หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดำเนินการผลิตยางแท่งจากน้ำยางสด

สาขาวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RUB-ZMEV-122A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดำเนินการผลิตยางแท่งจากน้ำยางสด

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานผลิตยางแท่ง (Block Rubber)

ISCO-08    1311 หัวหน้าแผนกผลิตผลิตภัณฑ์ยาง/ผู้จัดการโรงงานผลิตยางแผ่น

                  2145 ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียาง

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับอาชีพผู้ปฏิบัติงานผลิตยางแท่ง โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเติมสารเคมีเพื่อปรับปรุงสมบัติน้ำยางสด การปรับความเข้มข้นของเนื้อยางและแอมโมเนีย การจับตัวน้ำยางสด การรีดแผ่นยางเครพ ตัดย่อยและล้างทำความสะอาด การอบไล่ความชื้นในเนื้อยาง และการอัดแท่งตามที่มาตรฐานกำหนด หรือตามความต้องการของลูกค้า

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา สาขาแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1) คู่มือมาตรการยางเอสทีอาร์ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร2) ISO 2000 Natural Rubber (NR) Specifications 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BL421

จัดการเติมสารเคมีเพื่อปรับปรุงสมบัติน้ำยางสด

1. อธิบายขั้นตอนการเติมสารเคมีเพื่อปรับปรุงสมบัติน้ำยางสด

BL421.01 224342
BL421

จัดการเติมสารเคมีเพื่อปรับปรุงสมบัติน้ำยางสด

2. อธิบายวิธีการเติมและคำนวณปริมาณการเติมสารเคมี 
ควบคุมความหนืดยาง

BL421.02 224343
BL421

จัดการเติมสารเคมีเพื่อปรับปรุงสมบัติน้ำยางสด

3. อธิบายวิธีการเติมและคำนวณปริมาณการเติมสารป้องกันสีคล้ำ

BL421.03 224344
BL422

ปรับปริมาณความเข้มข้นของเนื้อยางและแอมโมเนีย

1. อธิบายหลักการปรับปริมาณแอมโมเนียในน้ำยาง
และความเข้มข้นเนื้อยาง

BL422.01 224345
BL422

ปรับปริมาณความเข้มข้นของเนื้อยางและแอมโมเนีย

2. ปรับปริมาณแอมโมเนียไม่ให้เกินค่าตามที่มาตรฐานกำหนด 

BL422.02 224346
BL422

ปรับปริมาณความเข้มข้นของเนื้อยางและแอมโมเนีย

3. ปรับความเข้มข้นเนื้อยางให้ได้ค่าตามที่มาตรฐานกำหนด

BL422.03 224347
BL423

ดำเนินกระบวนการจับตัวน้ำยาง

1. อธิบายหลักการแยกเนื้อยางออกจากน้ำซีรั่ม

BL423.01 224348
BL423

ดำเนินกระบวนการจับตัวน้ำยาง

2. เตรียมสารละลายกรดตามความเข้มข้นที่กำหนด 

BL423.02 224349
BL423

ดำเนินกระบวนการจับตัวน้ำยาง

3. วิธีการเติมและปริมาณการเติมกรดในการจับตัวน้ำยาง 

BL423.03 224350
BL423

ดำเนินกระบวนการจับตัวน้ำยาง

4. สังเกตและประเมินความสมบูรณ์ในการจับตัวน้ำยาง 

BL423.04 224351
BL423

ดำเนินกระบวนการจับตัวน้ำยาง

5. อธิบายขั้นตอนการเตรียมสารจับตัวหางน้ำยางในกระบวนการ
ผลิตยางแท่งสกิม

BL423.05 224352
BL423

ดำเนินกระบวนการจับตัวน้ำยาง

6. ประมาณปริมาณการใช้กรดหรือสารช่วยจับตัวในการจับ
ตัวหางน้ำยาง

BL423.06 224353
BL423

ดำเนินกระบวนการจับตัวน้ำยาง

7. สังเกตการแยกตัวของเซรั่มและการลอยตัวของก้อนยางในการจับตัวหางน้ำยาง

BL423.07 224354
BL424

ดำเนินกระบวนการรีดแผ่นเครพ ตัดย่อย และล้างทำความสะอาด

1. อธิบายขั้นตอนการรีดแผ่นเครพ ตัดย่อย และล้างทำความสะอาด

BL424.01 224355
BL424

ดำเนินกระบวนการรีดแผ่นเครพ ตัดย่อย และล้างทำความสะอาด

2. ควบคุมขั้นตอนการรีดแผ่นเครพ และการปรับระยะ ระหว่างลูกกลิ้ง 

BL424.02 224356
BL424

ดำเนินกระบวนการรีดแผ่นเครพ ตัดย่อย และล้างทำความสะอาด

3. ควบคุมขั้นตอนการตัดย่อยและการปรับขนาดการตัดย่อยชิ้นยาง

BL424.03 224357
BL424

ดำเนินกระบวนการรีดแผ่นเครพ ตัดย่อย และล้างทำความสะอาด

4. ควบคุมการล้างทำความสะอาดและการทำให้ยางแห้ง

BL424.04 224358
BL424

ดำเนินกระบวนการรีดแผ่นเครพ ตัดย่อย และล้างทำความสะอาด

5. ประเมินความสะอาดและขนาดของชิ้นยาง

BL424.05 224359
BL425

ดำเนินกระบวนการอบไล่ความชื้นในเนื้อยาง

1. อธิบายขั้นตอนการอบไล่ความชื้นในเนื้อยาง

BL425.01 224360
BL425

ดำเนินกระบวนการอบไล่ความชื้นในเนื้อยาง

2. ดำเนินกระบวนการกระจายยางในกระบะอบให้มีความสม่ำเสมอ

BL425.02 224361
BL425

ดำเนินกระบวนการอบไล่ความชื้นในเนื้อยาง

3. ควบคุมอุณหภูมิและเวลาในการอบ 

BL425.03 224362
BL425

ดำเนินกระบวนการอบไล่ความชื้นในเนื้อยาง

4. ดำเนินการเป่าลมไล่ความชื้น

BL425.04 224363
BL425

ดำเนินกระบวนการอบไล่ความชื้นในเนื้อยาง

5. ตรวจสอบความชื้นในเนื้อยางระหว่างการอบ

BL425.05 224364
BL426

ดำเนินการขึ้นรูปยางโดยการอัดแท่ง

1. อธิบายกระบวนการอัดแท่งยาง

BL426.01 224365
BL426

ดำเนินการขึ้นรูปยางโดยการอัดแท่ง

2. เตรียมวัตถุดิบยางตามน้ำหนักที่ต้องบรรจุ 

BL426.02 224366
BL426

ดำเนินการขึ้นรูปยางโดยการอัดแท่ง

3. ดำเนินการอัดยางลงในแม่พิมพ์ 

BL426.03 224367
BL426

ดำเนินการขึ้นรูปยางโดยการอัดแท่ง

4. ตรวจสอบขนาด รูปทรง และน้ำหนักให้ได้ตามมาตรฐาน

BL426.04 224368
BL426

ดำเนินการขึ้นรูปยางโดยการอัดแท่ง

5. ตรวจสอบการปนเปื้อนของสิ่งเจือปนในยางแท่ง

BL426.05 224369

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    มีทักษะการเติมสารเคมีเพื่อปรับปรุงสมบัติยาง

2)    มีทักษะการจับตัวน้ำยางสด

3)    มีทักษะเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือตัดย่อย รีดแผ่น และล้างทำความสะอาดยาง

4)    มีทักษะเกี่ยวกับการประเมินความแห้งของเนื้อยาง

5)    มีทักษะทางด้านการสื่อสาร

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)     มีความรู้เรื่องการจับตัวน้ำยางสด

2)     มีความรู้เรื่องการใช้เครื่องมือเครื่องจักรในกระบวนการผลิตตามหลักการทำงาน

3)     มีความรู้เรื่องการประเมินคุณภาพและสมบัติของวัตถุดิบเบื้องต้น

4)     มีความรู้เรื่องการใช้เครื่องอบยาง

5)     มีความรู้เรื่องการประเมินคุณภาพยางแท่งหลังจากการอบ

6)     มีความรู้เรื่องการอัดแท่งก้อนยาง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะเป็นแนวทางในการกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรใช้เป็นเอกสารประกอบการประเมินร่วมกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

2)    หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

3)    แฟ้มสะสมงาน (ถ้ามี)

4)    เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หรือ เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงาน

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)     หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2)     หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

3)     ผลการสอบข้อเขียน

4)     ผลการสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1)     ผู้ประเมินจะต้องดำเนินการตรวจประเมินความรู้เกี่ยวกับหน่วยสมรรถนะย่อยที่รับ

การพิจารณา

2)    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานต้องแสดงถึง

    - ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    - วิธีการปฏิบัติงานในกระบวนการผลิต กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    - ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    (ง) วิธีการประเมิน

1)    การสอบข้อเขียน

2)    การสอบสัมภาษณ์

3)    การสอบปฏิบัติ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

    อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุตามคู่มือมาตรการยางเอสทีอาร์ ตามเอกสารของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร การปรับปรุงรูปแบบและพัฒนาการผลิตยางธรรมชาติมีหลายวี และการผลิตยางชนิดที่ เรียกว่า “ยางแท่ง” หรือยางที่ผลิตโดยระบุคุณภาพมาตรฐาน (Technically Specified Rubber) เป็นการผลิตแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้ยางทั่วไป ประเทศไทยได้เริ่มการผลิตยางแท่งเมื่อปี พ.ศ. 2511 เรียกว่า ยางแท่งทีทีอาร์ (Thai Tested Rubber, TTR) โดยมีสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบในมาตรฐานควบคุม

การผลิตและการทดสอบ เพื่อรับรองคุณภาพซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากล ISO 2000 Natural Rubber (NR) Specifications และตามข้อตกลงของ International Rubber Association (IRA)

    ในปี พ.ศ. 2526 สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้ประกาศปรับปรุงข้อกำหนดขีดจำกัดค่าปริมาณความชื้น และค่าปริมาณไนโตรเจน แม้ว่ายางแท่งภายใต้ชื่อ “ทีทีอาร์” จะเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในด้านคุณภาพที่ดีและเหมาะสมกับการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ยางต่าง ๆ ก็ตาม ยังมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงมาตรการของยางแท่งไทย เพื่อให้ทันสมัยและสอดคล้องกับภาวะอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางปัจจุบัน สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร จึงได้ดำเนินการจัดประชุมระดมความคิดเห็นจากภาคเอกชนผู้ประกอบการผลิตและค้ายางแท่ง และจากภาคราชการ กลุ่มนักวิชาการผู้ปฏิบัติงานรับผิดชอบการทดสอบและควบคุมคุณภาพยางแท่ง ผลการประชุมมีมติเห็นชอบในการปรับปรุงการกำหนดชั้น ขีดจำกัดสมบัติต่าง ๆ และเปลี่ยนชื่อเรียกจากยางแท่งทีทีอาร์ เป็นยางแท่งเอสทีอาร์ (Standard Thai Rubber, STR) ตามมาตรฐานสากล ที่มีการระบุรายละเอียดด้านการจัดเกรด และสมบัติต่าง ๆ อย่างชัดเจน

    ยางแท่ง คือ ยางที่ผ่านการย่อยเป็นชิ้นเล็กๆ และอบให้แห้งด้วยความร้อน แล้วจึงอัดเป็นแท่ง เป็นยางที่มีการกำหนดมาตรฐาน คุณสมบัติทางเทคนิคตามกระบวนการวิทยาศาสตร์

    การผลิตยางแท่ง สามารถผลิตได้ทั้งจากน้ำยางหรือยางแห้งที่จับตัวแล้ว เช่น ยางก้อนถ้วย ยางแผ่น ฯลฯ หลักสำคัญของการผลิตยางแท่ง คือ

การตัดย่อยก้อนยางให้เป็นเม็ดหรือชิ้นเล็ก ๆ อย่างรวดเร็ว ล้างสิ่งสกปรกออก นำยางไปอบแห้ง และอัดเป็นแท่งสี่เหลี่ยมให้มีน้ำหนัก 33.33 กิโลกรัม ต่อก้อนหรือมีขนาดตามต้องการ

    ยางแท่ง มีกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานมีการคัดเลือกวัตถุดิบที่ได้คุณภาพ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทันสมัย สะอาด ลดขนาดให้ได้ตามที่กำหนด จากนั้นเข้าสู่กระบวนการอบยางให้สุกในอุณหภูมิที่เหมาะสม เข้าสู่กระบวนการอัดแท่ง ชั่งน้ำหนักให้ได้ตามที่กำหนด จนถึงการบรรจุภัณฑ์ ยางจะผ่านกระบวนการทดสอบด้วยห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน ให้ผลทดสอบที่มีความแม่นยำสูง

    ยางแท่ง แบ่งเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ STR10, STR20, STR 5L และ STR CV เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต สินค้าอื่น ๆ เช่นเดียวกับยางแผ่นรมควัน กล่าวคือ อุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์เป็นผู้ใช้รายใหญ่ คุณสมบัติของ ยางแท่ง STR 20 โดยทั่วไป สามารถใช้ทดแทนกันได้กับยางแผ่นรมควัน ชั้น 3

     ยางแท่ง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีที่ได้มาตรฐาน เริ่มต้นด้วยการสรรหาและควบคุมวัตถุดิบอย่างเข้มงวด ก่อนที่จะเข้ากระบวนการผลิต จนกระทั่งผลิตเสร็จ และมีการทดสอบ คุณภาพด้วยห้องทดลองที่มีมาตรฐาน ซึ่งให้ผลทดสอบที่มีความละเอียดแม่นยำสูง รวมไปถึงกระบวนการขนส่งที่รับประกันได้ว่าสินค้า ทั้งหมดส่งถึงมือลูกค้าตรงตามความต้องการ เงื่อนไข และมาตรฐานที่กำหนด โดยยางแท่งที่ผลิตจากน้ำยางสดมีการจัดเกรดดังนี้

     - Standard Thai Rubber XL (STR XL)

     - Standard Thai Rubber 5L (STR 5L)

     - Standard Thai Rubber 5 (STR 5)

     - Standard Thai Rubber 5CV (STR 5CV)

     การผลิตยางแท่งทำได้ง่ายและเร็วกว่าการทำยางแผ่นรมควันหรือยางเครพมาก หลักสำคัญของกรรมวิธีที่เปลี่ยนไปจากเดิม คือ แทนที่จะทำเป็นแผ่นใหญ่ ๆ ได้เปลี่ยนเป็นย่อยยางให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ เสียก่อน การรมควันใช้ความร้อนเพียง 60 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 5-10 วัน เปลี่ยนเป็นอบความร้อนให้แห้ง ด้วยความร้อน 100-110 องศาเซลเซียส แล้วจึงอัดเป็นแท่ง ใช้เวลาเพียง 4-5 ชั่วโมงก็เสร็จ ตามกรรมวิธีเป็นขั้น ๆ ต่อ ไปนี้

    1. เมื่อได้น้ำยางสดมาจากสวนและกรองให้สะอาดแล้ว จะใส่น้ำกรดฟอร์มิก เพื่อให้ยางแข็งตัว การทำยางแข็งตัว อาจจะลดน้ำกรดและใช้น้ำตาล 0.04% ของเนื้อยางแห้งช่วยด้วย หรือใช้น้ำตาลอย่าง เดียว 0.05% ของเนื้อยางแห้งก็ได้ เพื่อประโยชน์ในทางคุณสมบัติของยาง และเพื่อให้ยางจับตัวเป็นก้อนไม่แน่นเกินไป จะมีรูเล็ก ๆ พรุนอยู่ทั่วไป ซึ่งจะช่วยให้ยางแห้งเร็วขึ้นเมื่ออบความร้อน

    2. ยางจะแข็งตัวภายในเวลา 2 - 3 ชั่วโมง นำเข้าเครื่องย่อย เพื่อฉีกหรือตัดยางออกเป็นชิ้น

เล็ก ๆ แบน ๆ ชิ้นหนึ่งจะมีขนาดประมาณปลายนิ้วก้อย เครื่องย่อยดังกล่าวนี้มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น กรานูเลเทอร์ (Granulator) หรือ โรทารีคัตเทอร์ (Rotary Cutter) หรือใช้ย่อยยางที่แข็งตัวมานานแล้ว ซึ่งมีความเหนียวมากกว่ายางที่แข็งตัวใหม่ ๆ ยางที่แข็งตัวมานานแล้วใช้ทำยางแท่งได้ทำนองเดียวกับยางที่ได้มาจากสวนใหม่ ๆ โดยใช้เครื่องย่อยที่ทำงานหนัก เช่น เครื่องย่อยที่เรียกว่า แฮมเมอร์มิลล์ (Hammermill) ก็ได้ หรือถ้าย่อยโดยผ่านเครื่องย่อยดังกล่าวข้างต้นแล้ว เช่น ผ่านเครื่องใดเครื่องหนึ่งใน 2 เครื่องแรกแล้ว ต้องการย่อยให้เล็กลงอีก ขนาดเม็ดเท่าหัวไม้ขีดไฟ จะผ่านเครื่องย่อยที่เรียกว่า เพลลิทิเซอร์ (Pelletizer) อีกครั้งหนึ่งก็ได้

    3. ยางที่ถูกย่อยเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนี้ จะไหลลงกระบะขอบสูง ๆ คล้ายกล่อง ทำด้วยโลหะ หรือจะปล่อยลงในน้ำเพื่อล้างอีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงใส่กระบะก็ได้ กระบะหนึ่ง ๆ ใส่ยางย่อยไม่เกินครึ่งกระบะ มีน้ำหนักยางกระบะละประมาณ 34-35 กิโลกรัม แล้วจึงนำกระบะดังกล่าวนี้ เข้าอบความร้อนในเตาอบ ซึ่งมีรูปร่างคล้ายอุโมงค์ กว้างประมาณ 2 เมตร สูง 1 เมตร และยาวประมาณ 8-9 เมตร มีประตูปิดเปิดได้ทั้งทางหัวทางท้ายของความยาวทุก ๆ กระบะ จะเข้าทางต้นทางแล้วจะออกอีกทางหนึ่ง จะอยู่ในเตาอบซึ่งมีความร้อนระหว่าง 100-110 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 1/2 - 4 1/2 ชั่วโมง จะสุกเร็ว หรือช้าเพียงใด แล้วแต่ชนิดของยาง ยางที่สุกแล้ว จะเห็นเนื้อยางใส และมีสีน้ำตาลอ่อน ๆ ไม่ขาวเหมือนเมื่อตอนจะเอาเข้าอบ

    4. เมื่อยางสุกแล้ว จะปล่อยให้เย็นลงเหลือประมาณ 50-60 องศาเซลเซียส พอจะหยิบยกเอามาชั่งได้ จะชั่ง ให้ได้ประมาณ 34 กิโลกรัมหรือ 75 ปอนด์ แล้วนำเข้าอัดเป็นแท่ง เป็นเวลา 1 นาที ในเครื่องอัดซึ่งมีแรงอัด 100 ตัน ยางย่อยจะถูกอัดเป็นแท่งคล้ายแผ่นอิฐ มีขนาด 35.5 x 70 x 16.5 เซนติเมตร (14 x 28 x 6 1/2 นิ้ว) แล้วจึงห่อด้วยถุงพลาสติกขนาดบาง 0.04 มิลลิเมตร ถ้าส่งต่างประเทศ จะบรรจุในลังไม้โปร่ง

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1)    ประเมินโดยใช้แบบทดสอบเขียน

2)    ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

3)    ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ

4)    ประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือ/เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องพิจารณาควบคู่ไปกับการสอบสัมภาษณ์ 

5)    ประเมินจากการปฏิบัติงานจริง

 



ยินดีต้อนรับ