หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประกอบแม่พิมพ์ฉีดโลหะ

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-RZPZ-618A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประกอบแม่พิมพ์ฉีดโลหะ

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO - อาชีพช่างปรับประกอบแม่พิมพ์ฉีดโลหะ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้ มีทักษะในการประกอบ และทดสอบชุดแม่พิมพ์ฉีดโละ โดยเลือกใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และกระบวนการประกอบ และทดสอบ ได้เหมาะสมกับชิ้นส่วน และลักษณะของแม่พิมพ์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
      อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
103M02.1

จัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ และชิ้นส่วนแม่พิมพ์ที่ใช้ในการประกอบแม่พิมพ์

1.1 เตรียมเครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบแม่พิมพ์

103M02.1.01 220989
103M02.1

จัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ และชิ้นส่วนแม่พิมพ์ที่ใช้ในการประกอบแม่พิมพ์

1.2 เตรียมชิ้นส่วนต่างๆ ของแม่พิมพ์

103M02.1.02 220990
103M02.2

ประกอบแม่พิมพ์ฉีดโลหะ

2.1 ตรวจสอบชิ้นส่วนแม่พิมพ์ก่อนการประกอบ

103M02.2.01 220991
103M02.2

ประกอบแม่พิมพ์ฉีดโลหะ

2.2 กำหนดขั้นตอนการประกอบ

103M02.2.02 220992
103M02.2

ประกอบแม่พิมพ์ฉีดโลหะ

2.3 ประกอบชิ้นส่วนต่างๆ

103M02.2.03 220993
103M02.3

ทดสอบการประกอบแม่พิมพ์

3.1 ตรวจสอบหน้าสัมผัสของแม่พิมพ์

103M02.3.01 220994
103M02.3

ทดสอบการประกอบแม่พิมพ์

3.2 ตรวจสอบการทำงานของแม่พิมพ์

103M02.3.02 220995
103M02.3

ทดสอบการประกอบแม่พิมพ์

3.3 ตรวจสอบระบบหล่อเย็น

103M02.3.03 220996

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.   สามารถอ่านแบบทางวิศวกรรม

2.   สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนความปลอดภัยในการทำงาน

3.   สามารถเลือกสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

4.   สามารถใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์ในการปรับประกอบแม่พิมพ์ฉีดโลหะ

5.   สามารถเลือกวิธีการหรือขั้นตอนในการปรับประกอบชิ้นส่วนแม่พิมพ์

6.   สามารถทดสอบการประกอบแม่พิมพ์

7.   สามารถตรวจสอบการทำงานของแม่พิมพ์ หน้าสัมผัส และระบบหล่อเย็น

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.   ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนความปลอดภัยในการทำงานและสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

2.   ความรู้เกี่ยวกับระบบการทำงานของเครื่องมือและอุปกรณ์ในการประกอบหรือตรวจสอบ

3.   ความรู้เกี่ยวกับชิ้นส่วนของแม่พิมพ์

4.   ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนหรือเทคนิคการประกอบชุดแม่พิมพ์

5.   ความรู้เกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบชิ้นส่วนและความถูกต้องของชุดแม่พิมพ์

6.   ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของแม่พิมพ์ หน้าสัมผัสและระบบหล่อเย็น

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria)และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and

Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1.  แสดงการปฏิบัติตามขั้นตอนความปลอดภัยในการทำงานและสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

      2.  แสดงการตรวจสอบระบบการทำงานของเครื่องมือและอุปกรณ์ก่อนและหลังปฏิบัติงาน

      3.  แสดงการเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการประกอบแม่พิมพ์ฉีดโลหะ

      4.  แสดงการเตรียมชิ้นส่วนแม่พิมพ์

      5.  สามารถเลือกวิธีการหรือขั้นตอนในการปรับประกอบชิ้นส่วนแม่พิมพ์

      6.  สามารถทดสอบการประกอบแม่พิมพ์

      7.  สามารถตรวจสอบการทำงานของแม่พิมพ์ หน้าสัมผัสและระบบหล่อเย็น

      8.  ใบรับรองผลจากแบบประเมินผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1.  อธิบายหรือระบุขั้นตอนความปลอดภัยในการทำงานและสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

      2.  อธิบายระบบการทำงานของเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบ

      3.  อธิบายหรือระบุชนิดหรือขนาดชิ้นส่วนของแม่พิมพ์

      4.  อธิบายขั้นตอนการประกอบชุดแม่พิมพ์

      5.  อธิบายหรือระบุวิธีการตรวจสอบชิ้นส่วนและความถูกต้องของชุดแม่พิมพ์

      6.  อธิบายการตรวจสอบการทำงานของแม่พิมพ์ หน้าสัมผัสและระบบหล่อเย็น

      7.  ใบรับรองผลจากการประเมินความรู้จากแบบทดสอบสัมภาษณ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

      ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการปรับแต่งชิ้นส่วนแม่พิมพ์ฉีดโลหะ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง)    วิธีการประเมิน

      1. การสอบสัมภาษณ์

      2. การสังเกตการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    แนะนำ

      1.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัย ต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล และตรวจสอบเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการปรับแต่งชิ้นส่วนแม่พิมพ์ โดยต้องบันทึกในแบบฟอร์มตรวจสอบ (ถ้ามี)

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

      1.  แม่พิมพ์ฉีดโลหะ หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการขึ้นรูป หรือผลิต ชิ้นงานโลหะด้วยกรรมวิธีการฉีดโลหะเหลวเข้าไปในเบ้าพิมพ์ และทำให้เย็นตัวในเบ้าพิมพ์ และปลดชิ้นงานออก

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

      เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะ ได้แก่

      1. แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์

      2. แบบทดสอบการสังเกตการปฏิบัติงาน

      ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ