หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานบำรุงรักษามอเตอร์ (Motor) ไฟฟ้าด้วยความปลอดภัย (Perform maintenance work on electric motors with safety)

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-FHXT-895A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานบำรุงรักษามอเตอร์ (Motor) ไฟฟ้าด้วยความปลอดภัย (Perform maintenance work on electric motors with safety)

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้า ระดับ 5

 ISCO-08      7412 ช่างซ่อมมอเตอร์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหม้อแปลงไฟฟ้า

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของงานบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป โดยการอธิบายอุปกรณ์ไฟฟ้าและหลักการทำงานของระบบไฟฟ้า ตรวจสอบหาปัจจัยความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษา สามารถตรวจสอบและบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป โดยการอ่านแบบทางไฟฟ้าและคู่มือถอด ประกอบ และเปลี่ยนชิ้นส่วนมอเตอร์ สามารถรื้อถอนและติดตั้งมอเตอร์ โดยการติดตั้งและรื้อถอนระบบไฟฟ้า Coupling แท่นยึดมอเตอร์ อุปกรณ์ประกอบของมอเตอร์ สามารถเคลื่อนย้ายและขนส่งมอเตอร์ โดยการอธิบายเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการยกและเคลื่อนย้ายเครื่องจักร ตรวจสอบและยึดโยงอุปกรณ์ในการเคลื่อนย้าย และวัดค่าทางกลและวิเคราะห์ผล สามารถบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์มอเตอร์ไฟฟ้า โดยการอธิบายโครงสร้างและหลักการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า (Motor) และอุปกรณ์ประกอบ อธิบายหลักการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น รวมทั้งสรุป เสนอแนะข้อมูลสำหรับการวางแผนบำรุงรักษา บันทึกผล และรายงานผล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบผลิตไฟฟ้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1    กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานด้านไฟฟ้า    -    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 255810.2    กฏหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับเครน ปั้นจั่น และการให้สัญญาณ     -    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552   -    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ การใช้เชือก ลวดสลิง และรอก พ.ศ. 2553   -    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดรูปภาพการใช้สัญญาณมือในการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2553   -    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2554   -    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ชนิดและประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานก่อสร้างที่ต้องตรวจรับรองประจำปี พ.ศ. 2554   -    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น พ.ศ. 255410.3    กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง   -    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 255110.4    กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PGS- OC01-7-S02-01

ปฏิบัติงานบำรุงรักษามอเตอร์ ด้านไฟฟ้าเป็นตามหลักความปลอดภัย

1. อธิบายอุปกรณ์ไฟฟ้าและหลักการทำงานของระบบไฟฟ้าที่มีความเกี่ยวข้องกับมอเตอร์ไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง

PGS- OC01-7-S02-01.01 223882
PGS- OC01-7-S02-01

ปฏิบัติงานบำรุงรักษามอเตอร์ ด้านไฟฟ้าเป็นตามหลักความปลอดภัย

2. ปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฎหมายด้านความปลอดภัยในการทำงานกับระบบไฟฟ้าสำหรับงานบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้า

PGS- OC01-7-S02-01.02 223883
PGS- OC01-7-S02-01

ปฏิบัติงานบำรุงรักษามอเตอร์ ด้านไฟฟ้าเป็นตามหลักความปลอดภัย

3. ใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทำงานกับระบบไฟฟ้าด้านความปลอดภัย ในงานบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้า

PGS- OC01-7-S02-01.03 223884
PGS- OC01-7-S02-02

ปฏิบัติงานบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้า ที่ต้องดำเนินการบนที่สูงไปตามหลักความปลอดภัย

1. อธิบายขั้นตอนการทำงานบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้า ที่ต้องดำเนินการบนที่สูงด้านความปลอดภัย

PGS- OC01-7-S02-02.01 223885
PGS- OC01-7-S02-02

ปฏิบัติงานบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้า ที่ต้องดำเนินการบนที่สูงไปตามหลักความปลอดภัย

2. ปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฎหมายด้านความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูงสำหรับงานบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้า

PGS- OC01-7-S02-02.02 223886
PGS- OC01-7-S02-02

ปฏิบัติงานบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้า ที่ต้องดำเนินการบนที่สูงไปตามหลักความปลอดภัย

3. ใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทำงานบนที่สูงด้านความปลอดภัยในงานบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้า

PGS- OC01-7-S02-02.03 223887
PGS- OC01-7-S02-03

ใช้รอกและสลิงในงานบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้า ตามหลักความปลอดภัย

1. อธิบายขั้นตอนการทำงานและหลักปฏิบัติในการใช้รอกและสลิงด้านความปลอดภัย ในงานบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้า

PGS- OC01-7-S02-03.01 223888
PGS- OC01-7-S02-03

ใช้รอกและสลิงในงานบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้า ตามหลักความปลอดภัย

2. ปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฎหมายด้านความปลอดภัยในการใช้รอกและสลิงสำหรับงานบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้า

PGS- OC01-7-S02-03.02 223889
PGS- OC01-7-S02-03

ใช้รอกและสลิงในงานบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้า ตามหลักความปลอดภัย

3. ใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการทำงานกับรอกและสลิงด้านความปลอดภัยในงานบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้า

PGS- OC01-7-S02-03.03 223890

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

12.2     ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า สาเหตุและการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า และอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้า และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น รวมถึงอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลจากไฟฟ้า

12.2     ความรู้พื้นฐานและหลักปฏิบัติเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง สาเหตุและการป้องกันอันตรายจากการทำงานบนที่สูง อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและอุปกรณ์เฉพาะ การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอันตรายจากที่สูงและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)

1.    ทักษะด้านการใช้เครื่องมือทางไฟฟ้า 

2.    ทักษะด้านการใช้เครื่องมือด้านความปลอดภัย (PPE) ที่เกี่ยวข้อง 

ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)

1.    ทักษะด้านการสื่อสาร

2.    ทักษะด้านการสังเกต เพื่อสังเกตความผิดปกติจากการทำงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    กฎหมายความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง

2.    สัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความปลอดภัย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2.    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี) 

4.    หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

5.    หลักฐานการอบรมหลักสูตรความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า

   (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1.    หลักฐานการศึกษา

2.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

3.    แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

4.    แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

5.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (PortFolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

   (ค) คำแนะนำในการประเมิน

ประเมินเข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน check-list รายการ

   (ง) วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ

2.    พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะความปลอดภัยในการดำเนินการบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้า

   (ก) คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องอธิบาย หลักการปฏิบัติงานบำรุงรักษาได้อย่างปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า การขึ้นที่สูง การใช้รอกสลิงได้อย่างถูกต้อง

   (ข) คำอธิบายรายละเอียด

วิธีประเมิน ต้องคำนึงถึง หลักการปฏิบัติงานบำรุงรักษาได้อย่างปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า การขึ้นที่สูง การใช้รอกสลิงได้อย่างถูกต้อง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1   เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของงานบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป

   (1)   ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของงานบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป

   (2)   ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของงานบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป 

   (3)   การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของงานบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป โดยมีแฟ้มสะสมผลงานประกอบการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ