หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำนโยบายและแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา (Develop policies and plans for educational quality improvement of school)

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-NZRG-378B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำนโยบายและแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา (Develop policies and plans for educational quality improvement of school)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 1345 ผู้จัดการด้านการศึกษา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของสถานศึกษาและจัดทำนโยบายและแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพ แวดล้อมภายในภายนอก กฎหมายและนโยบายภาครัฐ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา สาขาบริการการศึกษา อาชีพผู้บริหารสถานศึกษา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562- พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554- ระเบียบว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550- นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ- แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1010101 วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของสถานศึกษา 1. ระบุปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน ภายนอกจุดอ่อนและจุดแข็งของสถานศึกษาตามหลักการที่กำหนด 1010101.01 220038
1010101 วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของสถานศึกษา 2. ระบุปัจจัยโอกาสและปัจจัย ภัยคุกคามที่มีผลต่อสถานศึกษาตามหลักการที่กำหนด  1010101.02 220039
1010101 วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของสถานศึกษา 3. ระบุประเด็นกฎหมายและนโยบายของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา 1010101.03 220040
1010102 จัดทำนโยบาย และแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายในภายนอก กฎหมายและนโยบายภาครัฐ 1. กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้มีความสอดคล้องสภาพแวดล้อมภายในภายนอก กฎหมายและนโยบายภาครัฐตามหลักการที่กำหนด 1010102.01 220041
1010102 จัดทำนโยบาย และแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายในภายนอก กฎหมายและนโยบายภาครัฐ 2. ค้นหาทางเลือกที่ดีที่สุดภายใต้สถานการณ์ที่กำหนดโดยใช้หลักการที่กำหนด 1010102.02 220042
1010102 จัดทำนโยบาย และแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายในภายนอก กฎหมายและนโยบายภาครัฐ 3. กำหนด ตัวชี้วัด (KPI) โดยใช้หลักการที่กำหนด 1010102.03 220043

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการคิดวิเคราะห์

2.    ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ

3.    ทักษะการติดตาม และประเมินผลการเปลี่ยนแปลง

4.    ทักษะการแก้ปัญหาและตัดสินใจ

5.    ทักษะการหาและวิเคราะห์ข้อมูล เนื้อหา ช่องทาง และกลุ่มเป้าหมาย และกำหนดเป้าหมายและแผนงานการนำเสนอ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้ความเข้าใจในด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลง ความรู้ความเข้าใจด้านการบริหารโครงการ

2.    ความรู้ความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจขององค์การ นโยบาย และแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาองค์การ และการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ

3.    ความรู้ความสามารถในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้การบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจขององค์การและหน่วยงาน

4.    ความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์ ความสามารถในการเก็บวิเคราะห์ข้อมูล และประเมินผล

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

        (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

            เอกสารระบุปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน ภายนอก จุดอ่อนและจุดแข็งของสถานศึกษา ปัจจัยโอกาสและภัยคุกคามที่มีผลต่อสถานศึกษา ตามหลักการที่กำหนด (เช่น บันทึกการประชุม หรือแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา) ประเด็นกฎหมายและนโยบายของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา

        (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

            เอกสารที่แสดงความรู้ของผู้สมัครว่ามีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ระบุปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน ภายนอก จุดอ่อนและจุดแข็งของสถานศึกษา ระบุปัจจัยโอกาสและปัจจัยภัยคุกคามที่มีผลต่อสถานศึกษาตามหลักการที่กำหนด และเอกสารระบุประเด็นกฎหมายและนโยบายของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา การจัดทำนโยบายของสถานศึกษา ปรากฏนโยบายและแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายใน ภายนอก กฎหมายและนโยบายภาครัฐ การค้นหาทางเลือกที่ดีที่สุดภายใต้สถานการณ์ที่กำหนด รวมถึงกำหนดตัวชี้วัด (KPI) ของสถานศึกษาตามหลักการที่กำหนด อาทิ บันทึกการประชุม ที่บันทึก    การแสดงความรู้ ความคิดเห็นของผู้สมัครที่เป็นประโยชน์ต่อข้อสรุปไว้อย่างชัดเจน

        (ค) คำแนะนำในการประเมิน

            - เจ้าหน้าที่ตรวจสอบร่องรอยจากเอกสารโดยพิจารณาเอกสารตามข้อ (ก) และ (ข) ประกอบกัน หาหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า

            - ปัจจัยสภาพแวดล้อม ภายใน ภายนอก จุดอ่อนและจุดแข็งของสถานศึกษา ปัจจัยโอกาสและปัจจัยภัยคุกคามที่มีผลต่อสถานศึกษา ถูกระบุตามหลักการที่กำหนดไว้หรือไม่

            - ประเด็นกฎหมายและนโยบายของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาที่ระบุไว้เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่ 

            - นโยบายและแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาที่ปรากฏนั้นสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายใน ภายนอกรวมถึงกฎหมายและนโยบายภาครัฐที่ระบุไว้หรือไม่

            - ตัวชี้วัด (KPI) ของสถานศึกษา ถูกระบุไว้อย่างชัดเจนและตามหลักการที่กำหนดหรือไม่

            - การตรวจสอบกระบวนการวิเคราะห์ทางเลือกที่ดีที่สุดภายใต้สถานการณ์ที่กำหนดได้วิเคราะห์ตามหลักการที่กำหนดหรือไม่

            - ผู้ประเมินต้องตรวจสอบว่า ผู้สมัครมีส่วนร่วมแสดงความแสดงความคิดเห็น มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ที่ส่งผลต่อข้อสรุปต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจนหรือไม่ เช่น การออกความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์ต่าง ๆ และความคิดเห็นนั้นถูกนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของข้อสรุปเชิงนโยบายของสถานศึกษา เป็นความคิดเห็นจากผู้สมัครหรือไม่

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

                1) เครื่องมือระบุปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในจุดอ่อนและจุดแข็งของสถานศึกษา ได้แก่

            - SWOT Analysis วิเคราะห์จุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อน (Weakness) ภายในองค์กร โอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats) ภายนอกองค์กร

            - กรอบแนวคิดของแมคคินซีย (ZMcKinsey’s 7S Model) ได้ถูกนำมาใช้ในการบริหารเป็นหลักสากล ประกอบไปด้วย

                1. Structure (โครงสร้างองค์กร) หมายถึง ลักษณะโครงสร้างขององค์การที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ รวมถึงขนาดการควบคุม การรวมอำนาจ       และการกระจายอำนาจของผู้บริหาร การแบ่งโครงสร้างงานตามหน้าที่ ตามผลิตภัณฑ์ ตามลูกค้า ตามภูมิภาคได้อย่างเหมาะสม โครงสร้างองค์กรมีความยืดหยุ่นมากน้อยเพียงไร ถ้าไม่ยืดหยุ่นหรือมีความยืดหยุ่นน้อย โอกาสความสำเร็จก็มีน้อย

                2. Strategy (กลยุทธ์) หมายถึง การวางแผนเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การพิจารณาจุดแข็ง จุดอ่อนของกิจการ โดยพิจารณาว่าองค์กรมีการกำหนดกลยุทธ์ที่ชัดเจนหรือไม่ และกลยุทธ์นั้นกระจายออกไปใน sector ต่าง ๆ หรือไม่ 

                3. Staff (การจัดการบุคคลเข้าทำงาน) หมายถึง การคัดเลือกบุคลากรที่มีความสามารถ การพัฒนาบุคคลากรอย่างต่อเนื่อง พนักงานมีคุณภาพไหม มาโดยระบบเส้นสายหรือไม่

                4. (Managerial) (รูปแบบ) หมายถึง การจัดการที่มีรูปแบบวิธีที่เหมาะสมกับลักษณะองค์การ เช่น การสั่งการ การควบคุม การจูงใจ สะท้อนถึงวัฒนธรรมองค์การ สไตล์การบริหารเป็นอย่างไร 

                5. System (ระบบ) หมายถึง กระบวนการและลำดับขั้นการปฎิบัติงานทุกอย่างที่เป็นระบบที่ต่อเนื่องสอดคล้องประสานกันทุกระดับ การวางระบบงาน

                6. Shared value (ค่านิยมร่วม) หมายถึง ค่านิยมร่วมกันระหว่างคนในองค์การ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความเชื่อร่วมกันในหน่วยงาน

                7. Skill (ทักษะ) หมายถึง ความโดดเด่น ความเชี่ยวชาญในการผลิต การขาย               การให้บริการ พนักงานมีทักษะในการทำงานหรือไม่ (อะไรความแตกต่างระหว่าง knowledge (รู้เฉยๆ) กับ skill (รู้แล้วทำให้คนอื่นเชื่อด้วย และนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ในการทำงานได้ด้วย)

            - การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain Model)

                การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าเป็นวิธีการประเมินแต่ละกิจกรรมในห่วงโซ่คุณค่าขององค์กร เพื่อทำความเข้าใจว่าโอกาสในการปรับปรุงอยู่ที่ใด การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าจะช่วยให้องค์กรพิจารณาว่าแต่ละขั้นตอนเพิ่มหรือลดมูลค่าของผลิตภัณฑ์หรือบริการขั้นสุดท้ายขององค์กรอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้ได้เปรียบทางการแข่งขันในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง

                วิธีดำเนินการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า

                1. ระบุกิจกรรมห่วงโซ่คุณค่า

                    ขั้นตอนแรกในการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าคือการทำความเข้าใจกิจกรรมหลักและกิจกรรมรองทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณ หากบริษัทของคุณขายผลิตภัณฑ์หรือบริการหลายรายการ สิ่งสำคัญคือต้องดำเนินการนี้สำหรับแต่ละรายการ

                2. กำหนดมูลค่าและต้นทุนของกิจกรรม

                        เมื่อระบุกิจกรรมหลักและกิจกรรมรองได้แล้ว ขั้นตอนถัดไปคือการกำหนดมูลค่าที่กิจกรรมทางธุรกิจแต่ละอย่างเพิ่มให้กับกระบวนการ รวมถึงต้นทุนที่เกี่ยวข้อง

                เมื่อพิจารณาถึงมูลค่าที่สร้างขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ ให้ถามตัวเองว่า กิจกรรมแต่ละอย่างช่วยเพิ่มความพึงพอใจหรือความเพลิดเพลินให้กับผู้ใช้ปลายทางได้อย่างไร กิจกรรมเหล่านี้สร้างมูลค่าให้กับบริษัทได้

                ในทำนองเดียวกัน การทำความเข้าใจต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับแต่ละขั้นตอนในกระบวนการก็มีความสำคัญเช่นกัน อาจพบว่าการลดค่าใช้จ่ายเป็นวิธีง่าย ๆ ในการเพิ่มมูลค่าที่ธุรกรรมแต่ละรายการมอบให้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ขององค์กร

                3. ระบุโอกาสสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน

                        เมื่อได้รวบรวมห่วงโซ่มูลค่าขององค์กรและเข้าใจต้นทุนและมูลค่าที่เกี่ยวข้องกับแต่ละขั้นตอนแล้ว สามารถวิเคราะห์ห่วงโซ่มูลค่าเหล่านั้นผ่านมุมมองของข้อได้เปรียบทางการแข่งขันใด ๆ ที่พยายามจะบรรลุ

        2) เครื่องมือระบุปัจจัยโอกาสและปัจจัยภัยคุกคามที่มีผลต่อสถานศึกษา ได้แก่

                - SWOT Analysis 

                - การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (PEST Analysis Model) คือ แนวคิดหรือเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจและองค์กร พร้อมทบทวนและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของธุรกิจที่กำลังทำอยู่ จะได้รู้ว่าอะไรคือความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น  อันไหนที่สามารถควบคุมได้ อันไหนควบคุมไม่ได้ จากนั้นก็นำข้อมูลที่วิเคราะห์ได้มาวางแผนและสร้าง  กลยุทธ์ที่เหมาะสม เพื่อหาวิธีรับมือกับปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ที่องค์กรไม่สามารถควบคุมไม่ให้เกิดได้ โดยทั่วไปแล้ว มักใช้คู่กับแนวคิด SWOT Analysis

                - 5 Forces Model คือ การวิเคราะห์ 5 ภัยคุกคามจากปัจจัยภายนอก ปัจจัยทั้ง 5 อย่างของ 5 Forces Model ที่ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ได้แก่

                    1. อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ (Bargaining Power of Customers)

                    2. อำนาจต่อรองของผู้ผลิต (Power of Suppliers)

                    3. ภัยคุกคามจากผู้เข้ามาใหม่ (Threat of New Entrants)

                    4. ภัยคุกคามจากผลิตภัณฑ์ทดแทน (Threat of Substitutes)

                    5. การแข่งขันภายในอุตสาหกรรม (Industry Rivalry)

        3) เครื่องมือกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ได้แก่

            - EFAS. IFAS คือ การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกด้วยตาราง EFAS Matrix และการวิเคราะห์ปัจจัยภายในด้วยตาราง IFAS Matrix 

            EFAS คือ ตารางสรุปการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก (External Factors Analysis Summary) โดยตาราง EFAS Matrix คือการนำข้อมูลจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมปัจจัยภายนอกที่ได้มาจากการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือใดก็ตาม สรุปลงในตาราง EFAS เพื่อเปรียบเทียบว่าปัจจัยภายนอกแต่ละด้านที่สำคัญไม่เท่ากันว่ามีผลกระทบและสำคัญมากน้อยแค่ไหน เพื่อหาจุดที่ต้องแก้ไขต่อไป

            การใช้ EFAS Matrix คือสิ่งที่ช่วยจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยภายนอกที่เป็นผลดีและผลเสียต่อธุรกิจเหล่านั้นว่าปัจจัยใดส่งผลกระทบต่อธุรกิจมากน้อยแค่ไหน เพื่อที่ธุรกิจจะหาทางป้องกันปัจจัยที่เป็นอุปสรรค และใช้ประโยชน์ปัจจัยที่เป็นโอกาสเหล่านั้นต่อไป

            FAS คือ ตารางสรุปการวิเคราะห์ปัจจัยภายใน (Internal Factors Analysis Summary) โดยตาราง IFAS จะเกิดจากการนำข้อมูลจากการวิเคราะห์ปัจจัยภายในที่ได้มาจากการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมืออะไรก็ตามมาสรุปลงในตาราง IFAS Matrix เพื่อเปรียบเทียบว่าปัจจัยภายในแต่ละด้านที่สำคัญไม่เท่ากันว่ามีผลกระทบและสำคัญมากน้อยแค่ไหนต่อธุรกิจ

            การใช้ IFAS Matrix คือสิ่งที่ช่วยจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยภายในที่เป็นจุดแข็งและจุดอ่อนของธุรกิจเหล่านั้นว่าปัจจัยใดส่งผลกระทบต่อธุรกิจมากน้อยแค่ไหน เพื่อที่ธุรกิจจะหาทางใช้ประโยชน์ปัจจัยที่เป็นจุดแข็ง และปรับปรุงแก้ไขปัจจัยที่เป็นจุดอ่อน

        - TOWS Matrix คือ การนำปัจจัยภายในและภายนอกมาจับคู่กันจากการวิเคราห์ SWOT หรือก็คือนำจุดแข็งขององกรค์มาตอบโต้อุปสรรคจากปัจจัยภายนอกและภายใน

            4) เครื่องมือการค้นหาทางเลือกที่ดีที่สุดภายใต้สถานการณ์ที่กำหนด ได้แก่

        Decision Table (ตารางการตัดสินใจ) คือ ตารางที่แสดงความสอดคล้องกันระหว่างตัวเลือกที่เป็นไปได้ทั้งหมดของเงื่อนไขที่ประกอบร่วมกันในกระบวนการ กับการกระทำที่มีโอกาสเกิดขึ้นทั้งหมดในกระบวนการที่ต้องการทำความมุ่งหมายของการสร้างตารางตัดสินใจ คือ การใช้แบบจำลองแสดงการจัดโครงสร้างของการตัดสินใจตามเงื่อนไขต่างๆ ที่มีในกระบวนการทำงาน

            5) เครื่องมือการกำหนดตัวชี้วัด (KPI) ได้แก่

            Balanced Scorecard คือ เครื่องมือที่ช่วยในการประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรโดยมุ่งเน้นการวัดผลทั้งด้านการเงินและด้านอื่น ๆ ที่มีผลต่อความสำเร็จขององค์กร เช่น ความพึงพอใจของลูกค้า กระบวนการภายใน การเรียนรู้ การเติบโต ซึ่งจะช่วยให้การวัดผลเป็นไปอย่างครอบคลุมและสมดุลที่สุด

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เทียบโอนประสบการณ์



ยินดีต้อนรับ