หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

นำผลการวิเคราะห์ด้วย CAE มาใช้ในการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดพลาสติก

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-MOXS-578A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ นำผลการวิเคราะห์ด้วย CAE มาใช้ในการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดพลาสติก

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO - อาชีพช่างออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดพลาสติก



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ มีทักษะในการเตรียมผลการจำลองการอัดรีดพลาสติก และแบบชิ้นงาน โดยสามารถกำหนดแนวทางและข้อกำหนดในการออกแบบ แปลงชิ้นงานพร้อมที่จะทำการวิเคราะห์ได้ รวมถึงสามารถนำผลวิเคราะห์ (CAE) มาช่วยในการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดพลาสติก ตลอดจนเข้าใจและอ่านค่าของผลวิเคราะห์ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
      อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
101P41.1

เตรียมผลการจำลองการอัดรีดพลาสติก และแบบชิ้นงาน

1.1 เตรียมผลการจำลองการอัดรีดพลาสติกที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วย CAE

10141.1.01 220514
101P41.1

เตรียมผลการจำลองการอัดรีดพลาสติก และแบบชิ้นงาน

1.2 เตรียมแบบชิ้นงาน

10141.1.02 220515
101P41.2

วิเคราะห์ผล และกำหนดแนวทางการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดพลาสติก

2.1 วิเคราะห์ผลการจำลองการอัดรีดพลาสติก ที่ต้องการ และจำเป็นต่อการออกแบบแม่พิมพ์

10141.2.01 220516
101P41.2

วิเคราะห์ผล และกำหนดแนวทางการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดพลาสติก

2.2 นำผลวิเคราะห์ที่ได้มากำหนดแนวทาง และข้อกำหนดในการแก้ไขแบบชิ้นงาน

10141.2.02 220517

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. เทคโนโลยีด้านแม่พิมพ์อัดรีดพลาสติก

2. ขบวนการ และเทคโนโลยีอัดรีดพลาสติก

3. เครื่องจักรและอุปกรณ์ในการอัดรีดพลาสติก

4. การวิเคราะห์ชิ้นงานอัดรีดพลาสติก

5. การอ่านค่าผลการวิเคราะห์จากโปรแกรม CAE

6. การแก้ไขปัญหาแม่พิมพ์ และชิ้นงานจากการผลิต

7. ทฤษฎีการเขียนแบบเครื่องกล

8. ทฤษฎีการออกแบบเชิงกลเบื้องต้น

9. วัสดุวิศวกรรม

10. ชิ้นส่วนทางกล และชิ้นส่วนมาตรฐาน

11. Geometric Dimensioning & Tolerancing (GD&T)

12. เครื่องมือและเครื่องมือกลที่ใช้ในการผลิต

13. กระบวนการปรับปรุงสมบัติและคุณภาพผิวของชิ้นส่วน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การสเก็ตช์แบบงาน

2. การอ่านและเขียนแบบเครื่องกล

3. การใช้โปรแกรมวิเคราะห์งาน

4. การวิเคราะห์การไหลของพลาสติก

5. การวิเคราะห์ความหมายจากโปรแกรม CAE

6. การสื่อสาร

7. การทำงานเป็นทีม

8. ความสามารถในการแก้ไขปัญหา

9. การเรียนรู้

10. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1. เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือ

      2. เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรม หรือ

      3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์    

(ข) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1. เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือ

      2. แบบงานอัดรีดอัดรีดพลาสติกที่ผ่านการวิเคราะห์ด้วย CAE หรือ

      3. แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน    

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

      ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลด้วย CAE ตลอดจนการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดพลาสติก โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และการสัมภาษณ์

 (ง) วิธีการประเมิน

      1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

      2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

      - การวิเคราะห์ด้วย CAE ในหน่วยสมรรถนะนี้หมายถึง การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์วิเคราะห์การไหลของพลาสติกในงานแม่พิมพ์อัดรีดพลาสติก

(ก)   คำแนะนำ

      1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากผู้เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนสมบูรณ์

      2. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถใช้โปรแกรมเขียนแบบ และวิเคราะห์ได้

      3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถนำผลวิเคราะห์ด้วย CAE มาใช้ในการออกแบบแม่พิมพ์อัดรีดพลาสติกได้

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

      1. แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์

      ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ