หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บรรจุภัณฑ์และจัดเก็บยางแท่งที่ผลิตจากน้ำยางสด

สาขาวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RUB-RUBS-123A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บรรจุภัณฑ์และจัดเก็บยางแท่งที่ผลิตจากน้ำยางสด

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานผลิตยางแท่ง (Block Rubber)

ISCO-08    1311 หัวหน้าแผนกผลิตผลิตภัณฑ์ยาง/ผู้จัดการโรงงานผลิตยางแผ่น

                  2145 ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียาง

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับอาชีพผู้ปฏิบัติงานผลิตยางแท่ง โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเตรียมบรรจุภัณฑ์ตามมาตรฐานยางแท่ง การบรรจุและจัดเก็บยางแท่ง การขนย้ายและการขนส่งยางแท่ง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา สาขาแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
คู่มือมาตรการยางเอสทีอาร์ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BL431

จัดเตรียมบรรจุภัณฑ์ตามมาตรฐานยางแท่ง

1. อธิบายการเตรียมบรรจุภัณฑ์ตามมาตรฐานยางแท่ง

BL431.01 224305
BL431

จัดเตรียมบรรจุภัณฑ์ตามมาตรฐานยางแท่ง

2. ใช้สัญลักษณ์และรหัสสีประจำชั้นยางตามมาตรฐานยางแท่งที่ผลิต

BL431.02 224306
BL431

จัดเตรียมบรรจุภัณฑ์ตามมาตรฐานยางแท่ง

3. ใช้ชนิดและขนาดบรรจุภัณฑ์ตามมาตรฐานยางแท่ง 

BL431.03 224307
BL432

ดำเนินการบรรจุและจัดเก็บยางแท่ง

1. อธิบายวิธีการบรรจุและจัดเก็บยางแท่ง

BL432.01 224308
BL432

ดำเนินการบรรจุและจัดเก็บยางแท่ง

2. จัดเรียงแท่งยางในลังบรรจุ

BL432.02 224309
BL432

ดำเนินการบรรจุและจัดเก็บยางแท่ง

3. ทำเครื่องหมายและรายละเอียดข้างลังบรรจุยางแท่ง

BL432.03 224310
BL432

ดำเนินการบรรจุและจัดเก็บยางแท่ง

4. จัดเรียงลังบรรจุยางแท่งในที่จัดเก็บ

BL432.04 224311
BL432

ดำเนินการบรรจุและจัดเก็บยางแท่ง

5. ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในการเก็บรักษา 

BL432.05 224312
BL433

ดำเนินการขนย้ายและขนส่งยางแท่ง

1. อธิบายกระบวนการขนย้ายและขนส่งยางแท่ง

BL433.01 224313
BL433

ดำเนินการขนย้ายและขนส่งยางแท่ง

2. วางแผนการขนย้ายและขนส่ง

BL433.02 224314
BL433

ดำเนินการขนย้ายและขนส่งยางแท่ง

3. เลือกใช้พาหนะในการขนส่ง

BL433.03 224315
BL433

ดำเนินการขนย้ายและขนส่งยางแท่ง

4. จัดเรียงยางแท่งบนพาหนะขนส่ง

BL433.04 224316

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)     มีทักษะการประเมินคุณภาพของยางแท่งก่อนการบรรจุภัณฑ์

2)     มีทักษะการใช้เครื่องมือเครื่องจักรในการขนย้ายและเคลื่อนย้าย

3)     มีทักษะทางด้านการสื่อสาร

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)     มีความรู้เรื่องบรรจุภัณฑ์ตามมาตรฐานกำหนด

2)     มีความรู้เรื่องการควบคุมคุณภาพยางแท่งก่อนการบรรจุภัณฑ์

3)     มีความรู้เรื่องการจัดเก็บยาง

4)     มีความรู้เรื่องการเคลื่อนย้ายและขนส่งยางแท่ง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะเป็นแนวทางในการกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรใช้เป็นเอกสารประกอบการประเมินร่วมกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)     หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

2)     หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

3)     แฟ้มสะสมงาน (ถ้ามี)

4)     เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หรือ เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงาน

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)     หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2)     หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

3)     ผลการสอบข้อเขียน

4)     ผลการสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1)     ผู้ประเมินจะต้องดำเนินการตรวจประเมินความรู้เกี่ยวกับหน่วยสมรรถนะย่อยที่รับการพิจารณา

2)    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานต้องแสดงถึง

    - ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    - วิธีการปฏิบัติงานในกระบวนการผลิต กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    - ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    (ง) วิธีการประเมิน

1)     การสอบข้อเขียน

2)     การสอบสัมภาษณ์

3)     การสอบปฏิบัติ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

    อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุตามรายละเอียดมาตรฐานยางแท่งเอสทีอาร์

1)    สัญญาลักษณ์มาตรฐานยางแท่งเอสทีอาร์ 

    สัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับมาตรฐานยางแท่งเอสทีอาร์เป็นเครื่องหมายสามเหลี่ยมด้านเท่ากลับฐานขึ้นด้านบน ภายในรูปสามเหลี่ยม ด้านบนเป็นอักษร STR ถัดลงมาเป็นอักษรและเลขแสดงชั้นยาง และล่างสุดเป็นรหัสประจำโรงงานผลิต

    สีประจำชั้นยางจะมีความแตกต่างกัน คือ 

        - STR XL     ใช้สีฟ้า 

        - STR 5L     ใช้สีเขียวอ่อน 

        - STR 5     ใช้สีเขียวอ่อน

        - STR 5CV     ใช้ตัวอักษรสีขาวบนพื้นสีเขียวอ่อน

        - STR 10     ใช้สีน้ำตาล

        - STR 10CV      ใช้ตัวอักษรสีขาวบนพื้นสีน้ำตาล

        - STR 20     ใช้สีแดง

        - STR 20CV     ใช้ตัวอักษรสีขาวบนพื้นสีแดง

    มาตรฐานน้ำหนักและขนาดยางแท่ง ยางแท่งเอสทีอาร์มีน้ำหนักและขนาดแท่งยางมาตรฐาน ดังนี้

        น้ำหนัก    33.33 กิโลกรัม

        ขนาด    กว้าง 330 มิลลิเมตร  ยาว 670 มิลลิเมตร  สูง 170 มิลลิเมตร

        หรือน้ำหนักและขนาดอื่นนอกเหนือจากนี้ ตามที่สถาบันวิจัยอนุญาต หรือตามความต้องการของลูกค้า

2)    การบรรจุยางแท่ง

         1. การตัดเก็บตัวอย่าง การผลิตยางแท่งจะจัดเป็นชุด (Lot) ชุดหนึ่ง ๆ มียางแท่งจำนวน 

2 ตัน (60 แท่ง) หรือ 5 ตัน (150 แท่ง) หรือ 6 ตัน (180 แท่ง) หลักเกณฑ์การเก็บตัวอย่างมีดังนี้

            1.1 สุ่มตัวอย่างละ 10% โดยให้มีตัวอย่างอย่างน้อยที่สุดไม่ต่ำกว่า 6 ตัวอย่าง และอย่างมากที่สุด 30 ตัวอย่าง การตัดเก็บตัวอย่าง อาศัยหลักอนุกรมเลขคณิต เช่น ตัดเก็บตัวอย่างที่ 5, 15, 25, 35, 45 และ 55

            1.2 ให้ตัดยางที่มุมตรงกันข้ามกัน 2 มุม แล้วนำยางทั้ง 2 ชิ้นดังกล่าวมาประกบกันให้น้ำหนักรวมกันไม่น้อยกว่า 250 กรัม

            1.3 นำชิ้นตัวอย่างที่ตัดได้ใส่ถุงพลาสติก ปิดปากถุงให้สนิท จดบันทึกรายละเอียดของชิ้นตัวอย่างไว้นอกถุง ดังนี้

                   - วัตถุดิบที่ใช้ผลิต

                   - หมายเลขตัวอย่าง

                   - หมายเลขแท่งยางที่ตัดเก็บตัวอย่าง

                   - หมายเลขชุดที่ผลิต                                

                   - วันที่เก็บตัวอย่าง

                   - วันที่ผลิตยาง

                   - ชื่อบริษัทผู้ผลิต

       2. ให้บรรจุยางแท่งลงในลัง เรียงหมายเลขตามลำดับแท่งที่ผลิตได้จนเต็มลัง แล้วบรรจุลงในลังถัดไปจนครบชุด

       3. ระบุวัน เดือน ปี หมายเลขชุด หมายเลขลังแต่ละชุดที่ผลิตได้ด้วยหมึกแห้ง หรือหมึกพิมพ์ไว้ตรงมุมบนขวาของลังทุกด้านให้ชัดเจน

       4. การคาดแถบระบุชั้นยางแท่งเอสทีอาร์ ต้องให้ตรงกับผลการจัดชั้นยาง หากคาดแถบยางไว้แล้ว ถ้าผลการตรวจสอบคุณภาพยางได้ไม่ตรงตามชั้นยาง ผู้ผลิตจะต้องลอกแถบออก หรือเปลี่ยนใหม่ให้ตรงกับชั้นยางทันที

       5. หากมีการนำยางที่จัดชั้นไม่ได้ไปทำการรีดใหม่ ให้ผู้ผลิตแจ้งให้สถาบันวิจัยยางทราบเพื่อจะได้ดำเนินการตามระเบียบต่อไป

            ถ้าผู้ผลิตยางแท่งเอสทีอาร์เพื่อจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศโดยมิได้บรรจุยางลงในภาชนะหีบห่อต้องพิมพ์หมายเลขชุดยางลงในบัตร แล้วสอดไว้ในถุงพลาสติกกับแท่งยางทุกแท่งเป็นชุด ๆ เพื่อให้ผู้ตรวจการยางสามารถตรวจสอบได้

       6. ห้ามนำยางชนิดอื่นที่ไม่ได้อยู่ในสายการผลิตยางแท่งเอสทีอาร์ มาอัดรวมในยางแท่งเอสทีอาร์

3)   การบรรจุหีบห่อ

     การใช้พลาสติกห่อแท่งยางและพันแท่งยาง พลาสติกที่ใช้ในการห่อแท่งยางเป็นพลาสติกพอลิเอทิลีน (Polyethylene, PE) หรือพอลิโพรไพลีน (Polypropylene, PP) ชนิดความหนาแน่นต่ำ 

     1. สมบัติของพลาสติก

             อุณหภูมิจุดหลอมเหลว (ไม่เกิน)          109 °C

             สามารถผสมเข้ากับยางได้ที่อุณหภูมิ (ไม่เกิน) 110 °C                            

             ความหนา                 0.03-0.04 °C

    2. ขนาดของพลาสติก

             2.1 พลาสติกที่ใช้ห่อแท่งยางเป็นชนิดใส กว้าง 60 เซนติเมตร ยาว 90 เซนติเมตร

             2.2 พลาสติกที่ใช้พันแท่งยางเป็นชนิดสีขาวทึบแสง กว้าง 5 เซนติเมตร และระบุรายละเอียด

4)    อุณหภูมิของลังบรรจุยาง

         เมื่ออัดยางเป็นแท่งแล้วและก่อนห่อแท่งยางอุณหภูมิภายในแท่งยางจะต้องต่ำกว่า 60°C จึงทำการห่อและเย็บปากถุงพอลิเอทิลีนให้ติดกันเรียบร้อยด้วยเครื่องเย็บพลาสติกหรือหัวแร้งบัดกรีก็ได้ ห้ามใช้เทปกาวติด

5)    ขนาดของลังบรรจุยาง

         ลังที่ใช้บรรจุยางแท่งขนาดมาตรฐานต้องมีความแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักยาง 1 ตัน ซึ่งมีจำนวน 30 แท่ง มีขนาด กว้าง 110 เซนติเมตร ยาว 142.5 เซนติเมตร สูง 91.5 เซนติเมตร หรือน้ำหนักและขนาดอื่นนอกเหนือจากนี้ ตามที่สถาบันวิจัยยางอนุญาต

         กรณีใช้ไม้ประกอบเป็นลังจะต้องเป็นไม้ใหม่ที่ผึ่งแห้งแล้ว และปราศจากแมลงทำลายไม้และแมลงชนิดอื่น ๆ ไม่มีเปลือกไม้และกระพี้ ตะปูที่ใช้ตอกลังต้องมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 2.5 มิลลิเมตร และยาว 60 มิลลิเมตร

         แถบเหล็กที่ใช้รัดลังไม้ควรมีขนาดไม่ต่ำกว่าขนาดดังต่อไปนี้

                กว้าง  16   มิลลิเมตร

                หนา  0.55 มิลลิเมตร

         หรือมีความสามารถต้านทานแรงดึง 580 กิโลกรัม แถบรัดชนิดอื่นที่ใช้ต้องสามารถต้านทานแรงดึงได้ในระดับเดียวกัน

6)    การบรรจุยางแท่ง

         ในการบรรจุยางแท่งลงลัง ควรวางยางแท่งให้สามารถเห็นเครื่องหมายชั้นยางจากการวางเรียงแต่ละชั้นได้สะดวก

7)    การใช้พอลิเอทิลีนคั่น

         ระหว่างชั้นของยางแท่งที่บรรจุในลัง ต้องคั่นด้วยพอลิเอทิลีนขนาด 0.03-0.04 มิลลิเมตร พอลิเอทิลีนที่คั่นระหว่างยางแท่งแต่ละชั้นจะต้องคลุมมิดยางแท่งทั้งหมดและเหลือชายพับลงไปประมาณ 100 มิลลิเมตร พอลิเอทิลีนที่ใช้จะต้องเป็นชนิดสีขาวขุ่นทึบแสงและสามารถดึงออกได้หมดหากติดกับยาง

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1)    ประเมินโดยใช้แบบทดสอบเขียน

2)    ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

3)    ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ

4)    ประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือ/เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องพิจารณาควบคู่ไปกับการสอบสัมภาษณ์ 

5)    ประเมินจากการปฏิบัติงานจริง



 



ยินดีต้อนรับ