หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-NAJC-594A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO – อาชีพช่างผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ หรือ อาชีพช่างผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก 

          7222 ช่างทำเครื่องมือและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

          7222.10 ช่างทำเครื่องมือทั่วไป

          7222.60 ช่างทำแม่พิมพ์

          7223 ช่างปรับตั้งและใช้เครื่องมือกล

          8211 ผู้ควบคุมเครื่องจักรและอุปกรณ์แปรรูปโลหะต่างๆ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีทักษะความรู้ และความสามารถในการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน โดยสามารถระบุประเภท การใช้งานของอุปกรณ์ป้องกันภัย ดูแลรักษาอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล อีกทั้งสามารถจดบันทึกข้อมูลอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่ชำรุดเสียหายได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
      อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
102MP04.1

เตรียมอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

1.1 ระบุประเภทและการใช้งานของอุปกรณ์พื้นฐานด้านความปลอดภัยของแต่ละประเภท

10204.1.01 220637
102MP04.1

เตรียมอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

1.2 เตรียมอุปกรณ์พื้นฐานด้านความปลอดภัยให้เหมาะสมกับการดำเนินงาน

10204.1.02 220638
102MP04.1

เตรียมอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

1.3 ตรวจสอบความพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

10204.1.03 220639
102MP04.2

ใช้งานอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

2.1 ตรวจสอบความพร้อมของผู้ใช้ เช่น เครื่องแต่งกาย ชุดนิรภัย สภาพร่างกาย

10204.2.01 220640
102MP04.2

ใช้งานอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

2.2 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลอย่างเหมาะสม

10204.2.02 220641
102MP04.3

บำรุงรักษาอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

3.1 ดูแลอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

10204.3.01 220642
102MP04.3

บำรุงรักษาอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

3.2 ทำความสะอาดและจัดเก็บอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

10204.3.02 220643
102MP04.3

บำรุงรักษาอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

3.3 บำรุงรักษาอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

10204.3.03 220644
102MP04.4

บันทึกผลการปฏิบัติงานอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

4.1 บันทึกข้อมูลอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่ชำรุดเสียหาย

10204.4.01 220645
102MP04.4

บันทึกผลการปฏิบัติงานอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

4.2 รายงานให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทราบถึงข้อบกพร่องของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล เพื่อเปลี่ยนหรือซ่อมแซม

10204.4.02 220646

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.   สามารถเลือกใช้และดูแลรักษาอุปกรณ์พื้นฐานด้านความปลอดภัยในสถานที่ปฏิบัติงาน

2.   สามารถป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมในการทำงาน

3.   สามารถใช้อุปกรณ์พื้นฐานด้านความปลอดภัยให้เหมาะสมกับการดำเนินงาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.   ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดและหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในโรงงาน

2.   ความรู้เกี่ยวกับลักษณะของอันตรายที่เกิดจากลักษณะการทำงานที่ไม่เหมาะสม

3.   ความรู้เกี่ยวกับวิธีป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมในการทำงาน

4.   ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานป้าย และสัญลักษณ์ สีและเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย

5.   ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

6.   ความรู้ด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

7.   ความรู้ด้านมาตรฐานขององค์กรและกฎหมายที่กำหนด

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria)และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and

Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1.  แสดงการเลือกใช้และดูแลรักษาอุปกรณ์พื้นฐานด้านความปลอดภัย

      2.  แสดงการป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมในการทำงาน

      3.  แสดงการใช้อุปกรณ์พื้นฐานด้านความปลอดภัยให้เหมาะสมกับการดำเนินงาน

      4.  ใบรับรองผลจากแบบประเมินผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1.  ระบุข้อกำหนดและหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในโรงงาน

      2.  อธิบายลักษณะของอันตรายที่เกิดจากลักษณะการทำงานที่ไม่เหมาะสม

      3.  อธิบายวิธีป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมในการทำงาน

      4.  อธิบายหรือระบุมาตรฐานป้าย สัญลักษณ์ สี และเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย

      5.  ระบุอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

      6.  อธิบายการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

      7.  ระบุมาตรฐานขององค์กรและกฎหมายที่กำหนด

      8.  ใบรับรองผลจากการประเมินความรู้จากแบบทดสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

      ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน โดยพิจารณาร่องรอยหลักฐานจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง)    วิธีการประเมิน

      1.  แบบทดสอบข้อเขียน

      2.  แบบทดสอบการสังเกตการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ

     1.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

     2.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการตรวจสอบความพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล 

      3.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องตรวจสอบความพร้อมของผู้ประเมินก่อนการปฏิบัติงาน เช่น เครื่องแต่งกาย ชุดนิรภัย สภาพร่างกาย

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

      การปฏิบัติงานที่เป็นกระบวนการผลิตชิ้นส่วนด้วยเครื่องจักรหรือเครื่องมือพื้นฐาน 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

      เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะ ได้แก่

      1. แบบทดสอบข้อเขียน

      2. แบบทดสอบการสังเกตการปฏิบัติงาน

      ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ