หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ผลิตชิ้นส่วนด้วยเครื่องกลึง

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-NKJL-596A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ผลิตชิ้นส่วนด้วยเครื่องกลึง

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO – อาชีพช่างผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ หรือ อาชีพช่างผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก

         7222 ช่างทำเครื่องมือและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

         7222.10 ช่างทำเครื่องมือทั่วไป

         7222.60 ช่างทำแม่พิมพ์

         7223 ช่างปรับตั้งและใช้เครื่องมือกล

         8211 ผู้ควบคุมเครื่องจักรและอุปกรณ์แปรรูปโลหะต่างๆ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีทักษะด้านการผลิตชิ้นส่วนด้วยเครื่องกลึง โดยจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในการทำงาน มีการกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สามารถเลือกใช้เครื่องมือตัด การปรับตั้งค่าเงื่อนไขในการทำงาน  การจับยึดชิ้นงาน ให้เหมาะสม รวมถึงสามารถตรวจสอบความถูกต้องของขนาดชิ้นส่วน ดูแลรักษาและตรวจสอบเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
     อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
102MP06.1

ความปลอดภัยในการทำงาน

1.1 ปฏิบัติตามขั้นตอนความปลอดภัยในการทำงานและสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

10206.1.01 220657
102MP06.1

ความปลอดภัยในการทำงาน

1.2 ตรวจสอบระบบการทำงานของเครื่องมือและอุปกรณ์ก่อนและหลังปฏิบัติงาน

10206.1.02 220658
102MP06.2

กำหนดขั้นตอนในการทำงานกลึง

2.1 ศึกษารายละเอียดจากแบบงาน

10206.2.01 220659
102MP06.2

กำหนดขั้นตอนในการทำงานกลึง

2.2 กำหนดขั้นตอนและเลือกเครื่องมือตัดในการกลึง

10206.2.02 220660
102MP06.2

กำหนดขั้นตอนในการทำงานกลึง

2.3 การกำหนดเงื่อนไขในการทำงานที่เหมาะสม

10206.2.03 220661
102MP06.3

การปฏิบัติงานกับเครื่องกลึง

3.1 ตรวจสอบเครื่องกลึงและอุปกรณ์

10206.3.01 220662
102MP06.3

การปฏิบัติงานกับเครื่องกลึง

3.2 จับยึดชิ้นงานและเครื่องเครื่องมือตัด

10206.3.02 220663
102MP06.3

การปฏิบัติงานกับเครื่องกลึง

3.3 ปรับตั้งศูนย์ชิ้นงานและเครื่องมือตัด

10206.3.03 220664
102MP06.3

การปฏิบัติงานกับเครื่องกลึง

3.4 ปฏิบัติงานกลึง

10206.3.04 220665
102MP06.4

การตรวจสอบความถูกต้องชิ้นส่วน

4.1 ตรวจสอบความถูกต้อง ขนาดของชิ้นส่วน และแก้ไขให้ตรงตามข้อกำหนด

10206.4.01 220666
102MP06.5

การบำรุงรักษาเครื่องกลึง และอุปกรณ์

5.1 ตรวจสอบบำรุงรักษาเบื้องต้น

10206.5.01 220667
102MP06.5

การบำรุงรักษาเครื่องกลึง และอุปกรณ์

5.2 ดูแลทำความสะอาดเครื่องกลึงและอุปกรณ์

10206.5.02 220668
102MP06.5

การบำรุงรักษาเครื่องกลึง และอุปกรณ์

5.3 ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องกลึงและอุปกรณ์ทั้งก่อนและหลังปฏิบัติงาน

10206.5.03 220669

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.   สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

2.   สามารถอ่านแบบชิ้นส่วนแม่พิมพ์

3.   สามารถใช้เครื่องกลึง เครื่องมือวัดและอุปกรณ์

4.   สามารถปรับตั้งเงื่อนไขในการกลึง

5.   สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนความปลอดภัยในการทำงานและสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

6.   สามารถตรวจสอบระบบการทำงานของเครื่องมือและอุปกรณ์ก่อนและหลังปฏิบัติงาน

7.   สามารถจับยึดชิ้นงานและเครื่องมือตัด

8.   สามารถปรับตั้งศูนย์ชิ้นงานและเครื่องมือตัด

9.   สามารถปฏิบัติงานกลึง

10.   สามารถตรวจสอบความถูกต้อง ขนาดของชิ้นส่วน และแก้ไขให้ตรงตามข้อกำหนด

11.   สามารถตรวจสอบความพร้อมของเครื่องจักรก่อนและหลังปฏิบัติงาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.   ความรู้ด้านการอ่านแบบเครื่องกล

2.   ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

3.   ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

4.   ความรู้เกี่ยวกับเครื่องกลึง เครื่องมือตัดและอุปกรณ์

5.   ความรู้เกี่ยวกับการคำนวณเพื่อตั้งเงื่อนไขในงานกลึง

6.   ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดขั้นตอนและเลือกเครื่องมือตัดในการกลึง

7.   ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดเงื่อนไขในการทำงานที่เหมาะสม

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria)และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and

Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1.  แสดงการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

      2.  แสดงการใช้เครื่องกลึง เครื่องมือวัดและอุปกรณ์

      3.  แสดงการปรับตั้งเงื่อนไขในการกลึง

      4.  แสดงการปฏิบัติตามขั้นตอนความปลอดภัยในการทำงาน

      5.  แสดงการจับยึดชิ้นงานและเครื่องเครื่องมือตัด

      6.  สามารถปรับตั้งศูนย์ชิ้นงานและเครื่องมือตัด

      7.  แสดงการปฏิบัติงานกลึง

      8.  ใบรับรองผลจากแบบประเมินผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1.  อธิบายการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

      2.  อธิบายความปลอดภัยในการทำงาน

      3.  อธิบายรายละเอียดจากแบบงาน

      4.  อธิบายการกำหนดขั้นตอนและเลือกเครื่องมือตัดในการกลึง

      5.  อธิบายการกำหนดเงื่อนไขในการทำงานที่เหมาะสม

      6.  ใบรับรองผลจากการประเมินความรู้จากแบบทดสอบสัมภาษณ์

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

      ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการผลิตชิ้นงานด้วยการกลึง โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

      1.  แบบทดสอบสังเกตการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

      1.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยในการเข้าทำงานกับเครื่องกลึง

      2.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องเขียนรายงาน หรืออธิบายขั้นตอนการทำงาน ในการผลิตชิ้นงานด้วยเครื่องกลึง 

      3   ผู้เข้ารับการประเมินเลือกใช้เครื่องมือตัดได้เหมาะสมกับชิ้นงาน

      4.  ผู้เข้ารับการประเมินจับยึดชิ้นงานด้วยหัวจับ หรืออุปกรณ์จับยึดพิเศษ โดยพิจารณาด้านความปลอดภัย และความเสียหายต่อชิ้นส่วน

      5.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องปรับ-ตั้งค่าเครื่องมืดตัด

      6.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องควบคุมเครื่องกลึงให้ผลิตชิ้นงานได้ตรงตามข้อกำหนดของแบบสั่งงาน

      7.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องยืนปฏิบัติงานหรือควบคุมเครื่องตลอดเวลา ขณะที่เครื่องจักรทำงาน

      8.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องตรวจสอบขนาดชิ้นส่วน ตามแบบสั่งงาน 

      9.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องใช้เครื่องมือวัด สำหรับตรวจสอบขนาด

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

      การปฏิบัติงานด้วยเครื่องกลึงแบบ Manual โดยผู้รับการประเมินสามารถ กลึงปาดหน้า กลึงปอก   กลึงเรียว กลึงเกลียว เจาะรู กลึงคว้านรู ได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

      เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะ ได้แก่

      1. แบบทดสอบการสังเกตการปฏิบัติงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ