หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ และกำหนดรายละเอียดการซ่อมแม่พิมพ์ฉีดโลหะ

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-PBBX-657A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ และกำหนดรายละเอียดการซ่อมแม่พิมพ์ฉีดโลหะ

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO - อาชีพช่างซ่อมบำรุงรักษาแม่พิมพ์ฉีดโลหะ

         7233 ช่างเครื่องและช่างปรับแต่งเครื่องจักรกล

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีทักษะด้านการซ่อมแม่พิมพ์ฉีดโลหะ โดยสามารถวิเคราะห์ปัญหา เพื่อกำหนดขั้นตอน วิธีการ และรายละเอียดในการซ่อมแม่พิมพ์ฉีดโลหะ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
       อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
202M02.1

จัดเตรียมข้อมูล และจำแนกการซ่อมแม่พิมพ์ฉีดโลหะ

1.1 รวบรวมข้อมูลการใช้งานแม่พิมพ์ฉีดโลหะ

202M02.1.01 221930
202M02.1

จัดเตรียมข้อมูล และจำแนกการซ่อมแม่พิมพ์ฉีดโลหะ

1.2 จำแนกประเภทของแม่พิมพ์

202M02.1.02 221931
202M02.1

จัดเตรียมข้อมูล และจำแนกการซ่อมแม่พิมพ์ฉีดโลหะ

1.3 จำแนกประเภทการซ่อม

202M02.1.03 221932
202M02.2

วิเคราะห์รายละเอียดการซ่อมแม่พิมพ์ฉีดโลหะ

2.1 วิเคราะห์ประสิทธิภาพ อายุการใช้งานของแม่พิมพ์ฉีดโลหะ

202M02.2.01 221933
202M02.2

วิเคราะห์รายละเอียดการซ่อมแม่พิมพ์ฉีดโลหะ

2.2 วิเคราะห์ขั้นตอนการซ่อม

202M02.2.02 221934
202M02.3

กำหนดรายละเอียดการซ่อม

3.1 กำหนดชนิด ขนาดของหินเจีย

202M02.3.01 221935
202M02.3

กำหนดรายละเอียดการซ่อม

3.2 กำหนดชนิดของลวดเชื่อม

202M02.3.02 221936
202M02.3

กำหนดรายละเอียดการซ่อม

3.3 กำหนดขนาดกระดาษทราย

202M02.3.03 221937
202M02.3

กำหนดรายละเอียดการซ่อม

3.4 กำหนดวิธีการขึ้นรูปด้วยเครื่องมือกล

202M02.3.04 221938

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.   สามารถรวบรวมข้อมูลการใช้งานแม่พิมพ์ฉีดโลหะ

2.   สามารถจำแนกประเภทการซ่อมแม่พิมพ์ฉีดโลหะ

3.   สามารถวิเคราะห์ประสิทธิภาพ อายุการใช้งานของแม่พิมพ์ฉีดโลหะ

4.   สามารถวิเคราะห์ขั้นตอนการซ่อม

5.   สามารถกำหนดรายละเอียดการซ่อม เช่น ผิวหน้าแม่พิมพ์ ระบบหล่อเย็น ระบบปลดชิ้นงาน หรือระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์อื่นๆ ในแม่พิมพ์ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.   ความรู้เกี่ยวกับประเภทของแม่พิมพ์

2.   ความรู้เกี่ยวกับวัสดุแม่พิมพ์

3.   ความรู้เกี่ยวกับหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

4.   ความรู้เกี่ยวกับการซ่อมผิวหน้าแม่พิมพ์

5.   ความรู้เกี่ยวกับการซ่อมระบบหล่อเย็น

6.   ความรู้เกี่ยวกับการซ่อมระบบปลดชิ้นงาน

7.   ความรู้เกี่ยวกับการซ่อมระบบไฟฟ้า

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria)และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills andKnowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1.  แสดงการรวบรวมข้อมูลการใช้งานแม่พิมพ์ฉีดโลหะ

      2.  แสดงการจำแนกประเภทการซ่อมแม่พิมพ์ฉีดโลหะ

      3.  แสดงการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ อายุการใช้งานของแม่พิมพ์ฉีดโลหะ

      4.  แสดงการวิเคราะห์ขั้นตอนการซ่อม

      5.  แสดงการกำหนดรายละเอียดการซ่อม เช่น ชนิดหรือขนาดของหินเจีย ลวดเชื่อม หินขัด กระดาษทราย เป็นต้น

      6.  ใบรับรองผลจากแบบประเมินผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1.  ระบุหรืออธิบายการซ่อมผิวหน้าแม่พิมพ์

      2.  ระบุหรืออธิบายการซ่อมระบบหล่อเย็น

      3.  ระบุหรืออธิบายการซ่อมระบบปลดชิ้นงาน

      4.  ระบุหรืออธิบายการซ่อมระบบไฟฟ้า

      5.  ใบรับรองผลจากการประเมินความรู้จากแบบทดสอบสัมภาษณ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

      ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดการซ่อมแม่พิมพ์ฉีดโลหะโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง)    วิธีการประเมิน

      1. การสอบสัมภาษณ์

      2. การสังเกตการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

      1.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยในการเข้าทำงานกับแม่พิมพ์ฉีดโลหะ

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

      N/A

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

      เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้ และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะ และความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะ ได้แก่

      1. แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์

      2. แบบทดสอบการสังเกตการปฏิบัติงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ