หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ให้คำปรึกษาในการพัฒนากระบวนการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์โลหะอย่างต่อเนื่องเพื่อ ความยั่งยืน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-MDPW-611A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ให้คำปรึกษาในการพัฒนากระบวนการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์โลหะอย่างต่อเนื่องเพื่อ ความยั่งยืน

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO - อาชีพช่างผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์โลหะ โลหะ

          3115 ช่างเทคนิควิศวกรรมเครื่องกล 

          3119.20 ช่างเทคนิควิศวกรรมควบคุม 

          3119.40 ช่างเทคนิควิศวกรรมการผลิต 

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถพัฒนากระบวนการในการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์โลหะ ที่ครอบคลุมเกี่ยวกับรายละเอียดระหว่างขั้นตอนต่าง ๆ  โดยอาศัยข้อมูลจากที่เคยได้ดำเนินการทั้งหมด  แล้วนำมาใช้ในการผลิตชิ้นส่วนครั้งต่อ ๆ ไปที่จะจัดทำขึ้น เป้าหมายเพื่อการลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพและความน่าเชื่อถือ ด้วยนวตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
      อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
102M21.1

เตรียมข้อมูลที่เป็นองค์ประกอบต่างๆ เพื่อการพัฒนากระบวนการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์

1.1 ชนิด/ประเภทของแม่พิมพ์

102M21.1.01 220888
102M21.1

เตรียมข้อมูลที่เป็นองค์ประกอบต่างๆ เพื่อการพัฒนากระบวนการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์

1.2 Process ของแม่พิมพ์

102M21.1.02 220889
102M21.1

เตรียมข้อมูลที่เป็นองค์ประกอบต่างๆ เพื่อการพัฒนากระบวนการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์

1.3 ชิ้นส่วนและอุปกรณ์แม่พิมพ์

102M21.1.03 220890
102M21.1

เตรียมข้อมูลที่เป็นองค์ประกอบต่างๆ เพื่อการพัฒนากระบวนการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์

1.4 วัสดุแม่พิมพ์

102M21.1.04 220891
102M21.1

เตรียมข้อมูลที่เป็นองค์ประกอบต่างๆ เพื่อการพัฒนากระบวนการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์

1.5 การปรับปรุงสมบัติของชิ้นส่วนสำเร็จก่อนนำแม่พิมพ์ไปใช้งาน

102M21.1.05 220892
102M21.2

วางแผน และกำหนดเป้าหมายขั้นตอนต่างๆ เพื่อการพัฒนาในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์

2.1 ขั้นตอนการผลิตชิ้นส่วน

102M21.2.01 220893
102M21.2

วางแผน และกำหนดเป้าหมายขั้นตอนต่างๆ เพื่อการพัฒนาในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์

2.2 การแปรขึ้นรูปด้วยเครื่องมือกลและการเลือกใช้ Cutting tools

102M21.2.02 220894
102M21.2

วางแผน และกำหนดเป้าหมายขั้นตอนต่างๆ เพื่อการพัฒนาในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์

2.3 การจัดทำโปรแกรมคำสั่งเครื่องมือกล CNC ( CAM )

102M21.2.03 220895
102M21.2

วางแผน และกำหนดเป้าหมายขั้นตอนต่างๆ เพื่อการพัฒนาในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์

2.4 การตรวจสอบคุณภาพชิ้นส่วน

102M21.2.04 220896
102M21.3

ปฏิบัติการพัฒนากระบวนการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์

3.1 จัดทำขั้นตอนมาตรฐานในการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์

102M21.3.01 220897
102M21.3

ปฏิบัติการพัฒนากระบวนการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์

3.2 การวิเคราะห์ผลด้านคุณภาพเพื่อหาความเหมาะสมในการกำหนดค่า GD&T 

102M21.3.02 220898
102M21.3

ปฏิบัติการพัฒนากระบวนการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์

3.3 การลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน

102M21.3.03 220899
102M21.3

ปฏิบัติการพัฒนากระบวนการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์

3.4 การจัดระบบฐานข้อมูล

102M21.3.04 220900
102M21.4

สรุปประเมินผลการพัฒนากระบวนการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์

4.1 กำหนดวิธีในการติดตาม

102M21.4.01 220901
102M21.4

สรุปประเมินผลการพัฒนากระบวนการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์

4.2 สรุปผลการพัฒนา

102M21.4.02 220902

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    สามารถวางแผนขั้นตอนการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์

2.   สามารถแปรขึ้นรูปด้วยเครื่องมือกลและการเลือกใช้ Cutting tools

3.   สามารถจัดทำโปรแกรมคำสั่งเครื่องมือกลอัตโนมัติ (CAM)

4.   สามารถจัดทำเป็นมาตรฐานในการทำงานและใช้เป็นฐานข้อมูล

5.   สามารถวิเคราะห์ผลด้านคุณภาพเพื่อหาความเหมาะสมในการกำหนดค่า GD&T

6.   สามารถพัฒนาในขั้นตอนย่อยของการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์โลหะ 

7.   สามารถรายงานผลการพัฒนากระบวนการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.   ความรู้เกี่ยวกับชนิด/ประเภทของแม่พิมพ์

2.   ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างชิ้นส่วนและกระบวนการทำงานของแม่พิมพ์

3.   ความรู้เกี่ยวกับสมบัติวัสดุแม่พิมพ์ (Die Material)

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria)  และทักษะ และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1.  สามารถวางแผนขั้นตอนการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์

      2.  สามารถแปรขึ้นรูปด้วยเครื่องมือกลและการเลือกใช้ Cutting tools

      3.  สามารถจัดทำโปรแกรมคำสั่งเครื่องมือกลอัตโนมัติ (CAM)

      4.  สามารถจัดทำเป็นมาตรฐานในการทำงานและใช้เป็นฐานข้อมูล

      5.  สามารถวิเคราะห์ผลด้านคุณภาพเพื่อหาความเหมาะสมในการกำหนดค่า GD&T

      6.  สามารถพัฒนาในขั้นตอนย่อยของการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์โลหะ

      7.  สามารถรายงานผลการพัฒนากระบวนการผลิตชิ้นแม่พิมพ์

      8.  ใบรับรองผลจากแบบประเมินผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1.  อธิบายชนิด/ประเภทของแม่พิมพ์

      2.  อธิบายโครงสร้างชิ้นส่วนและกระบวนการทำงานของแม่พิมพ์

      3.  อธิบายสมบัติวัสดุแม่พิมพ์ (Die material)

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

      ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการพัฒนา วางแผน ควบคุมกระบวนการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง)    วิธีการประเมิน

      1. การสังเกตการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

      ขอบเขตต้องระบุชัดเจนว่าเป็นแม่พิมพ์โลหะชนิด/ประเภทใด มีข้อกำหนด (Requirements)  โดยทราบราคาขายและต้นทุนที่ประมาณราคาไว้เพื่อใช้เปรียบเทียบหลังการพัฒนา และการสรุปผลหลังดำเนินการแล้วเสร็จเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการทำการปรับประกอบในครั้งต่อ ๆ ไป

(ก)    คำแนะนำ

      1.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจในรายละเอียดเกี่ยวกับชนิด/ประเภทของแม่พิมพ์โลหะ

      2.  ผู้เข้ารับประเมินต้องเข้าใจในข้อกำหนดต่าง ๆ ที่จะยึดถือเป็นกรอบในการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์แต่ละรายการ

      3.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถทำการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์ได้ และมีประสบการณ์มากถึงขั้นที่จะทำการประเมินการปฏิบัติงานของช่างผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์ได้

      4.  ผู้เข้ารับประเมินต้องสามารถสรุปรายงานและนำเสนอผลการดำเนินงานได้

      5.  ผู้เข้ารับประเมินต้องมีคุณสมบัติของการเป็นนักพัฒนาที่ดี

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

      1.  ขอบเขตต้องระบุชัดเจนว่าเป็นแม่พิมพ์โลหะชนิด/ประเภทใด มีข้อกำหนด ( Requirements )  โดยทราบราคาขายและต้นทุนที่ประมาณราคาไว้เพื่อใช้เปรียบเทียบหลังการพัฒนา และการสรุปผลหลังดำเนินการแล้วเสร็จเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการทำการปรับประกอบในครั้งต่อ ๆ ไป

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

      เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะ ได้แก่

      1. แบบทดสอบการสังเกตการปฏิบัติงาน

      ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ