หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผน และควบคุมการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์โลหะ

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-JQNO-610A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผน และควบคุมการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์โลหะ

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

      รหัส ISCO - อาชีพช่างผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์โลหะ

               3115 ช่างเทคนิควิศวกรรมเครื่องกล 

               3119.20 ช่างเทคนิควิศวกรรมควบคุม 

               3119.40 ช่างเทคนิควิศวกรรมการผลิต

                7222 ช่างทำเครื่องมือและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง  

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถวางแผนและควบคุมการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์โลหะ ซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบหลัก ที่สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์โลหะที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการทั้งหมดและสามารถตรวจทานแผนงานที่จัดทำขึ้น ตลอดจนการควบคุมติดตามการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
      อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
102M20.1

เตรียมองค์ประกอบของแผนงานเพื่อกำหนดลงในแผน

1.1 รายการชิ้นส่วนแม่พิมพ์ต่างๆเฉพาะที่ต้องทำการผลิต

102M20.1.01 220874
102M20.1

เตรียมองค์ประกอบของแผนงานเพื่อกำหนดลงในแผน

1.2 รายชื่อช่างและรายการเครื่องมือกลชนิดต่างๆ

102M20.1.02 220875
102M20.1

เตรียมองค์ประกอบของแผนงานเพื่อกำหนดลงในแผน

1.3 แผนงานรวมของแม่พิมพ์ที่ระบุภาระงานทั้งหมดไว้

102M20.1.03 220876
102M20.2

ประเมินรายละเอียดที่จะกำหนดลงในแผน และภาระงานที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน

2.1 กำลังความสามารถในการผลิตชิ้นส่วน (Machine capacity) ของเครื่องมือกลและเครื่องจักรต่างๆ

102M20.2.01 220877
102M20.2

ประเมินรายละเอียดที่จะกำหนดลงในแผน และภาระงานที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน

2.2 รายละเอียดแบบงานของชิ้นส่วนที่ต้องทำการผลิตพร้อมด้วยแบบชิ้นส่วนย่อย

102M20.2.02 220878
102M20.2

ประเมินรายละเอียดที่จะกำหนดลงในแผน และภาระงานที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน

2.3 ภาระงานที่มีอยู่ทั้งหมด

102M20.2.03 220879
102M20.3

ปฏิบัติการวางแผน

3.1 กำหนดคนและเครื่องมือกล

102M20.3.01 220880
102M20.3

ปฏิบัติการวางแผน

3.2 กำหนดรายละเอียดของขั้นตอน

102M20.3.02 220881
102M20.3

ปฏิบัติการวางแผน

3.3 กำหนดเป้าหมายเวลา

102M20.3.03 220882
102M20.3

ปฏิบัติการวางแผน

3.4 ตรวจทานและเสนออนุมัติแผน

102M20.3.04 220883
102M20.4

การติดตามความก้าวหน้าของงาน และการควบคุมเป้าหมาย

4.1 กำหนดระยะเวลาและความถี่ในการติดตาม

102M20.4.01 220884
102M20.4

การติดตามความก้าวหน้าของงาน และการควบคุมเป้าหมาย

4.2 ประชุมติดตามและรายงานผล

102M20.4.02 220885
102M20.4

การติดตามความก้าวหน้าของงาน และการควบคุมเป้าหมาย

4.3 กำหนดวิธีการแก้ปัญหาที่ไม่เป็นไปตามแผน

102M20.4.03 220886
102M20.4

การติดตามความก้าวหน้าของงาน และการควบคุมเป้าหมาย

4.4 บันทึกข้อมูลจริงเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูล

102M20.4.04 220887

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.   สามารถวางแผนงานในการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์ได้สอดคล้องกับแผนงานรวม

2.   สามารถประเมินชั่วโมงงานการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์แต่ละชนิด/ประเภท และขนาด

3.   สามารถประเมินระดับความสามารถของช่างผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์

4.   สามารถกำหนดขั้นตอนการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์

5.   สามารถนำการประชุมและติดตามผลการทำงานและการบันทึกข้อมูล

6.   สามารถกำหนดวิธีการแก้ปัญหากรณีที่งานไม่เป็นไปตามแผน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.   ความรู้เกี่ยวกับวิธีการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์ด้วยเครื่องมือกลและเครื่องจักรกล

2.   ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดรายละเอียดขั้นตอนการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์

3.   ความรู้เกี่ยวกับวิธีการประเมินระดับความสามารถของช่างผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์

4.   ความรู้เกี่ยวกับวิธีการพิจารณาองค์ประกอบของแผนงาน

5.   ความรู้เกี่ยวกับวิธีการประเมินความก้าวหน้าของงาน

6.   ความรู้เกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาและการเร่งรัด

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria)  และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1.  วางแผนงานในการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์ได้สอดคล้องกับแผนงานรวม

      2.  สามารถประเมินชั่วโมงงานการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์แต่ละชนิด/ประเภทและขนาด

      3.  สามารถประเมินระดับความสามารถของช่างผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์

      4.  สามารถกำหนดขั้นตอนการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์

      5.  สามารถนำการประชุมและติดตามผลการทำงานและการบันทึกข้อมูล

      6.  สามารถกำหนดวิธีการแก้ปัญหากรณีที่งานไม่เป็นไปตามแผน

      7.  ใบรับรองผลจากแบบประเมินผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1.  ระบุหรืออธิบายวิธีการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์ด้วยเครื่องมือกล

      2.  ระบุหรืออธิบายการกำหนดรายละเอียดขั้นตอนการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์

      3.  ระบุหรืออธิบายวิธีการประเมินระดับความสามารถของช่างผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์

      4.  ระบุหรืออธิบายวิธีการพิจารณาองค์ประกอบของแผนงาน

      5.  ระบุหรืออธิบายวิธีการประเมินความก้าวหน้าของงาน

      6.  ระบุหรืออธิบายวิธีการแก้ปัญหาและการเร่งรัด

      7.  ใบรับรองผลจากการประเมินความรู้จากแบบทดสอบสัมภาษณ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

      ผู้ประเมินจะตรวจประเมินเกี่ยวกับการวางแผนและควบคุมการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ 

(ง)    วิธีการประเมิน

      1. การสอบสัมภาษณ์

      2. การสังเกตการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

       ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ 

      1.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจในรายละเอียดเกี่ยวกับชนิด/ประเภทของแม่พิมพ์โลหะ

      2.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจในข้อกำหนดต่าง ๆ ที่จะยึดถือเป็นกรอบในการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์แต่ละรายการ

      3.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถทำการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์ได้ และมีประสบการณ์มากถึงขั้นที่จะทำการประเมินการปฏิบัติงานของช่างผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์ได้

      4.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถสรุปรายงานและนำเสนอแผนงานและผลการดำเนินงานได้

      5.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีคุณสมบัติของการเป็นนักวางแผนที่ดี

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

      1.  ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มี ผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ      ที่เกี่ยวข้อง

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

      เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้ และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะ และความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะ ได้แก่

      1. แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์

      2. แบบทดสอบการสังเกตการปฏิบัติงาน

      ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ