หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

มีความเป็นพลเมืองโลก (Be global citizen)

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-MVMD-385B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ มีความเป็นพลเมืองโลก (Be global citizen)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO    1345 ผู้จัดการด้านการศึกษา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถประยุกต์ใช้ภาษาและวัฒนธรรมสากลที่หลากหลาย ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียม และมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบต่อสังคม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา สาขาบริการการศึกษา อาชีพผู้บริหารสถานศึกษา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562- พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554- ระเบียบว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550- นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ- แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570- ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2561 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562- ประกาศคณะกรรมการคุรุสภาเรื่อง สาระความรู้ สมรรถนะและประสบการณ์วิชาชีพของ ผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ ตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562  

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    ทักษะการคิดวิเคราะห์2.    ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ3.    ทักษะการติดตาม และประเมินผลการเปลี่ยนแปลง4.    ทักษะการแก้ปัญหาและตัดสินใจ5.    ทักษะการติดต่อสื่อสาร6.    ทักษะการใช้ภาษาสากล7.    ทักษะการควบคุมอารมณ์8.    ทักษะการใช้เทคโนโลยี 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1020601 ประยุกต์ใช้ภาษาและวัฒนธรรมสากลที่หลากหลาย 1. ระบุแนวทางการพัฒนาด้านภาษาอื่น ๆ ได้อย่างน้อย 1 ภาษา 1020601.01 222009
1020601 ประยุกต์ใช้ภาษาและวัฒนธรรมสากลที่หลากหลาย 2. ระบุแนวทางการเพิ่มคุณค่าของวัฒนธรรมสากลกับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้ 1020601.02 222010
1020601 ประยุกต์ใช้ภาษาและวัฒนธรรมสากลที่หลากหลาย 3. สามารถยกตัวอย่างการจัดกิจกรรมด้านวัฒนธรรมสัมพันธ์ที่หลากหลายได้ 1020601.03 222011
1020602 ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียม 1. ระบุแนวทางแห่งการเคารพสิทธิมนุษยชนได้ 1020602.01 222012
1020602 ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียม 2. สามารถยกตัวอย่างของการละเมิดสิทธิมนุษยชนในระดับสากลได้   1020602.02 222013
1020603 มีส่วนร่วมในความรับผิดชอบต่อสังคม 1. ระบุแนวทางการเคารพและปฏิบัติตามสิทธิ หน้าที่ของพลเมืองโลก 1020603.01 222014
1020603 มีส่วนร่วมในความรับผิดชอบต่อสังคม 2. สามารถยกตัวอย่างกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม 1020603.02 222015
1020603 มีส่วนร่วมในความรับผิดชอบต่อสังคม 3. สามารถยกตัวอย่างกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในสังคม 1020603.03 222016

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)



 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการคิดวิเคราะห์

2.    ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ

3.    ทักษะการติดตาม และประเมินผลการเปลี่ยนแปลง

4.    ทักษะการแก้ปัญหาและตัดสินใจ

5.    ทักษะการติดต่อสื่อสาร

6.    ทักษะการใช้ภาษาสากล

7.    ทักษะการควบคุมอารมณ์

8.    ทักษะการใช้เทคโนโลยี

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้ความเข้าใจในบริบทของสังคมโลก

2.    ความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่าง

3.    ความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม

4.    ความรู้ความเข้าใจในด้านจิตวิทยา

5.    ความรู้ความเข้าใจในสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของพลเมืองโลก

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1) หลักฐานเชิงประจักษ์ เช่น ภาพถ่ายสถานที่ นิทรรศการ กิจกรรม การจัดฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับประเด็นความเป็นพลเมืองโลก

    2) เอกสารการเข้าร่วมการสัมมนา/อบรมที่เกี่ยวข้อง เช่น เรื่องสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียม (ถ้ามี)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

N/A

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ภาษาและวัฒนธรรมสากลที่หลากหลายสามารถแบ่งเป็นสมรรถนะย่อยได้ดังนี้

    1) ภาษาสากลครอบคลุมถึงภาษาของกลุ่มประชาคมอาเซียน และภาษาสากลอื่น ๆ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเยอรมัน ฯลฯ 

    2) วัฒนธรรมสากล ครอบคลุมถึงวัฒนธรรมของกลุ่มประชาคมอาเซียน และวัฒนธรรมของประเทศอื่น ๆ ที่สัมพันธ์เกี่ยวข้อง

    3) การยึดถือสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียม สามารถแบ่งเป็นสมรรถนะย่อยได้ดังนี้

        3.1) สิทธิมนุษยชน ครอบคลุมถึงสิทธิและเสรีภาพบุคคล ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการละเมิดสิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียม ครอบคลุมถึงการเน้นหลักความเท่าเทียม ได้รับการปฏิบัติหรือโอกาสเท่ากันหมด

        3.2) การมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบต่อสังคมสามารถแบ่งเป็นสมรรถนะย่อยได้ดังนี้

              - การมีส่วนร่วม ครอบคลุมถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ภายในสถานศึกษา สังคมไทย และสังคมภายนอกประเทศ  

          - การรับผิดชอบ ครอบคลุมถึงการรับผิดชอบต่อการการดำเนินการของตนเอง   สถานศึกษาที่มีต่อสังคมภายในประเทศและต่างประเทศ

    ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการเป็นพลเมืองโลก คือ แสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะสากลในสิ่งต่อไปนี้ ได้แก่ การใช้ภาษาสากล การยอมรับวัฒนธรรมที่หลากหลาย การยึดถือสันติภาพและสิทธิมนุษยชน และการมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคม 

            - ภาษาสากลทำให้บุคคลใช้ภาษาอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากภาษาไทยได้ ทำให้ช่วยเพิ่มพูนและพัฒนาสมรรถนะได้กว้างไกลขึ้น และช่วยส่งเสริมให้บุคคลมีสมรรถนะในอาชีพในระดับสากล เพื่อความ ก้าวหน้าในอาชีพของตน

            - วัฒนธรรมสากล ทำให้บุคคลเรียนรู้และเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของบุคคล สังคม ชาติ และนานาชาติ ช่วยให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพที่  สอดรับกับวัฒนธรรม ช่วยเพิ่มพูนช่องทางในการประกอบวิชาชีพมากยิ่งขึ้น 

            - สิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียม ทำให้บุคคล องค์กร อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีความเป็นอยู่ที่สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และได้รับโอกาสในการพัฒนาตัวเองอย่างเต็มศักยภาพของตนทำงานร่วมกัน แบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกันทั้งทางอาชีพและการแก้ไขปัญหาทั้งระดับท้องถิ่น ต่างประเทศ และนานาชาติ 

            - ความรับผิดชอบต่อสังคม ทำให้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมทั้งในระดับประเทศและในระดับสากล คือเคารพและปฏิบัติตามสิทธิที่มีโดยไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน พร้อมทั้งมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจให้ดีขึ้นและช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ฯลฯ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เทียบโอนประสบการณ์ 



ยินดีต้อนรับ