมาตรฐาน

2. กำหนดสัดส่วนการผสมระหว่างยางก้อนถ้วยและ ยางแผ่นดิบโดยพิจารณาจากสมบัติยางแท่งตามมาตรฐาน


BS422.02 224398
BS422

ดำเนินการผสมยางก้อนถ้วยและยางแผ่นดิบเพื่อปรับสมบัติให้ได้ตามมาตรฐาน

3. ตรวจสอบความสม่ำเสมอของการกระจายระหว่างยางก้อนถ้วย
และยางแผ่นดิบ

BS422.03 224399
BS423

เติมสารเคมีเพื่อปรับปรุงสมบัติยาง

1. อธิบายขั้นตอนการเติมสารเคมีเพื่อปรับปรุงสมบัติยาง

BS423.01 224400
BS423

เติมสารเคมีเพื่อปรับปรุงสมบัติยาง

2. วิธีการเติมและประมาณการเติมสารเคมีควบคุมความหนืดยาง

BS423.02 224401

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    มีทักษะการประเมินสมบัติของวัตถุดิบเพื่อจัดกลุ่มวัตถุดิบ

2)    มีทักษะเกี่ยวกับการผสมยางก้อนถ้วยและยางแผ่นดิบเพื่อปรับสมบัติให้ได้ตามมาตรฐาน

3)    มีทักษะเกี่ยวกับการเติมสารเคมีเพื่อปรับปรุงสมบัติยาง

4)    มีทักษะทางด้านการสื่อสาร

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    มีความรู้เรื่องการจัดกลุ่มวัตถุดิบ

2)    มีความรู้เรื่องการใช้เครื่องมือเครื่องจักรในกระบวนการผลิตตามหลักการทำงาน

3)    มีความรู้เรื่องการประเมินคุณภาพและสมบัติของวัตถุดิบเบื้องต้น

4)    มีความรู้เรื่องหลักการผสมยางเพื่อปรับสมบัติของยางแท่ง 

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะเป็นแนวทางในการกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรใช้เป็นเอกสารประกอบการประเมินร่วมกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

2)    หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

3)    แฟ้มสะสมงาน (ถ้ามี)

4)    เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หรือ เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงาน

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)    หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2)    หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

3)    ผลการสอบข้อเขียน

4)    ผลการสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1)    ผู้ประเมินจะต้องดำเนินการตรวจประเมินความรู้เกี่ยวกับหน่วยสมรรถนะย่อยที่รับการพิจารณา

2)    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานต้องแสดงถึง

    - ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    - วิธีการปฏิบัติงานในกระบวนการผลิต กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    - ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    (ง) วิธีการประเมิน

1)    การสอบข้อเขียน

2)    การสอบสัมภาษณ์

3)    การสอบปฏิบัติ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

             อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุตามคู่มือมาตรการยางเอสทีอาร์ ตามเอกสารของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร การปรับปรุงรูปแบบและพัฒนาการผลิตยางธรรมชาติมีหลายวี และการผลิตยางชนิดที่ เรียกว่า “ยางแท่ง”  หรือยางที่ผลิตโดยระบุคุณภาพมาตรฐาน (Technically Specified Rubber)  เป็นการผลิตแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ยอมของผู้ใช้ยางทั่วไป  ประเทศไทยได้เริ่มการผลิตยางแท่งเมื่อปี พ.ศ. 2511 เรียกว่า ยางแท่งทีทีอาร์ (Thai Tested Rubber, TTR) โดยมีสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบในมาตรฐานควบคุมการผลิตและการทดสอบ เพื่อรับรองคุณภาพซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากล ISO 2000 Natural Rubber (NR) Specifications และตามข้อตกลงของ International Rubber Association (IRA)

             ในปี พ.ศ. 2526 สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้ประกาศปรับปรุงข้อกำหนดขีดจำกัดค่าปริมาณความชื้น และค่าปริมาณไนโตรเจน แม้ว่ายางแท่งภายใต้ชื่อ “ทีทีอาร์” จะเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในด้านคุณภาพที่ดีและเหมาะสมกับการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ยางต่าง ๆ ก็ตาม ยังมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงมาตรการของยางแท่งไทย เพื่อให้ทันสมัยและสอดคล้องกับภาวะอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางปัจจุบัน สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร จึงได้ดำเนินการจัดประชุมระดมความคิดเห็นจากภาคเอกชนผู้ประกอบการผลิตและค้ายางแท่ง และจากภาคราชการ กลุ่มนักวิชาการผู้ปฏิบัติงานรับผิดชอบการทดสอบและควบคุมคุณภาพยางแท่ง ผลการประชุมมีมติเห็นชอบในการปรับปรุงการกำหนดชั้น ขีดจำกัดสมบัติต่าง ๆ และเปลี่ยนชื่อเรียกจากยางแท่งทีทีอาร์ เป็นยางแท่งเอสทีอาร์ (Standard Thai Rubber, STR) ตามมาตรฐานสากล ที่มีการระบุรายละเอียดด้านการจัดเกรด และสมบัติต่าง ๆ อย่างชัดเจน

             ยางแท่ง คือ ยางที่ผ่านการย่อยเป็นชิ้นเล็ก ๆ และอบให้แห้งด้วยความร้อน แล้วจึงอัดเป็นแท่ง เป็นยางที่มีการกำหนดมาตรฐาน คุณสมบัติทางเทคนิคตามกระบวนการวิทยาศาสตร์

            การผลิตยางแท่ง สามารถผลิตได้ทั้งจากน้ำยางหรือยางแห้งที่จับตัวแล้ว เช่น ยางก้อนถ้วย 

ยางแผ่น ฯลฯ หลักสำคัญของการผลิตยางแท่ง คือ การตัดย่อยก้อนยางให้เป็นเม็ดหรือชิ้นเล็ก ๆ อย่างรวดเร็ว ล้างสิ่งสกปรกออก นำยางไปอบแห้ง และอัดเป็นแท่งสี่เหลี่ยมให้มีน้ำหนัก 33.33 กิโลกรัม ต่อก้อนหรือมีขนาดตามต้องการ

            ยางแท่ง มีกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานมีการคัดเลือกวัตถุดิบที่ได้คุณภาพ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทันสมัย สะอาด ลดขนาดให้ได้ ตามที่กำหนดจากนั้น เข้าสู่กระบวนการอบยางให้สุกในอุณหภูมิที่เหมาะสม เข้าสู่กระบวนการอัดแท่ง ชั่งน้ำหนักให้ได้ตามที่กำหนด จนถึงการบรรจุภัณฑ์ ยางจะผ่านกระบวนการทดสอบด้วยห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน ให้ผลทดสอบที่มีความแม่นยำสูง

            ยางแท่ง แบ่งเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ STR10, STR20, STR 5L และ STR CV เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอื่น ๆ เช่นเดียวกับยางแผ่นรมควัน กล่าวคือ อุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์เป็นผู้ใช้รายใหญ่ คุณสมบัติของ ยางแท่ง STR 20 โดยทั่วไป สามารถใช้ทดแทนกันได้กับยางแผ่นรมควัน ชั้น 3 

           กระบวนการผลิตยางแท่งที่ผลิตจากยางแห้ง มีการนำยางแผ่นดิบ ยางก้อนถ้วย และเศษยาง มาผสมกัน จำเป็นต้องมีการควบคุมด้านความสะอาดเป็นพิเศษ โดยเกือบทุก ๆ ขั้นตอนจะต้องอาศัยน้ำฉีดชะล้างอย่างมาก เริ่มจากการนำยางดังกล่าวมาแช่น้ำให้ยางเกิดการพองตัว และสิ่งสกปรกในยางหลุดออก และเกิดการตกตะกอน จากนั้นผ่านกระบวนการล้าง ในขณะที่ผ่านการรีดด้วยเครื่องเครพ และระหว่างกระบวนการย่อยยางเป็นชิ้นเล็ก ๆ ด้วยเครื่องแกรนูเลเตอร์ด้วย ยางแท่งที่ผลิตจากยางแห้งจะเป็นยางแท่งคุณภาพต่ำกว่ายางแท่งที่ผลิตจากน้ำยาง และสีที่่ได้จะมีลักษณะสีน้ำตาล

           ในกระบวนการผลิตยางแท่งการใช้สารละลายด่างมีวัตถุประสงค์เพื่อไม่ให้ยางจับตัวกันเป็นก้อน มักใช้ในขั้นตอนของยางที่ถูกย่อยเป็นเม็ดเล็ก ๆ ก่อนถูกปั๊มลงกระบะอบยาง เม็ดยางที่ผ่านการย่อยแล้วอาจเกาะติดกันเป็นก้อนใหญ่อุดตันท่อได้ จึงใช้สารละลายด่างเพื่อป้องกันเม็ดยางไม่ให้ติดกัน ที่นิยมใช้คือปูนขาว (CaO) ซึ่งเมื่อละลายน้ำจะเป็นสารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์ ใช้เฉพาะส่วนที่เป็นน้ำใส ๆ หรือเรียกว่า น้ำปูนใส ด้วยการควบคุม pH อยู่ที่ระดับ 10 หากเตรียมความเข้มข้นมากเกินไปยางจะลื่นและส่งผลต่อสมบัติทางกายภาพโดยเฉพาะค่าปริมาณเถ้าจะสูง สำหรับโซเดียมไฮดรอกไซด์เป็นด่างแก่ เมื่อ ละลายน้ำจะเกิดปฏิกิริยาคายความร้อน ไม่แนะนำให้ใช้เนื่องจากทำให้ยางที่ผ่านการอบแล้วเหนียวเยิ้มส่งผลต่อค่า Po และค่าความหนืดต่ำ นอกจากนี้ยังทำให้ยางมีสีคล้ำอีกด้วย

           เนื่องจากโมเลกุลของยางมีมวลโมเลกุลสูง ลักษณะเช่นนี้เกิดจากอันตรกิริยา (Interaction) ระหว่างโมเลกุลยางที่มีขนาดเล็กกับสารพวกโปรตีนในน้ำยาง ส่งผลให้หมู่อัลดีไฮด์บนโมเลกุลยางค่อย ๆ เกิดการเชื่อมโยงระหว่างโมเลกุลยางทั้งในสภาวะน้ำยางและยางแห้ง การเชื่อมโยงนี้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ยางเกิดการแข็งขึ้นระหว่างการเก็บ (Storage Hardening) โดยทั่วไปยางธรรมชาติจะมีความหนืดในช่วง 70 – 90 ML(1+4)100°C ยางที่มีคุณภาพดีจะมีความหนืดสูงกว่ายางที่มีคุณภาพต่ำ ความหนืดจะส่งผลต่อการนำยางไปบดเฉพาะเนื้อยางล้วน ๆ (Mastication) และเมื่อนำยางไปบดผสมกับสารเคมีจะใช้เวลาและพลังงานที่สิ้นเปลือง ดังนั้น ในอุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์ที่ต้องการควบคุมความหนืดของยางที่ใช้ในการแปรรูป เช่น อุตสาหกรรมยางท่อ อุตสาหกรรมทำกาว เป็นต้น ยางแท่งความหนืดคงที่ตามมาตรฐานยางแท่ง STR มี 3 เกรด คือ STR 5 CV, STR 10 CV และ STR 20 CV ด้วยการปรับความหนืด ให้สม่ำเสมออยู่ที่ 37-39 หน่วยมูนนี่ โดยเติมสารเคมีควบคุมความหนืดในกลุ่ม Mono functionaldehydic Condensing Reagents ลงไปทำปฏิกิริยากับอนุมูลหมู่อัลดีไฮด์ เพื่อป้องกันการเกิดพันธะไฮโดรเจนระหว่างโครงสร้างโมเลกุลยางที่เป็นสาเหตุให้ความหนืด เพิ่มส่งผลให้ค่า Po สูงขึ้น สารปรับความหนืดที่นิยม ใช้กันคือ Hydroxylamine Hydrochloride เนื่องจากมี ราคาถูกและหาซื้อง่าย ใช้ในรูปของเกลือที่ละลายในน้ำ สำหรับวัตถุดิบยางก้อนจะใส่ในปริมาณ 0.4% โดยน้ำหนัก แล้วแช่ไว้ 16 ชั่วโมงจึงนำยางมาเข้าสู่กระบวนการแปรรูป

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1)    ประเมินโดยใช้แบบทดสอบเขียน

2)    ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

3)    ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ

4)    ประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือ/เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องพิจารณาควบคู่ไปกับการสอบสัมภาษณ์ 

5)    ประเมินจากการปฏิบัติงานจริง

 



ยินดีต้อนรับ