หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บูรณาการองค์ความรู้ที่เป็นสหวิทยาการกับการบริหารสถานศึกษา (Integrate interdisciplinary knowledge with school management)

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-AZMX-397B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บูรณาการองค์ความรู้ที่เป็นสหวิทยาการกับการบริหารสถานศึกษา (Integrate interdisciplinary knowledge with school management)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO    1345 ผู้จัดการด้านการศึกษา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถวิเคราะห์องค์ความรู้ในสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษา และบูรณาการองค์ความรู้ในสาขาต่าง ๆ มาใช้ในการบริหารสถานศึกษา

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา สาขาบริการการศึกษา อาชีพผู้บริหารสถานศึกษา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562- พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554- ระเบียบว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550- นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ- แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
2040301 วิเคราะห์องค์ความรู้ในสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษา 1. ระบุองค์ความรู้ที่จำเป็นในสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษาตามหลักการที่กำหนด 2040301.01 222113
2040301 วิเคราะห์องค์ความรู้ในสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษา 2. วิเคราะห์สถานศึกษาว่ามีองค์ความรู้จำเป็นต่อการบริหารสถานศึกษาหรือไม่  2040301.02 222114
2040301 วิเคราะห์องค์ความรู้ในสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษา 3. ระบุแหล่งที่มาขององค์ความรู้ในสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษา  2040301.03 222115
2040302 บูรณาการองค์ความรู้ในสาขาต่าง ๆ มาใช้ในการบริหารสถานศึกษา  1. รวบรวมและจัดเก็บองค์ความรู้ในสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษา 2040302.01 222116
2040302 บูรณาการองค์ความรู้ในสาขาต่าง ๆ มาใช้ในการบริหารสถานศึกษา  2. เชื่อมโยงองค์ความรู้ที่จำเป็นในสาขาต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ในการบริหารสถานศึกษา  2040302.02 222117
2040302 บูรณาการองค์ความรู้ในสาขาต่าง ๆ มาใช้ในการบริหารสถานศึกษา  3. นำความรู้ที่บูรณาการมาประยุกต์ใช้ในการบริหารสถานศึกษา  2040302.03 222118

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ

2.    ทักษะการวางแผนงาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์องค์ความรู้

2.    ความรู้เกี่ยวกับการบูรณาการองค์ความรู้

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    เอกสารที่แสดงให้เห็นถึงการบูรณาการองค์ความรู้ในการบริหารสถานศึกษา

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ผลการสัมภาษณ์

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

1) กรอบแนวคิดของแมคคินซีย (McKinsey’s 7S Model) ได้ถูกนำมาใช้ในการบริหารเป็นหลักสากล ประกอบไปด้วย

                1. Structure (โครงสร้างองค์กร) หมายถึง ลักษณะโครงสร้างขององค์การที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ รวมถึงขนาดการควบคุม การรวมอำนาจ       และการกระจายอำนาจของผู้บริหาร การแบ่งโครงสร้างงานตามหน้าที่ ตามผลิตภัณฑ์ ตามลูกค้า ตามภูมิภาคได้อย่างเหมาะสม โครงสร้างองค์กรมีความยืดหยุ่นมากน้อยเพียงไร ถ้าไม่ยืดหยุ่นหรือมีความยืดหยุ่นน้อย โอกาสความสำเร็จก็มีน้อย

                2. Strategy (กลยุทธ์) หมายถึง การวางแผนเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การพิจารณาจุดแข็ง จุดอ่อนของกิจการ โดยพิจารณาว่าองค์กรมีการกำหนดกลยุทธ์ที่ชัดเจนหรือไม่ และกลยุทธ์นั้นกระจายออกไปใน sector ต่าง ๆ หรือไม่ 

                3. Staff (การจัดการบุคคลเข้าทำงาน) หมายถึง การคัดเลือกบุคลากรที่มีความสามารถ การพัฒนาบุคคลากรอย่างต่อเนื่อง พนักงานมีคุณภาพไหม มาโดยระบบเส้นสายหรือไม่

            4. (Managerial) (รูปแบบ) หมายถึง การจัดการที่มีรูปแบบวิธีที่เหมาะสมกับลักษณะองค์การ เช่น การสั่งการ การควบคุม การจูงใจ สะท้อนถึงวัฒนธรรมองค์การ สไตล์การบริหารเป็นอย่างไร 

            5. System (ระบบ) หมายถึง กระบวนการและลำดับขั้นการปฎิบัติงานทุกอย่างที่เป็นระบบที่ต่อเนื่องสอดคล้องประสานกันทุกระดับ การวางระบบงาน

            6. Shared value (ค่านิยมร่วม) หมายถึง ค่านิยมร่วมกันระหว่างคนในองค์การ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความเชื่อร่วมกันในหน่วยงาน

            7. Skill (ทักษะ) หมายถึง ความโดดเด่น ความเชี่ยวชาญในการผลิต การขาย               การให้บริการ พนักงานมีทักษะในการทำงานหรือไม่ (อะไรความแตกต่างระหว่าง knowledge (รู้เฉยๆ) กับ skill (รู้แล้วทำให้คนอื่นเชื่อด้วย และนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ในการทำงานได้ด้วย)

2) การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า Value Chain Model

        การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าเป็นวิธีการประเมินแต่ละกิจกรรมในห่วงโซ่คุณค่าขององค์กร เพื่อทำความเข้าใจว่าโอกาสในการปรับปรุงอยู่ที่ใด การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าจะช่วยให้องค์กรพิจารณาว่าแต่ละขั้นตอนเพิ่มหรือลดมูลค่าของผลิตภัณฑ์หรือบริการขั้นสุดท้ายขององค์กรอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้ได้เปรียบทางการแข่งขันในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง

3) กำหนดนโยบายด้วย EFAS และ IFAS TOWS Matrix

        - หลักการ EFAS คือ ตารางเพื่อการจัดลำดับความสำคัญหรือตารางสรุปปัจจัยภายนอก

        - หลักการ IFAS TOWS Matrix คือ ตารางการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงกลยุทธ์ภายในองค์กร

        คัดเลือกนโยบายด้วย Decision Table

        - หลักการ Decision Table เป็นเครื่องมือที่ใช้แสดงเงื่อนไขการตัดสินใจ และการเลือกการทำงานหรือกระทำกิจกรรมใต้เหตุการณ์ของเงื่อนไขที่ระบุ

กำหนด KPI ด้วย Balanced Scorecard

        - Balanced Scorecard คือ ระบบการบริหารงานและประเมินผลทั่วทั้งองค์กร เป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ (vision) และแผนกลยุทธ์ (strategic plan) แล้วแปลผลลงไปสู่ทุกจุดขององค์กรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของแต่ละฝ่ายงานและแต่ละคน

4) กระจายนโยบายและกลยุทธ์ของสถานศึกษาลงสู่การปฏิบัติด้วย Policy Deployment Matrix

        - Policy Deployment Matrix คือ ระบบเพื่อมุ่งให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร โดยส่งเสริมและเชื่อมโยง ศักยภาพ ความสามารถขององค์กรให้เกิดสมรรถนะที่สูงขึ้นด้วยการกระจายนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างมีเอกภาพ ส่งผลต่อการใช้ทรัพยากรหลักอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยอาศัยแนวคิดด้านคุณภาพและวงจร PDCA ดังนั้น HoshinKanri จึงเป็นระบบการบริหารนโยบายที่คำนึงถึงทิศทาง (Direction) เป้าหมาย (Target) และวิธีการ (Means) ไปพร้อม ๆ กัน

5) เปรียบเทียบและปรับปรุงด้วยหลักการ PDCA

        - PDCA คือ วงจรการบริหารงานคุณภาพ ประกอบด้วย Plan Do Check Act

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เทียบโอนประสบการณ์



ยินดีต้อนรับ