หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานตามมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงาน

สาขาวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RUB-ONNM-119A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานตามมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงาน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานผลิตยางแท่ง (Block Rubber) 

ISCO-08    1311 หัวหน้าแผนกผลิตผลิตภัณฑ์ยาง/ผู้จัดการโรงงานผลิตยางแผ่น

                  2145 ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียาง

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับอาชีพผู้ปฏิบัติงานผลิตยางแท่ง โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดเตรียมเอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยได้อย่างถูกต้อง และสามารถประเมินประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานตามมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย เพื่อเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย ตรวจสอบย้อนกลับ และปรับปรุงกระบวนการทำงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา สาขาแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BL011

เตรียมเอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการผลิตยางแท่ง 

1. อธิบายหลักการปฏิบัติงานตามมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการผลิตยางแท่ง

BL011.01 224280
BL011

เตรียมเอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการผลิตยางแท่ง 

2. จัดเตรียมเอกสารเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการผลิตยางแท่ง

BL011.02 224281
BL011

เตรียมเอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการผลิตยางแท่ง 

3. จัดทำระบบควบคุมเอกสารและบันทึกการดำเนินงานให้สอดคล้อง
กับมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการผลิตยางแท่ง

BL011.03 224282
BL012

ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการผลิตยางแท่ง

1. อธิบายหลักการและวัตถุประสงค์ของมาตรฐานความปลอดภัย
และอาชีวอนามัยในการผลิตยางแท่ง

BL012.01 224283
BL012

ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการผลิตยางแท่ง

2. อธิบายระเบียบข้อบังคับของมาตรฐานปลอดภัย และอาชีวอนามัย
ในการผลิตยางแท่ง

BL012.02 224284
BL012

ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการผลิตยางแท่ง

3. ประยุกต์ใช้ระเบียบข้อบังคับของมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการผลิตยางแท่ง

BL012.03 224285
BL013

ประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการผลิตยางแท่ง

1. อธิบายกระบวนการวัดและประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการผลิตยางแท่ง

BL013.01 224286
BL013

ประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการผลิตยางแท่ง

2. เตรียมเอกสารในการประเมินผลการปฏิบัติงานภายใน
ตามมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการผลิตยางแท่ง

BL013.02 224287
BL013

ประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการผลิตยางแท่ง

3. ดำเนินการประเมินตามขั้นตอนการปฏิบัติงานตามมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการผลิตยางแท่ง

BL013.03 224288
BL013

ประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการผลิตยางแท่ง

4. ตรวจสอบย้อนกลับผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและปรับปรุงกระบวนการทำงาน

BL013.04 224289

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)     มีทักษะด้านการจัดเตรียมเอกสาร

2)     มีทักษะในการประยุกต์ใช้ระเบียบข้อบังคับ

3)     มีทักษะทางด้านการสื่อสาร

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)     มีความรู้เรื่องมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการ หลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ในการทำงาน

2)     มีความรู้เรื่องกฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน

3)     มีความรู้เรื่องกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะเป็นแนวทางในการกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรใช้เป็นเอกสารประกอบการประเมินร่วมกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)     หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

2)     หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

3)     แฟ้มสะสมงาน (ถ้ามี)

4)     เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หรือ เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงาน

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)     หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2)     หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

3)     ผลการสอบข้อเขียน

4)     ผลการสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1)     ผู้ประเมินจะต้องดำเนินการตรวจประเมินความรู้เกี่ยวกับหน่วยสมรรถนะย่อยที่รับการพิจารณา

2)    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานต้องแสดงถึง

    - ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    - วิธีการปฏิบัติงานในกระบวนการผลิต กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    - ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    (ง) วิธีการประเมิน

1)     การสอบข้อเขียน

2)     การสอบสัมภาษณ์

3)     การสอบปฏิบัติ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

      อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุมาตรฐานความปลอดภัยและหลักอาชีวอนามัย ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 ที่หมายความถึง การกระทำ หรือสภาพการทำงานซึ่งปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดการประสบอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัยอันเนื่องจากการทำงานหรือเกี่ยวกับการทำงาน ตามประกาศของกระทรวงแรงงาน ที่ประกอบด้วย 

- การบริหาร การจัดการ และการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 

- คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 

- การควบคุม กำกับ ดูแล 

- พนักงานตรวจความปลอดภัย 

- กองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

- สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

- บทกำหนดโทษ

    โดยมีรายละเอียดพอสังเขปดังนี้ การควบคุม กำกับ ดูแลการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้นายจ้างดำเนินการดังต่อไปนี้

(1) จัดให้มีการประเมินอันตราย

(2) ศึกษาผลกระทบของสภาพแวดล้อมในการททำงานที่มีผลต่อลูกจ้าง

(3) จัดทำแผนการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานและจัดทำแผนการควบคุมดูแลลูกจ้างและสถานประกอบกิจการ

(4) ส่งผลการประเมินอันตราย การศึกษาผลกระทบ แผนการดำเนินงานและแผนการควบคุมตาม (1) (2) และ (3) ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย

     การขอใบอนุญาต การออกใบอนุญาต คุณสมบัติของผู้ชำนาญการ การควบคุมการปฏิบัติงานของผู้ได้รับใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต การสั่งพักใช้ และการเพิกถอนใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงการจัดให้พนักงานตรวจความปลอดภัย มีอำนาจดังต่อไปนี้

(1) เข้าไปในสถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้างในเวลาทำการหรือเมื่อเกิดอุบัติภัย

(2) ตรวจสอบหรือบันทึกภาพและเสียงเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

(3) ใช้เครื่องมือในการตรวจวัดหรือตรวจสอบเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ในสถานประกอบกิจการ

(4) เก็บตัวอย่างของวัสดุหรือผลิตภัณฑ์ใด ๆ มาเพื่อการวิเคราะห์เกี่ยวกับความปลอดภัย

(5) สอบถามข้อเท็จจริง หรือสอบสวนเรื่องใด ๆ ภายในขอบเขตอำนาจและเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง รวมทั้งตรวจสอบหรือให้ส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องและเสนอแนะมาตรการป้องกันอันตรายต่ออธิบดีโดยเร็ว

      ในกรณีที่พนักงานตรวจความปลอดภัยพบว่า นายจ้าง ลูกจ้างหรือผู้ที่เกี่ยวข้องผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎกระทรวงซึ่งออกตามพระราชบัญญัตินี้ หรือพบว่า สภาพแวดล้อมในการทำงาน อาคาร สถานที่ เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ลูกจ้างใช้จะก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่ลูกจ้าง ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการกระทำที่ฝ่าฝืน แก้ไข ปรับปรุง หรือปฏิบัติให้ถูกต้องหรือเหมาะสมภายในระยะเวลาสามสิบวัน ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้ พนักงานตรวจความปลอดภัยอาจขยายระยะเวลาออกไปได้ไม่เกินสองครั้ง ครั้งละสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลาดังกล่าว

      ในกรณีจำเป็นเมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย  ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยมีอำนาจสั่งให้หยุดการใช้เครื่องจักร อุปกรณ์ อาคารสถานที่ หรือผูกมัดประทับตราสิ่งที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อลูกจ้างดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว ในระหว่างการปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานตรวจความปลอดภัยได้ เมื่อนายจ้างได้ปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามคำสั่งของพนักงานตรวจความปลอดภัยตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้นายจ้างแจ้งอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย เพื่อพิจารณาเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1)     ประเมินโดยใช้แบบทดสอบเขียน

2)     ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

3)     ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ

4)     ประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือ/เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องพิจารณาควบคู่ไปกับการสอบสัมภาษณ์ 

5)    ประเมินจากการปฏิบัติงานจริง

 



ยินดีต้อนรับ