หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (Manage activities to develop learners for 21st century)

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-ZAYZ-391B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (Manage activities to develop learners for 21st century)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO    1345 ผู้จัดการด้านการศึกษา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามสมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา สาขาบริการการศึกษา อาชีพผู้บริหารสถานศึกษา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
2020101 จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน 1. กำหนดเป้าหมาย ขอบเขตและเกณฑ์การประเมินในการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน 2020101.01 222058
2020101 จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน 2. จัดทำแผนส่งเสริมการเรียนรู้ หรือแนะแนวอย่างเป็นระบบ 2020101.02 222059
2020101 จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน 3. ควบคุมการปฏิบัติกิจกรรมให้สอดคล้องกับแผนการส่งเสริมการเรียนรู้ 2020101.03 222060
2020101 จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน 4. จัดทำการประเมินผลกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในสถานศึกษา 2020101.04 222061
2020102 จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามสมรรถนะและ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ 1. กำหนดเป้าหมาย ขอบเขตและเกณฑ์การประเมินในการพัฒนาผู้เรียนตามสมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 2020102.01 222062
2020102 จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามสมรรถนะและ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ 2. จัดทำแผนพัฒนาผู้เรียนตามสมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 2020102.02 222063
2020102 จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามสมรรถนะและ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ 3. ควบคุมการปฏิบัติกิจกรรมให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาผู้เรียนตามสมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 2020102.03 222064
2020102 จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามสมรรถนะและ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ 4. จัดทำการประเมินผลกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามสมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในสถานศึกษา 2020102.04 222065

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะด้านการวางแผน

2.    ทักษะด้านการบริหารจัดการ

3.    ทักษะด้านการติดต่อประสานงาน

4.    ทักษะด้านการแก้ไขปัญหา

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้ความเข้าใจด้านการทำแผน

2.    ความรู้ความเข้าใจในการเขียนขั้นตอนการทำงาน

3.    ความรู้ความเข้าใจในกระบวนการทำงานหรือขั้นตอนการทำงานขององค์กร

4.    ความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    แผนส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และพัฒนาผู้เรียนตามสมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    ผลการแสดงผลงาน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง         ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

    การประเมินเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ตามหลักการเครื่องมือ ดังนี้

        เครื่องมือจัดการกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนของสถานศึกษา กำหนดให้การจัดทำแผนงานพัฒนาผู้เรียนเป็นไปตามหลักการ PDCA

    การจัดทำแผนงานพัฒนาผู้เรียนเป็นไปตามหลักการ PDCA

    PDCA คือ วงจรการบริหารงานคุณภาพ ประกอบด้วย P = Plan คือ การวางแผนจากวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ได้กำหนดขึ้น D = Do คือ การปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนงานที่ได้เขียนไว้อย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง C = Check คือ การตรวจสอบผลการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนของแผนงานว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขแผนงานในขั้นตอนใดบ้าง A = Act คือ การปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา หรือถ้าไม่มีปัญหาใด ๆ ก็ยอมรับแนวทางการปฏิบัติตามแผนงานที่ได้ผลสำเร็จ เพื่อนำไปใช้ในการทำงานครั้งต่อไปเมื่อได้แผนงาน (P) นำไปปฏิบัติ (D) ระหว่างปฏิบัติก็ดำเนินการตรวจสอบ (C) พบปัญหาก็ทำการแก้ไขหรือปรับปรุง (A) การปรับปรุงก็เริ่มจากการวางแผนก่อน วนไปเรื่อย ๆ จึงเรียกวงจร PDCA

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เทียบโอนประสบการณ์



ยินดีต้อนรับ