หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประกอบแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกที่มีความซับซ้อน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-GHCV-638A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประกอบแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกที่มีความซับซ้อน

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO - อาชีพช่างปรับประกอบแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก

         3115 ช่างเทคนิควิศวกรรมเครื่องกล 

         3119.40 ช่างเทคนิควิศวกรรมการผลิต 

         8281 ผู้ประกอบผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกล

         7233 ช่างเครื่องและช่างปรับแต่งเครื่องจักรกลอุตสาหกรรม

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะมีทักษะ ในการประกอบและทดสอบชุดแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกที่มีความซับซ้อน โดยเลือกใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และกระบวนการประกอบและทดสอบ ได้เหมาะสมกับชิ้นส่วนและลักษณะของแม่พิมพ์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
      อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
103P22.1

จัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ และชิ้นส่วนแม่พิมพ์ที่ใช้ในการประกอบแม่พิมพ์

1.1 เตรียมเครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบแม่พิมพ์

103P22.1.01 221184
103P22.1

จัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ และชิ้นส่วนแม่พิมพ์ที่ใช้ในการประกอบแม่พิมพ์

1.2 เตรียมชิ้นส่วนต่างๆ ของแม่พิมพ์

103P22.1.02 221185
103P22.2

ประกอบแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกที่มีความซับซ้อน

2.1 ตรวจสอบชิ้นส่วนแม่พิมพ์ก่อนการประกอบ

103P22.2.01 221186
103P22.2

ประกอบแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกที่มีความซับซ้อน

2.2 กำหนดขั้นตอนการประกอบ

103P22.2.02 221187
103P22.2

ประกอบแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกที่มีความซับซ้อน

2.3 ประกอบชิ้นส่วนต่างๆ

103P22.2.03 221188
103P22.3

ทดสอบการประกอบ

3.1 ตรวจสอบหน้าสัมผัสของแม่พิมพ์

103P22.3.01 221189
103P22.3

ทดสอบการประกอบ

3.2 ตรวจสอบการทำงานของแม่พิมพ์

103P22.3.02 221190
103P22.3

ทดสอบการประกอบ

3.3 ตรวจสอบระบบหล่อเย็น

103P22.3.03 221191

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.   สามารถใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการประกอบชุดแม่พิมพ์

2.   สามารถเลือกใช้เครื่องมือวัดละเอียดและอุปกรณ์ตรวจสอบ

3.   สามารถเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบแม่พิมพ์

4.   สามารถประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ของแม่พิมพ์

5.   สามารถทดสอบการประกอบแม่พิมพ์ที่ซับซ้อน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.   ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการประกอบชิ้นส่วนแม่พิมพ์

2.   ความรู้ด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ และ กระบวนการประกอบ

3.   ความรู้ด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ตรวจสอบ

4.   ความรู้ด้านหลักการทำงานของแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกที่ซับซ้อน

5.   ความรู้ด้านชิ้นส่วนแม่พิมพ์และโครงสร้างแม่พิมพ์

6.   ความรู้ด้านการกำหนดขั้นตอนการประกอบ

7.   ความรู้เกี่ยวกับหน้าสัมผัสของแม่พิมพ์

8.   ความรู้ด้านระบบหล่อเย็น

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria)และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and

Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1.  แสดงการเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบแม่พิมพ์

      2.  แสดงการเตรียมชิ้นส่วนต่างๆ ของแม่พิมพ์

      3.  แสดงการประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ของแม่พิมพ์

      4.  แสดงการตรวจสอบหน้าสัมผัสของแม่พิมพ์

      5.  แสดงการตรวจสอบการทำงานของแม่พิมพ์

      6.  แสดงการตรวจสอบการทำงานของระบบหล่อเย็น

      7.  แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกต

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1.  อธิบายเกี่ยวกับเทคนิคการประกอบชิ้นส่วนแม่พิมพ์

      2.  อธิบายเกี่ยวกับเครื่องมือ อุปกรณ์ และ กระบวนการประกอบ

      3.  อธิบายเกี่ยวกับเครื่องมือและอุปกรณ์ตรวจสอบ

      4.  อธิบายเกี่ยวกับหลักการทำงานของแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกที่ซับซ้อน

      5.  อธิบายเกี่ยวกับชิ้นส่วนแม่พิมพ์และโครงสร้างแม่พิมพ์

      6.  อธิบายเกี่ยวกับการกำหนดขั้นตอนการประกอบ

      7.  อธิบายเกี่ยวกับหน้าสัมผัสของแม่พิมพ์

      8.  อธิบายเกี่ยวกับระบบหล่อเย็น

      9.  แบบบันทึกประกอบผลการสัมภาษณ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

      ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการประกอบแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกที่มีความซับซ้อน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง)    วิธีการประเมิน

      1.  แบบทดสอบสัมภาษณ์

      2.  แบบทดสอบสังเกตการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

      1.  ผู้เข้ารับการประเมินเลือกเครื่องมือและวิธีการได้เหมาะสมกับการประกอบแม่พิมพ์

      2.  ผู้เข้ารับการประเมินคำนึงถึงความปลอดภัยในการทำงาน

      3.  ผู้เข้ารับการประเมินสามารถประกอบแม่พิมพ์พร้อมกับตรวจสอบการทำงานให้สามารถนำไปทดลองฉีดได้

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

      แม่พิมพ์ฉีดพลาสติกที่มีความซับซ้อน หมายถึง แม่พิมพ์ที่มีอุปกรณ์ช่วยในระบบฉีด หรือระบบหล่อเย็น หรือระบบปลด เช่น Hot runner มอเตอร์ปลดเกลียว เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

      เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้ และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะ และความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะ ได้แก่

      1. แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์

      2. แบบทดสอบการสังเกตการปฏิบัติงาน

      ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ