หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

นำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาไปสู่การปฏิบัติ (Implement educational quality improvement plan of school)

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-EOBT-406B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ นำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาไปสู่การปฏิบัติ (Implement educational quality improvement plan of school)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO    1345 ผู้จัดการด้านการศึกษา 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถนำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาไปสู่การปฏิบัติและกำกับติดตามการนำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาไปปฏิบัติ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา สาขาบริการการศึกษา อาชีพผู้บริหารสถานศึกษา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
        - พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562        - พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554        - ระเบียบว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550        - นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ        - แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
4010201 แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาไปสู่การปฏิบัติ 1. จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาโดยใช้แนวทางที่กำหนด 4010201.01 222189
4010201 แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาไปสู่การปฏิบัติ 2. กระจายนโยบายและแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาลงสู่การปฏิบัติโดยใช้แนวทางที่กำหนด 4010201.02 222190
4010201 แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาไปสู่การปฏิบัติ 3. สื่อสารนโยบายและแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้บุคลากรในสถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบโดยใช้แนวทางที่กำหนด 4010201.03 222191
4010202 กำกับติดตามการนำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาน ศึกษาไปปฏิบัติ 1. ติดตามผลการนำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาไปปฏิบัติโดยใช้แนวทางที่กำหนด 4010202.01 222192
4010202 กำกับติดตามการนำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาน ศึกษาไปปฏิบัติ 2. ประเมินผลการนำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาไปปฏิบัติโดยใช้แนวทางที่กำหนด 4010202.02 222193
4010202 กำกับติดตามการนำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาน ศึกษาไปปฏิบัติ 3. ทบทวนและปรับปรุงการปฏิบัติงานของสถานศึกษาที่ยังไม่สอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามนโยบายโดยใช้แนวทางที่กำหนด 4010202.03 222194

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

        1. ทักษะการคิดวิเคราะห์

        2. ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ

        3. ทักษะการติดตาม และประเมินผลการเปลี่ยนแปลง

        4. ทักษะการแก้ปัญหาและตัดสินใจ

        5. ทักษะการหาและวิเคราะห์ข้อมูล เนื้อหา ช่องทาง และกลุ่มเป้าหมาย และกำหนดเป้าหมายและแผนงานการนำเสนอ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. ความรู้ความเข้าใจ ด้านการบริหารโครงการ

    2. ความรู้ความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจขององค์การ นโยบาย และแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาองค์การ และการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ

    3. ความรู้ความสามารถในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้การบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจขององค์การและหน่วยงาน

    4. ความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์ ความสามารถในการเก็บวิเคราะห์ข้อมูล และประเมิน ผล

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 

    1) เอกสารแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งประกอบด้วยแผนงาน โครงการ และกิจกรรม

    2) เอกสารแสดงการสื่อสารนโยบายและแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้บุคลากรในสถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ เช่น หนังสือเวียน ประกาศ ระบบรายงานสารสนเทศ

    3) เอกสารประเมินผลการนำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาไปปฏิบัติ 

    4) เอกสารทบทวนและปรับปรุงการปฏิบัติงานของสถานศึกษาที่ยังไม่สอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    เอกสารที่แสดงความรู้ของผู้สมัครว่ามีส่วนร่วมในการร่างแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา กระจายนโยบายและแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาลงสู่การปฏิบัติ สื่อสารและแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้บุคลากรในสถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ ติดตามผลการนำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาไปปฏิบัติ ประเมินผลการนำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาไปปฏิบัติ ทบทวนและปรับปรุงการปฏิบัติงานของสถานศึกษาที่ยังไม่สอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยใช้แนวทางที่กำหนด อาทิ บันทึกการประชุมที่บันทึกการแสดงความรู้ ความคิดเห็นของผู้สมัครเอกสารที่ใช้สื่อสารในองค์กร เอกสารการประเมินที่ใช้ในองค์กร

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    เจ้าหน้าที่ตรวจสอบร่องรอยจากเอกสารโดยพิจารณาเอกสารตามข้อ (ก) และ (ข) ประกอบกัน หาหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า

    - แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ถูกจัดทำโดยใช้แนวทางที่กำหนดหรือไม่

        - การกระจายนโยบายและแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาลงสู่การปฏิบัติ ถูกจัดทำโดยใช้แนวทางที่กำหนดหรือไม่

        - การสื่อสารและนโยบายและแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้บุคลากรในสถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ ถูกจัดทำโดยใช้แนวทางที่กำหนดหรือไม่

        - การติดตามผลการนำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาไปปฏิบัติ ถูกจัดทำโดยใช้แนวทางที่กำหนดหรือไม่

        - การประเมินผลการนำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาไปปฏิบัติ ถูกจัดทำโดยใช้แนวทางที่กำหนดหรือไม่

        - การทบทวนและปรับปรุงการปฏิบัติงานของสถานศึกษาที่ยังไม่สอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา 

        - ผู้ประเมินต้องตรวจสอบว่า ผู้สมัครมีส่วนร่วมแสดงความแสดงความคิดเห็น สั่งการ กำกับติดตามหรือตรวจสอบหรือไม่ 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

การประเมินเกณฑ์การปฏิบัติงาน Performance Criteria ตามหลักการเครื่องมือต่อไปนี้

            1) เครื่องมือจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา และเครื่องมือกำกับติดตาม ประเมินผลการนำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาไปปฏิบัติ ได้แก่

                Balanced Scorecard ของ Robert S. Kaplan และ David P. Norton

              Balanced Scorecard คือ เครื่องมือที่ช่วยในการประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรโดยมุ่งเน้นการวัดผลทั้งด้านการเงินและด้านอื่น ๆ ที่มีผลต่อความสำเร็จขององค์กร เช่น ความพึงพอใจของลูกค้า กระบวนการภายใน การเรียนรู้ การเติบโต ซึ่งจะช่วยให้การวัดผลเป็นไปอย่างครอบคลุมและสมดุลที่สุด

            2) เครื่องมือกระจายนโยบายและแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาลงสู่การปฏิบัติ ได้แก่

                Policy Deployment Matrix (เมทริกซ์การนำนโยบายไปใช้) คือ เมทริกซ์นี้จะแสดงให้เห็นว่าลำดับความสำคัญและเป้าหมายที่แตกต่างกันมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร เป้าหมายประจำปีเพียงรายการเดียวอาจต้องใช้แนวทางที่ประสานงานกันโดยมีลำดับความสำคัญในการปรับปรุงหลายรายการ เมทริกซ์การนำนโยบายไปใช้จะแสดงให้เห็นภาพรวมว่าลำดับความสำคัญเหล่านั้นเชื่อมโยงกันอย่างไร

                ประโยชน์อีกประการหนึ่งของเมทริกซ์การนำนโยบายไปใช้ คือสามารถเชื่อมโยงองค์กรต่างๆ เข้าด้วยกันได้ ความก้าวหน้าใน 1 ปี ลำดับความสำคัญของการปรับปรุง และเป้าหมายการปรับปรุงทั้งหมดเชื่อมโยงกับองค์กรรองที่องค์กรดังกล่าวสมัครเข้าร่วม ซึ่งจากนั้นองค์กรเหล่านี้จะกำหนดลำดับความสำคัญของการปรับปรุงของตนเองเพื่อสนับสนุนเมทริกซ์การนำนโยบายไปใช้ในระดับสูง

            3) เครื่องมือทบทวนและปรับปรุงการปฏิบัติงานของสถานศึกษาที่ยังไม่สอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ได้แก่

                Policy Evaluation Matrix (เมทริกซ์การวิเคราะห์นโยบาย) เป็นเครื่องมือวิจัยนโยบายที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งช่วยให้นักวิจัยสามารถระบุความบิดเบือนและความไม่มีประสิทธิภาพของนโยบาย และเสนอแนะการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่จำเป็นเพื่อให้เกิดผลกำไรในอุตสาหกรรม

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เทียบโอนประสบการณ์



ยินดีต้อนรับ