หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบแม่พิมพ์เทอร์โมฟอร์มมิ่งที่มีความซับซ้อน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-QVCV-588A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบแม่พิมพ์เทอร์โมฟอร์มมิ่งที่มีความซับซ้อน

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO - อาชีพช่างออกแบบแม่พิมพ์เทอร์โมฟอร์มมิ่ง

         3115 ช่างเทคนิควิศวกรรมเครื่องกล 

         3119.20 ช่างเทคนิควิศวกรรมควบคุม 

         3119.40 ช่างเทคนิควิศวกรรมการผลิต

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ มีทักษะการออกแบบแม่พิมพ์เทอร์โมฟอร์มมิ่งชิ้นงานที่มีตัวกดช่วยขึ้นรูป (Plug Assist)และหรือมีระบบอัดอากาศ (Pressure Forming) ได้ตามข้อกำหนดของลูกค้า โดยสามารถกำหนด Mold Layout และตัวแปรต่างๆ ที่จำเป็น  และสามารถตรวจสอบความสมบูรณ์ครบถ้วนของระบบต่างๆ และชิ้นส่วนของแม่พิมพ์ รวมถึงตรวจทานความถูกต้องของแบบแม่พิมพ์ เพื่อให้ได้งานที่ตรงตามข้อกำหนดจากแบบชิ้นงาน (Part Drawing)

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
      อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
101P51.1

จัดเตรียมข้อมูล และอุปกรณ์ที่ใช้ในการออกแบบ

1.1 เตรียมแบบชิ้นงานที่ใช้ในการออกแบบแม่พิมพ์ (2D/3D)

10151.1.01 220595
101P51.1

จัดเตรียมข้อมูล และอุปกรณ์ที่ใช้ในการออกแบบ

1.2 เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการออกแบบ

10151.1.02 220596
101P51.2

กำหนดตัวแปรต่างๆ ที่จำเป็นในการออกแบบแม่พิมพ์เทอร์โมฟอร์มมิ่งที่มีความซับซ้อน

2.1 พิจารณา และกำหนดตัวแปรต่างๆจากข้อกำหนดของลูกค้า

10151.2.01 220597
101P51.2

กำหนดตัวแปรต่างๆ ที่จำเป็นในการออกแบบแม่พิมพ์เทอร์โมฟอร์มมิ่งที่มีความซับซ้อน

2.2 กำหนดค่าตัวแปรสำหรับแม่พิมพ์แบบมีตัวกดช่วยขึ้นรูป (Plug Assist)  และ หรือมีระบบอัดอากาศ (Pressure Forming)

10151.2.02 220598
101P51.2

กำหนดตัวแปรต่างๆ ที่จำเป็นในการออกแบบแม่พิมพ์เทอร์โมฟอร์มมิ่งที่มีความซับซ้อน

2.3 กำหนด Mold Layout ตามข้อกำหนดจากลูกค้า และค่าตัวแปรที่กำหนด

10151.2.03 220599
101P51.3

ออกแบบแม่พิมพ์เทอร์โมฟอร์มมิ่งชิ้นงานที่มีความซับซ้อน

3.1 ออกแบบแม่พิมพ์ตาม Mold Layout และค่าตัวแปรต่างๆ ที่เตรียมไว้

10151.3.01 220600
101P51.3

ออกแบบแม่พิมพ์เทอร์โมฟอร์มมิ่งชิ้นงานที่มีความซับซ้อน

3.2 ออกแบบแม่พิมพ์โดยเลือกใช้ชิ้นส่วนมาตรฐาน

10151.3.02 220601
101P51.4

ตรวจสอบความสมบูรณ์ครบถ้วนของแบบ

4.1 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของชิ้นส่วนต่างๆ

10151.4.01 220602
101P51.4

ตรวจสอบความสมบูรณ์ครบถ้วนของแบบ

4.2 ตรวจสอบความถูกต้องของชิ้นส่วนที่เป็นมาตรฐาน

10151.4.02 220603

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.   สามารถใช้ซอฟต์แวร์การเขียนแบบเครื่องกล

2.   สามารถออกแบบแม่พิมพ์เทอร์โมฟอร์มมิ่งที่มีความซับซ้อน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.   ความรู้เกี่ยวกับรายละเอียดข้อกำหนดของ Mold Layout

2.   ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบแม่พิมพ์ (2D/3D)

3.   ความรู้เกี่ยวกับการคำนวณและกำหนดค่าตัวแปรสำหรับแม่พิมพ์แบบมีตัวกดช่วยขึ้นรูป (Plug Assist)  และ หรือมีระบบอัดอากาศ (Pressure Forming)

4.   ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านแม่พิมพ์เทอร์โมฟอร์มิ่ง

5.   ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการออกแบบแม่พิมพ์เทอร์โมฟอร์มมิ่ง

6.   ความรู้ด้านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพชิ้นงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria)และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and

Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1.  แบบแม่พิมพ์เทอร์โมฟอร์มมิ่งที่มีความซับซ้อน 

      2.  แบบบันทึกรายการจากการสังเกต

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1.  อธิบายการเขียนแบบภาพฉายในระบบ ISO Method-E และ ISO Method-A

      2.  อธิบายข้อกำหนดของ Mold Layout

      3.  อธิบายหรือระบุตัวแปรในการขึ้นรูปและพารามิเตอร์ในการออกแบบแม่พิมพ์

      4.  ระบุวิธีการคำนวณและกำหนดค่าตัวแปรสำหรับแม่พิมพ์แบบมีตัวกดช่วยขึ้นรูป (Plug Assist)  และ หรือมีระบบอัดอากาศ (Pressure Forming)

      5.  แบบบันทึกประกอบผลการสัมภาษณ์

      6.  ใบบันทึกผลการสอบข้อเขียนหรือแนวคำถามที่ใช้ประเมิน

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

      ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการออกแบบแม่พิมพ์เทอร์โมฟอร์มมิ่งที่มีความซับซ้อน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน  และหลักฐานด้านความรู้

(ง)    วิธีการประเมิน

      1. การสอบสัมภาษณ์

      2. การสังเกตการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

      1.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากผู้เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนสมบูรณ์

      2.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องอ่านแบบภาพแยกชิ้นส่วน และแบบแม่พิมพ์ 2D หรือ 3D

      3.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องต้องให้รายละเอียดของแบบแม่พิมพ์อย่างครบถ้วนสมบูรณ์

      4.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องอ่านแบบและเขียนแบบสั่งงานด้วยมาตรฐานที่ใช้ในการมองภาพฉายระบบ ISO Method - A และ ISO Method – E

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

      แม่พิมพ์เทอร์โมฟอร์มมิ่งที่มีความซับซ้อนในสมรรถนะนี้ หมายถึง แม่พิมพ์ที่มีตัวกดช่วยขึ้นรูป (Plug Assist) และ หรือมีระบบอัดอากาศ (Pressure Forming)

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

      เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะ ได้แก่

      1. แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์

      2. แบบทดสอบการสังเกตการปฏิบัติงาน

      ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ