หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบคุณภาพในขั้นตอนการผลิตแม่พิมพ์พลาสติก

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-MGLX-614A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบคุณภาพในขั้นตอนการผลิตแม่พิมพ์พลาสติก

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO - ช่างผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์พลาสติก 

         3115 ช่างเทคนิควิศวกรรมเครื่องกล 

         3119.20 ช่างเทคนิควิศวกรรมควบคุม 

         3119.40 ช่างเทคนิควิศวกรรมการผลิต 

         8211 ผู้ควบคุมเครื่องจักรและอุปกรณ์แปรรูปโลหะต่างๆ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีทักษะในการตรวจสอบคุณภาพในขั้นตอนการผลิตแม่พิมพ์โดยสามารถเลือกใช้เครื่องมือวัดและอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการควบคุมคุณภาพ รวมถึงมีการบันทึกและแสดงผลในการตรวจสอบ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
      อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
102P24.1

ตรวจสอบคุณภาพก่อนทำการผลิต

1.1 เตรียมแบบแม่พิมพ์ อุปกรณ์และเครื่องมือวัด

102P24.1.01 220928
102P24.1

ตรวจสอบคุณภาพก่อนทำการผลิต

1.2 ตรวจสอบขนาดและจำนวนของวัตถุดิบ

102P24.1.02 220929
102P24.1

ตรวจสอบคุณภาพก่อนทำการผลิต

1.3 ตรวจสอบประเภทของวัตถุดิบ

102P24.1.03 220930
102P24.1

ตรวจสอบคุณภาพก่อนทำการผลิต

1.4 ตรวจสอบผิวและความเรียบร้อยภายนอกของวัตถุดิบ

102P24.1.04 220931
102P24.1

ตรวจสอบคุณภาพก่อนทำการผลิต

1.5 ตรวจสอบเครื่องจักร

102P24.1.05 220932
102P24.1

ตรวจสอบคุณภาพก่อนทำการผลิต

1.6 ตรวจสอบอุปกรณ์จับยึดและเครื่องมือตัด

102P24.1.06 220933
102P24.1

ตรวจสอบคุณภาพก่อนทำการผลิต

1.7 ตรวจสอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการกัด (CAM)

102P24.1.07 220934
102P24.2

ตรวจสอบคุณภาพระหว่างทำการผลิต

2.1 เตรียมแบบแม่พิมพ์ อุปกรณ์และเครื่องมือวัด

102P24.2.01 220935
102P24.2

ตรวจสอบคุณภาพระหว่างทำการผลิต

2.2 ตรวจสอบขนาดของชิ้นงาน

102P24.2.02 220936
102P24.2

ตรวจสอบคุณภาพระหว่างทำการผลิต

2.3 ตรวจสอบผิวของชิ้นงาน

102P24.2.03 220937
102P24.2

ตรวจสอบคุณภาพระหว่างทำการผลิต

2.4 ตรวจสอบตำแหน่งความถูกต้องในการผลิต

102P24.2.04 220938
102P24.2

ตรวจสอบคุณภาพระหว่างทำการผลิต

2.5 ตรวจสอบความผิดปกติของเครื่องจักร

102P24.2.05 220939
102P24.2

ตรวจสอบคุณภาพระหว่างทำการผลิต

2.6 ตรวจสอบความผิดปกติของอุปกรณ์จับยึดและเครื่องมือตัด

102P24.2.06 220940
102P24.2

ตรวจสอบคุณภาพระหว่างทำการผลิต

2.7 ตรวจสอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการกัด (CAM)

102P24.2.07 220941
102P24.3

ตรวจสอบคุณภาพหลังทำการผลิต

3.1 เตรียมแบบแม่พิมพ์ อุปกรณ์และเครื่องมือวัด

102P24.3.01 220942
102P24.3

ตรวจสอบคุณภาพหลังทำการผลิต

3.2 ตรวจสอบขนาดของชิ้นงาน

102P24.3.02 220943
102P24.3

ตรวจสอบคุณภาพหลังทำการผลิต

3.3 ตรวจสอบผิวสำเร็จและความเรียบร้อยของชิ้นงาน

102P24.3.03 220944
102P24.4

ตรวจสอบคุณภาพด้วยการทดลองประกอบ และบันทึกผล

4.1 เตรียมแบบแม่พิมพ์

102P24.4.01 220945
102P24.4

ตรวจสอบคุณภาพด้วยการทดลองประกอบ และบันทึกผล

4.2 เตรียมชิ้นงาน

102P24.4.02 220946
102P24.4

ตรวจสอบคุณภาพด้วยการทดลองประกอบ และบันทึกผล

4.3 เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์

102P24.4.03 220947
102P24.4

ตรวจสอบคุณภาพด้วยการทดลองประกอบ และบันทึกผล

4.4 ทดลองประกอบชิ้นส่วน

102P24.4.04 220948
102P24.4

ตรวจสอบคุณภาพด้วยการทดลองประกอบ และบันทึกผล

4.5 ตรวจสอบการใช้งานและการประกอบ

102P24.4.05 220949
102P24.4

ตรวจสอบคุณภาพด้วยการทดลองประกอบ และบันทึกผล

4.6 เลือกใช้เครื่องมือควบคุมคุณภาพในการบันทึกผล

102P24.4.06 220950

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.   สามารถกำหนดขั้นตอนในการทำชิ้นส่วนแม่พิมพ์

2.   สามารถกำหนดวิธีการตรวจสอบขนาดชิ้นส่วนแม่พิมพ์

3.   สามารถอ่านแบบและเตรียมขั้นตอนการทำชิ้นส่วนแม่พิมพ์จากแบบงาน

4.   สามารถเลือกใช้เครื่องมือวัดที่ใช้ในการตรวจสอบ

5.   สามารถตรวจสอบชิ้นงานตามที่กำหนดในแบบงาน

6.   สามารถบันทึกและพิจารณาผลจากการตรวจสอบชิ้นงาน

7.   สามารถตรวจสอบความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับชิ้นงานและเครื่องจักร

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.   ความรู้เกี่ยวกับวัสดุแม่พิมพ์

2.   ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพการผลิต

3.   ความรู้เกี่ยวกับการอ่านแบบเครื่องกล

4.   ความรู้เกี่ยวกับการอ่านแบบงานสำหรับการเตรียมแบบงาน

5.   ความรู้เกี่ยวกับกรรมวิธีการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์

6.   ความรู้เกี่ยวกับวิธีการที่ใช้ในการตรวจสอบ

7.   ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้เครื่องมือวัดในการตรวจสอบ

8.   ความรู้เกี่ยวกับหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria)และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills andKnowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1.  แสดงการกำหนดขั้นตอนในการทำชิ้นส่วนแม่พิมพ์

      2.  แสดงการกำหนดวิธีการตรวจสอบขนาดชิ้นส่วนแม่พิมพ์

      3.  แสดงการอ่านแบบและเตรียมขั้นตอนการทำชิ้นส่วนแม่พิมพ์จากแบบงาน

      4.  แสดงการเลือกใช้เครื่องมือวัดที่ใช้ในการตรวจสอบ

      5.  แสดงการตรวจสอบชิ้นงานตามที่กำหนดในแบบงาน

      6.  แสดงการบันทึกและพิจารณาผลจากการตรวจสอบชิ้นงาน

      7.  แสดงการตรวจสอบความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับชิ้นงานและเครื่องจักร

      8.  แบบบันทึกขั้นตอนและรายละเอียดการทำงาน

      9.  แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกต

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1.  อธิบายเกี่ยวกับวัสดุแม่พิมพ์

      2.  อธิบายเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพการผลิต

      3.  อธิบายเกี่ยวกับการอ่านแบบงานสำหรับการเตรียมแบบงาน

      4.  อธิบายเกี่ยวกับกรรมวิธีการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์

      5.  อธิบายวิธีการตรวจสอบ

      6.  อธิบายวิธีการเลือกใช้เครื่องมือวัดในการตรวจสอบ

      7.  อธิบายเกี่ยวกับหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

      8.  แบบบันทึกประกอบผลการสัมภาษณ์

      9.  ใบบันทึกผลการสอบข้อเขียนหรือแนวคำถามที่ใช้ประเมิน

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

      ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการ ตรวจสอบคุณภาพในขั้นตอนการผลิตแม่พิมพ์พลาสติก โดยพิจารณาร่องรอยหลักฐานปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง)    วิธีการประเมิน

      1.  แบบทดสอบสัมภาษณ์

      2.  แบบทดสอบสังเกตการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

      1.  การควบคุมคุณภาพต้องใช้วิธีการหรือหลักการที่เป็นที่ยอมรับและเหมาะสมในการผลิตแม่พิมพ์พลาสติก

      2.  การเลือกใช้เครื่องมือควบคุมคุณภาพในการบันทึกผลต้องเหมาะสมกับข้อมูลดิบที่ได้จากการตรวจสอบคุณภาพ

      3.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

      การเลือกใช้ชิ้นส่วนมาตรฐาน หมายถึง การเลือกใช้ชิ้นส่วนที่ไม่ได้ผลิตขึ้นเองภายในโรงงาน และเป็นชิ้นส่วนที่ตรงตามมาตรฐานใดมาตรฐานหนึ่งที่สากลให้การยอมรับ และสามารถนำชิ้นส่วนดังกล่าวมาทำการประกอบเข้ากับแม่พิมพ์เพื่อสามารถทำให้แม่พิมพ์ทำงานร่วมกับเครื่องฉีดพลาสติกหรือเครื่องขึ้นรูปพลาสติกอื่นๆเพื่อทำการผลิตชิ้นงานได้

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
 

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

      เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้ และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะ และความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะ ได้แก่

      1. แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์

      2. แบบทดสอบการสังเกตการปฏิบัติงาน

      ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ