หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการความเสี่ยงหรือแผนเผชิญเหตุของสถานศึกษา (Manage risks or emergency response plans of school)

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-DOGC-381B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการความเสี่ยงหรือแผนเผชิญเหตุของสถานศึกษา (Manage risks or emergency response plans of school)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO    1345 ผู้จัดการด้านการศึกษา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงหรือแผนเผชิญเหตุ ดำเนินการบริหารความเสี่ยงหรือแผนเผชิญเหตุตามแผนบริหารความเสี่ยงที่กำหนดไว้ และประเมินและควบคุมความเสี่ยง หรือแผนเผชิญเหตุ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา สาขาบริการการศึกษา อาชีพผู้บริหารสถานศึกษา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562- พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554- ระเบียบว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550- นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ- แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570- เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พ.ศ. 2562- คู่มือการบริหารความเสี่ยงสํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย- มาตรฐานบริหารความเสี่ยง COSO (Committee of Sponsoring Organization of the Treadway Commission) 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1020201 จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงหรือแผนเผชิญเหตุ 1. วิเคราะห์/ระบุความเสี่ยงหรือการเผชิญเหตุของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามแนวทางที่กำหนด 1020201.01 220151
1020201 จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงหรือแผนเผชิญเหตุ 2. กำหนดเป้าหมายและดัชนีชี้วัดผลสำเร็จของการบริหารความเสี่ยงหรือแผนเผชิญเหตุ 1020201.02 220152
1020201 จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงหรือแผนเผชิญเหตุ 3. จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงหรือการเผชิญเหตุตามแนวทางที่กำหนด 1020201.03 220153
1020202 ดำเนินการบริหารความเสี่ยงตามแผนบริหารความเสี่ยงหรือ แผนเผชิญเหตุที่กำหนดไว้ 1. จัดทำแผนปฏิบัติการจัดการความเสี่ยงหรือแนวปฏิบัติแผนเผชิญเหตุภายในสถานศึกษาที่สอดคล้องกับแผนบริหารความเสี่ยงหรือแนวปฏิบัติแผนเผชิญเหตุที่กำหนด 1020202.01 220154
1020202 ดำเนินการบริหารความเสี่ยงตามแผนบริหารความเสี่ยงหรือ แผนเผชิญเหตุที่กำหนดไว้ 2. มอบหมายบุคลากรและหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินการ ตามแผนงานและโครงการที่กำหนด 1020202.02 220155
1020202 ดำเนินการบริหารความเสี่ยงตามแผนบริหารความเสี่ยงหรือ แผนเผชิญเหตุที่กำหนดไว้ 3. กำกับติดตามแผนงานและโครงการจัดการความเสี่ยงหรือการดำเนินการเผชิญเหตุตามแผนของสถานศึกษาตามแนวทางที่กำหนด  1020202.03 220156
1020203 ประเมินและควบคุมความเสี่ยงหรือแผนเผชิญเหตุ 1. วัดผลการดำเนินงานตามแผนงานและโครงการจัดการความเสี่ยงหรือการเผชิญเหตุของสถานศึกษาตามแนวทางที่กำหนด 1020203.01 220157
1020203 ประเมินและควบคุมความเสี่ยงหรือแผนเผชิญเหตุ 2. ประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงานและโครงการจัดการความเสี่ยงหรือการเผชิญเหตุของสถานศึกษา 1020203.02 220158
1020203 ประเมินและควบคุมความเสี่ยงหรือแผนเผชิญเหตุ 3. ปรับปรุงและพัฒนาแผนบริหารความเสี่ยงหรือการเผชิญเหตุของสถานศึกษาตามผลการประเมิน 1020203.03 220159

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการคิดวิเคราะห์

2.    ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ

3.    ทักษะการติดตาม และประเมินผลการเปลี่ยนแปลง

4.    ทักษะการแก้ปัญหาและตัดสินใจ

5.    ทักษะการหาและวิเคราะห์ข้อมูล เนื้อหา ช่องทาง และกลุ่มเป้าหมาย และกำหนดเป้าหมายและแผนงานการนำเสนอ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้ความเข้าใจในด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลง ความรู้ความเข้าใจด้านการบริหารโครงการ

2.    ความรู้ความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจขององค์การ นโยบาย และกลยุทธ์องค์การ   และการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ

3.    ความรู้ความสามารถในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้การบริหารทรัพยากรบุคคล  เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจขององค์การและหน่วยงาน

4.    ความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์ ความสามารถในการเก็บวิเคราะห์ข้อมูล  และประเมินผล

5.    ความรู้เกี่ยวกับระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐาน  นอกระบบ

6.    ความรู้เกี่ยวกับระบบประกันคุณภาพการศึกษาของประเทศไทย

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 

    - แผนการบริหารจัดการความเสี่ยงหรือแผนเผชิญเหตุของสถานศึกษา

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          - ระบบการบริหารความเสี่ยงที่ถูกจัดทำขึ้นตามแนวทางแนวทางมาตรฐานบริหารความเสี่ยง COSO (Committee of Sponsoring Organization of the Treadway Commission) ได้แก่ การวิเคราะห์ความเสี่ยง แผนความเสี่ยง โครงการจัดการความเสี่ยง การประเมินโครงการจัดการความเสี่ยง ที่มีชื่อของผู้สมัครมีส่วนร่วมในการจัดทำเอกสารนั้น

    - การจัดทำแผนเผชิญเหตุในสถานศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     ผู้ประเมินตรวจสอบร่องรอยจากเอกสารโดยพิจารณาเอกสารตามข้อ (ก.) และ (ข.) ประกอบกัน หาหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า การเผชิญเหตุ แนวคิดดำเนินการเผชิญเหตุ บทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

     - เอกสารความเสี่ยงถูกจัดทำขึ้นตามแนวทางมาตรฐานบริหารความเสี่ยง COSO (Committee of Sponsoring Organization of the Treadway Commission) ผู้ประเมินตรวจสอบว่าผู้สมัครมีส่วนร่วมในการจัดทำเอกสารคุณภาพหรือไม่ เช่น การลงนามเป็นผู้ร่วมสร้างเอกสารหรือปรับปรุงเอกสาร

    - การจัดทำแผนเผชิญเหตุในสถานศึกษา

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

    การประเมินเกณฑ์การปฏิบัติงาน Performance Criteria ตามหลักการเครื่องมือต่อไปนี้

    - แนวทางการบริหารความเสี่ยง COSO (Committee of Sponsoring Organization of the Treadway Commission)

    - การจัดทำแผนเผชิญเหตุในสถานศึกษา

        รายละเอียดของเครื่องมือเชิงการจัดการความเสี่ยงมีดังต่อไปนี้

     - แนวทางการบริหารความเสี่ยง COSO (Committee of Sponsoring Organization of the Treadway Commission) ประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 ประการ ซึ่งครอบคลุมแนวทางการกำหนดนโยบายการบริหารงาน การดำเนินงาน และการบริหารความเสี่ยง ดังนี้

        1. สภาพแวดล้อมภายในองค์กร (Internal Environment)

        สภาพแวดล้อมขององค์กรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ในการกำหนดกรอบบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วยปัจจัยหลายประการ เช่น วัฒนธรรมองค์กร นโยบายของผู้บริหาร แนวทางการปฏิบัติงานบุคลากร กระบวนการทำงาน ระบบสารสนเทศ ระเบียบ เป็นต้น  สภาพแวดล้อมภายในองค์กรประกอบเป็นพื้นฐานสำคัญในการกำหนดทิศทางของกรอบการบริหารความเสี่ยงขององค์กi

        2. การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective Setting) 

                      องค์กรต้องพิจารณากำหนดวัตถุประสงค์ในการบริหารความเสี่ยง ให้มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์และความเสี่ยงที่องค์กรยอมรับได้ เพื่อวางเป้าหมายในการบริหารความเสี่ยงขององค์กรได้อย่างชัดเจนและเหมาะสม

        3. การบ่งชี้เหตุการณ์ (Event Identification)

                     เป็นการรวบรวมเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นกับหน่วยงาน ทั้งในส่วนของปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากภายในและภายนอกองค์กร เช่น นโยบายบริหารงาน บุคลากร การปฏิบัติงาน การเงิน ระบบสารสนเทศ ระเบียบ กฎหมาย ระบบบัญชี ภาษีอากร ทั้งนี้เพื่อทำความเข้าใจต่อเหตุการณ์และสถานการณ์นั้น เพื่อให้ผู้บริหารสามารถพิจารณากำหนดแนวทางและนโยบายในการจัดการกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี

        4. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)

                      การประเมินความเสี่ยงเป็นการจำแนกและพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงที่มีอยู่ โดยการประเมินจากโอกาสที่จะเกิด (Likelihood) และผลกระทบ (Impact) โดยสามารถประเมินความเสี่ยงได้ทั้งจากปัจจัยความเสี่ยงภายนอกและปัจจัยความเสี่ยงภายในองค์กร

        5. การตอบสนองความเสี่ยง (Risk Response)     

                      เป็นการดำเนินการหลังจากที่องค์กรสามารถบ่งชี้ความเสี่ยงขององค์กร และประเมินความสำคัญของความเสี่ยงแล้ว โดยจะต้องนำความเสี่ยงไปดำเนินการตอบสนองด้วยวิธีการที่เหมาะสม เพื่อลดความสูญเสียหรือโอกาสที่จะเกิดผลกระทบให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้





        6. กิจกรรมการควบคุม (Control Activities) 

            กำหนดกิจกรรมและการปฏิบัติต่างๆ ที่กระทำเพื่อลดความเสี่ยง และทำให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร เช่น การกำหนดกระบวนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความเสี่ยงให้กับบุคลากรภายในองค์กร เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจว่าจะสามารถจัดการกับความเสี่ยงนั้นได้อย่างถูกต้องและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

        7. สารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication)

                      องค์กรจะต้องมีระบบสารสนเทศและการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำไปพิจารณาดำเนินการบริหารความเสี่ยงให้เป็นไปตามกรอบ และขั้นตอนการปฏิบัติที่องค์กรกำหนด

        8. การติดตามประเมินผล (Monitoring) 

            องค์กรจะต้องมีการติดตามผล  เพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินการว่ามีความเหมาะสมและสามารถจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่

     - การจัดทำแผนเผชิญเหตุ ประกอบด้วย หลักการ แนวปฏิบัติสถานการณ์ ความไม่ปลอดภัยในสถานศึกษา การเผชิญเหตุ แนวดำเนินการเผชิญเหตุ บทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เทียบโอนประสบการณ์



ยินดีต้อนรับ