หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบแม่พิมพ์อัดพลาสติกที่มีความซับซ้อน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-DUJI-573A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบแม่พิมพ์อัดพลาสติกที่มีความซับซ้อน

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO – อาชีพช่างออกแบบแม่พิมพ์อัด พลาสติก 

         3115 ช่างเทคนิควิศวกรรมเครื่องกล 

         3119.20 ช่างเทคนิควิศวกรรมควบคุม 

         3119.40 ช่างเทคนิควิศวกรรมการผลิต

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ มีทักษะการออกแบบแม่พิมพ์อัดพลาสติกชิ้นงานที่มี Under cut และมีระบบปลดชิ้นงาน ได้ตามข้อกำหนดของลูกค้า โดยสามารถกำหนดตัวแปรต่างๆ ที่จำเป็น และ Mold Layout และสามารถตรวจสอบความสมบูรณ์ครบถ้วนของระบบต่างๆ และชิ้นส่วนของแม่พิมพ์ รวมถึงตรวจทานความถูกต้องของแบบแม่พิมพ์ เพื่อให้ได้งานที่ตรงตามข้อกำหนดจากแบบชิ้นงาน (Part Drawing)

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
      อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
101P36.1

จัดเตรียมข้อมูล และอุปกรณ์ที่ใช้ในการออกแบบ

1.1 เตรียมแบบชิ้นงานที่ใช้ในการออกแบบแม่พิมพ์ (2D/3D)

10136.1.01 220473
101P36.1

จัดเตรียมข้อมูล และอุปกรณ์ที่ใช้ในการออกแบบ

1.2 เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการออกแบบ

10136.1.02 220474
101P36.2

กำหนดตัวแปรต่างๆ ที่จำเป็นในการออกแบบแม่พิมพ์อัดพลาสติกที่มีความซับซ้อน

2.1 พิจารณา และกำหนดตัวแปรต่างๆจากข้อกำหนดของลูกค้า

10136.2.01 220475
101P36.2

กำหนดตัวแปรต่างๆ ที่จำเป็นในการออกแบบแม่พิมพ์อัดพลาสติกที่มีความซับซ้อน

2.2 กำหนดค่าตัวแปรสำหรับแม่พิมพ์แบบ Slide / Split Mold

10136.2.02 220476
101P36.2

กำหนดตัวแปรต่างๆ ที่จำเป็นในการออกแบบแม่พิมพ์อัดพลาสติกที่มีความซับซ้อน

2.3 กำหนด Mold Layout ตามข้อกำหนดจากลูกค้า และค่าตัวแปรที่กำหนด

10136.2.03 220477
101P36.2

กำหนดตัวแปรต่างๆ ที่จำเป็นในการออกแบบแม่พิมพ์อัดพลาสติกที่มีความซับซ้อน

2.4 กำหนดระบบการปลดชิ้นงาน

10136.2.04 220478
101P36.3

ออกแบบแม่พิมพ์อัดพลาสติกชิ้นงานที่มีความซับซ้อน

3.1 ออกแบบแม่พิมพ์ตาม Mold Layout และค่าตัวแปรต่างๆ ที่เตรียมไว้

10136.3.01 220479
101P36.3

ออกแบบแม่พิมพ์อัดพลาสติกชิ้นงานที่มีความซับซ้อน

3.2 ออกแบบแม่พิมพ์โดยเลือกใช้ชิ้นส่วนมาตรฐาน

10136.3.02 220480
101P36.4

ตรวจสอบความสมบูรณ์ครบถ้วนของแบบ

4.1 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของชิ้นส่วนต่างๆ

10136.4.01 220481
101P36.4

ตรวจสอบความสมบูรณ์ครบถ้วนของแบบ

4.2 ตรวจสอบความถูกต้องของชิ้นส่วนที่เป็นมาตรฐาน

10136.4.02 220482

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.   สามารถใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปในการเขียนแบบเครื่องกล

2.   สามารถออกแบบแม่พิมพ์อัดพลาสติกชิ้นงานที่มี Under Cut

3.   สามารถออกแบบแม่พิมพ์โดยเลือกใช้ชิ้นส่วนมาตรฐาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.   ความรู้เกี่ยวกับรายละเอียดข้อกำหนดของ Mold Layout

2.   ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบแม่พิมพ์อัดพลาสติก (2D/3D)

3.   ความรู้เกี่ยวกับการคำนวณและกำหนดค่าตัวแปรสำหรับแม่พิมพ์แบบ Split Mold และ แม่พิมพ์แบบ Slide Core/Slide Cavity

4.   ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านแม่พิมพ์อัดพลาสติก

5.   ความรู้ด้านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพชิ้นงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria)และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and

Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1.  แบบแม่พิมพ์อัดพลาสติกชิ้นงานที่มี Undercut

      2.  แบบบันทึกรายการจากการสังเกต

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1.  อธิบายการเขียนแบบภาพฉายในระบบ ISO Method-E และ ISO Method-A

      2.  อธิบายข้อกำหนดของ Mold Layout

      3.  อธิบายหรือระบุตัวแปรในการขึ้นรูปและพารามิเตอร์ในการออกแบบแม่พิมพ์อัดพลาสติก

      4.  ระบุวิธีการคำนวณและกำหนดค่าตัวแปรสำหรับแม่พิมพ์แบบ Split Mold และ แม่พิมพ์แบบ Slide Core/Slide Cavity

      5.  แบบบันทึกประกอบผลการสัมภาษณ์

      6.  ใบบันทึกผลการสอบข้อเขียนหรือแนวคำถามที่ใช้ประเมิน

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

      ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการออกแบบแม่พิมพ์อัดพลาสติกที่มีความซับซ้อน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน  และหลักฐานด้านความรู้

(ง)    วิธีการประเมิน

      1.  แบบทดสอบการสัมภาษณ์

      2.  แบบทดสอบสังเกตการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

แม่พิมพ์อัดพลาสติกที่มีความซับซ้อนในสมรรถนะนี้ หมายถึง แม่พิมพ์อัดพลาสติกชิ้นงานที่มี Under cut และมีระบบปลดชิ้นงาน

(ก)    คำแนะนำ 

      1.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากผู้เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนสมบูรณ์

      2.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องอ่านแบบภาพแยกชิ้นส่วน และแบบแม่พิมพ์ 2D หรือ 3D

      3.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องต้องให้รายละเอียดของแบบแม่พิมพ์อย่างครบถ้วนสมบูรณ์

      4.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องอ่านแบบและเขียนแบบสั่งงานด้วยมาตรฐานที่ใช้ในการมองภาพฉายระบบ ISO Method - A และ ISO Method – E

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

      1.  เขียนแบบแม่พิมพ์โดยใช้ซอฟต์แวร์เขียนแบบสำเร็จรูป

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

      เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะ ได้แก่

      1. แบบทดสอบการสัมภาษณ์

      2. แบบทดสอบสังเกตการปฏิบัติงาน

      ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ