หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

รับและตรวจสอบวัตถุดิบน้ำยางสดก่อนนำเข้าสู่กระบวนการผลิต

สาขาวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RUB-IXYT-121A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ รับและตรวจสอบวัตถุดิบน้ำยางสดก่อนนำเข้าสู่กระบวนการผลิต

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานผลิตยางแท่ง (Block Rubber)

ISCO-08    1311 หัวหน้าแผนกผลิตผลิตภัณฑ์ยาง/ผู้จัดการโรงงานผลิตยางแผ่น

                  2145 ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียาง

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับอาชีพผู้ปฏิบัติงานผลิตยางแท่ง โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้เกี่ยวกับการเตรียมน้ำยางสดสำหรับการผลิตยางแท่ง มีความรู้ในหลักการเตรียมตัวอย่างน้ำยางสดและทดสอบสมบัติน้ำยางสด ตรวจสอบการปนเปื้อน ปริมาณแอมโมเนียในน้ำยางสด และความเข้มข้นของเนื้อยาง ปริมาณกรดระเหยได้ในน้ำยางสด และจัดการกรองคัดแยกน้ำยางสดลงถัง ดำเนินการรักษาสภาพน้ำยางสดสำหรับการผลิตยางแท่ง และตรวจสอบสมบัติของน้ำยางสด ให้เป็นไปตามมาตรฐานวัตถุดิบยางแท่งจากน้ำยางสด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา สาขาแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1)    มกษ. 5911-2564 มาตรฐานสินค้าเกษตร2)    ISO 125:2001 Natural rubber latex concentrate-Determination of alkalinity.3)    ISO 126:2005 Natural rubber latex concentrate-Determination of dry rubber content.4)    ISO 506:1992 Rubber latex, natural, concentrate-Determination of volatile fatty acid number.

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BL411

เตรียมน้ำยางสดสำหรับผลิตยางแท่ง

1. อธิบายหลักการเตรียมตัวอย่างน้ำสดและทดสอบสมบัติน้ำยางสด

BL411.01 224294
BL411

เตรียมน้ำยางสดสำหรับผลิตยางแท่ง

2. ตรวจสอบการปนเปื้อนในน้ำยางสด 

BL411.02 224295
BL411

เตรียมน้ำยางสดสำหรับผลิตยางแท่ง

3. ตรวจสอบปริมาณแอมโมเนียในน้ำยางสด

BL411.03 224296
BL412

ตรวจสอบสมบัติวัตถุดิบน้ำยางสดสำหรับผลิตยางแท่ง

1. ตรวจสอบความเข้มข้นของเนื้อยาง

BL412.01 224297
BL412

ตรวจสอบสมบัติวัตถุดิบน้ำยางสดสำหรับผลิตยางแท่ง

2. ตรวจสอบปริมาณกรดระเหยได้ในน้ำยางสด

BL412.02 224298
BL412

ตรวจสอบสมบัติวัตถุดิบน้ำยางสดสำหรับผลิตยางแท่ง

3. กรองคัดแยกสิ่งปนเปื้อน

BL412.03 224299
BL412

ตรวจสอบสมบัติวัตถุดิบน้ำยางสดสำหรับผลิตยางแท่ง

4. เก็บน้ำยางสดลงถังรวม

BL412.04 224300
BL413

รักษาสภาพน้ำยางสดสำหรับการผลิตยางแท่ง

1. อธิบายขั้นตอนการรักษาสภาพน้ำยางสด

BL413.01 224301
BL413

รักษาสภาพน้ำยางสดสำหรับการผลิตยางแท่ง

2. เตรียมสารเคมีสำหรับรักษาสภาพน้ำยางสด

BL413.02 224302
BL413

รักษาสภาพน้ำยางสดสำหรับการผลิตยางแท่ง

3. เติมสารเคมีเพื่อรักษาสภาพน้ำยางสด

BL413.03 224303
BL413

รักษาสภาพน้ำยางสดสำหรับการผลิตยางแท่ง

4. กวนน้ำยางในถังเก็บป้องกันการตกตะกอน

BL413.04 224304

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)     มีทักษะการประเมินคุณภาพน้ำยางสด

2)     มีทักษะการเตรียมสารเคมีสำหรับรักษาสภาพน้ำยางสด

3)     มีทักษะการรักษาสภาพน้ำยางสด

4)     มีทักษะทางด้านการสื่อสาร

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)     มีความรู้เรื่องการประเมินคุณภาพและสมบัติของวัตถุดิบเบื้องต้น

2)     มีความรู้เรื่องการเตรียมสารเคมีสำหรับรักษาสภาพน้ำยางสด

3)     มีความรู้เรื่องการรักษาสภาพน้ำยางสด

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะเป็นแนวทางในการกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรใช้เป็นเอกสารประกอบการประเมินร่วมกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)     หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

2)     หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

3)     แฟ้มสะสมงาน (ถ้ามี)

4)     เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หรือ เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงาน

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)     หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2)     หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

3)     ผลการสอบข้อเขียน

4)     ผลการสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1)    ผู้ประเมินจะต้องดำเนินการตรวจประเมินความรู้เกี่ยวกับหน่วยสมรรถนะย่อยที่รับ

การพิจารณา

2)    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมถรรนะนี้ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานต้องแสดงถึง

    - ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    - วิธีการปฏิบัติงานในกระบวนการผลิต กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่าง ๆ ที่ 

       เกี่ยวข้อง

    - ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    (ง) วิธีการประเมิน

1)     การสอบข้อเขียน

2)     การสอบสัมภาษณ์

3)     การสอบปฏิบัติ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

    อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุตาม มกษ. 5911-2564 มาตรฐานสินค้าเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 

    ยางพารา (Hevea Brasiliensis) เป็นพืชเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ประเทศไทยปลูกยางพาราได้ทุกภูมิภาค กระบวนการจัดการเพื่อให้ได้น้ำยางสดที่ดี ต้องเริ่มจากการปฏิบัติที่ดีในสวนยางพารา ตั้งแต่การปลูกถึงหลังการเก็บเกี่ยว และจะต้องมีขั้นตอนต่อเนื่องของการรวบรวม น้ำยางสด เพื่อให้ได้น้ำยางสดที่สะอาด มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับเป็นวัตถุดิบในการแปรรูป

    ความหมายของคำที่ใช้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรนี้ มีดังต่อไปนี้ 

(1) นํ้ายางสด (Field Latex or Fresh Latex) หมายถึง น้ำยางธรรมชาติที่ได้จากต้นยางพารา (Hevea Brasiliensis) ที่มีหรือไม่มีสารรักษาสภาพ และอยู่ในสภาพก่อนที่จะเข้ากระบวนการทำให้เกิดเป็น น้ำยางข้นหรือกระบวนการต่าง ๆ 

(2) สารรักษาสภาพ (Preservatives) หมายถึง สารเคมีที่เติมลงในน้ำยางสดก่อนหรือหลังทำให้ข้น เพื่อยับยั้งการบูด และการจับตัวเป็นก้อน 

(3) ปริมาณเนื้อยางแห้ง (Dry Rubber Content; DRC) หมายถึง ปริมาณของส่วนที่เป็นเนื้อยาง ทั้งหมดในน้ำยาง 

(4) ค่ากรดไขมันที่ระเหยได้ (Volatile Fatty Acid Number; VFA Number) หมายถึง ปริมาณของกรดไขมันที่ระเหยได้ที่เกิดจากการกระทำของจุลินทรีย์ที่ใช้คาร์โบไฮเดรตในเซรั่มของน้ำยาง เป็นอาหาร ประกอบด้วย กรดแอซีติก กรดฟอร์มิก และกรดพรอพิโอนิก เป็นส่วนใหญ่ 

(5) ความเป็นด่างของน้ำยาง (Alkalinity of Ammonia) หมายถึง ปริมาณด่างอิสระทั้งหมดในน้ำยาง แสดงเป็นปริมาณแอมโมเนีย 

(6) ภาชนะรับน้ำยางสด (Field Latex Container) หมายถึง ภาชนะที่ใช้รับน้ำยางสดจากส่งมอบแต่ละราย โดยน้ำยางสดในภาชนะรับน้ำยางสดจะถูกสุ่มเก็บตัวอย่าง เพื่อหา DRC ก่อนปล่อยลงสู่บ่อรวบรวมน้ำยางสด

(7) บ่อรวบรวมน้ำยางสด (Field Latex Bulking Tank) หมายถึง บ่อที่ใช้เก็บรวบรวมน้ำยางสดเพื่อรอการขนส่งไปจำหน่าย โดยน้ำยางสดที่อยู่ในบ่อรวบรวมน้ำยางสดต้องมีการเติมสารรักษาสภาพ และสุ่มเก็บตัวอย่าง เพื่อหา VFA Number และ DRC

    การรับน้ำยางสด 

(1) น้ำยางสดที่จะตรวจรับต้องบรรจุในภาชนะรองรับที่สะอาด มีฝาปิด สามารถป้องกันสิ่งปนเปื้อนน้ำยางสดได้

(2) มีการตรวจพินิจน้ำยางสดก่อนรับมอบ โดยน้ำยางต้องไม่จับตัวเป็นเม็ดเล็ก ๆ หรือเป็นก้อน

(3) กรณีน้ำยางสดที่อยู่ในส่วนบรรจุของพาหนะขนส่ง เช่น รถบรรทุกซึ่งใช้ระยะเวลาในการรวบรวมน้ำยางก่อนนำมาส่งมอบ ต้องสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำยางสดไม่น้อยกว่า 50 ml เพื่อหาค่า VFA Number 

(4) น้ำยางสดที่รับมอบแล้วจะต้องบันทึกน้ำหนัก แหล่งที่มา วันที่รับเข้า ชื่อผู้ส่งมอบ และเลขทะเบียนรถขนน้ำยางสด 

(5) ขณะเทหรือปล่อยน้ำยางสดลงภาชนะรับน้ำยางสด ต้องมีการกรองน้ำยางสด โดยใช้ตะแกรงกรอง ที่มีขนาดไม่น้อยกว่า 40 mesh เพื่อแยกสิ่งแปลกปลอม เช่น เปลือกไม้เศษยาง หิน ดิน ทราย 

(6) ต้องสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำยางสดที่ผ่านการกรองแล้วไม่น้อยกว่า 30 ml ของผู้ส่งมอบแต่ละราย เพื่อหาค่า DRC 

    การควบคุมคุณภาพของน้ำยางสด โดยการใช้สารรักษาสภาพ สำหรับการผลิตยางแท่ง แนะนำให้ใช้สารละลายโซเดียมซัลไฟท์ ความเข้มข้น 5%w/v ปริมาณ 1 ลิตร ต่อน้ำยางสด 100 กิโลกรัม 

    เกณฑ์คุณภาพของน้ำยางสด มีดังนี้

    - ปริมาณเนื้อยางแห้ง      มากกว่าหรือเท่ากับ 30%

    - ค่ากรดไขมันที่ระเหยได้      น้อยกว่า 0.07

    - ความเป็นด่างของน้ำยาง      ไม่น้อยกว่า 0.30%

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1)    ประเมินโดยใช้แบบทดสอบเขียน

2)    ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

3)    ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ

4)    ประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือ/เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องพิจารณาควบคู่ไปกับการสอบสัมภาษณ์ 

5)    ประเมินจากการปฏิบัติงานจริง



 



ยินดีต้อนรับ