หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

นำผลจากการวิเคราะห์ด้วย CAE มาใช้ในการออกแบบแม่พิมพ์ทุบขึ้นรูปร้อน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-ONOA-561A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ นำผลจากการวิเคราะห์ด้วย CAE มาใช้ในการออกแบบแม่พิมพ์ทุบขึ้นรูปร้อน

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO - อาชีพช่างออกแบบแม่พิมพ์ทุบขึ้นรูปร้อน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะมีทักษะในการวิเคราะห์ผลที่ได้จากการจำลองการทุบขึ้นรูปร้อนด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (CAE) และสามารถนำผลจากการวิเคราะห์มาใช้กำหนดแนวทางในการออกแบบแม่พิมพ์ หรือแก้ไขแบบชิ้นงานหากจำเป็น เพื่อลดความผิดพลาดในการออกแบบแม่พิมพ์ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
      อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
101M24.1

เตรียมข้อมูลที่จำเป็นในการจำลองการทุบขึ้นรูปร้อน

1.1 เตรียมข้อมูลในการจำลองด้วย CAE ได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง เช่น CAD file, วัสดุ, อุณหภูมิ, แรงเสียดทาน, เครื่องจักร

10124.1.01 220355
101M24.1

เตรียมข้อมูลที่จำเป็นในการจำลองการทุบขึ้นรูปร้อน

1.2 เตรียมแบบชิ้นงาน

10124.1.02 220356
101M24.2

วิเคราะห์ผลการจำลองการทุบขึ้นรูปร้อน

2.1 วิเคราะห์ความถูกต้องของผลที่เกิดจากการคำนวณ

10124.2.01 220357
101M24.2

วิเคราะห์ผลการจำลองการทุบขึ้นรูปร้อน

2.2 วิเคราะห์ผลของการไหลของวัสดุ

10124.2.02 220358
101M24.2

วิเคราะห์ผลการจำลองการทุบขึ้นรูปร้อน

2.3 วิเคราะห์แรงที่เกิดขึ้นในการขึ้นรูปในแต่ละขั้นตอน

10124.2.03 220359
101M24.2

วิเคราะห์ผลการจำลองการทุบขึ้นรูปร้อน

2.4 วิเคราะห์ผลของ Flow line หรือ Fiber flow ของวัสดุ

10124.2.04 220360
101M24.2

วิเคราะห์ผลการจำลองการทุบขึ้นรูปร้อน

2.5 วิเคราะห์ผลทางอุณหภูมิของชิ้นงานและแม่พิมพ์

10124.2.05 220361
101M24.2

วิเคราะห์ผลการจำลองการทุบขึ้นรูปร้อน

2.6 วิเคราะห์ความเสียหายที่เกิดจากการขึ้นรูปของชิ้นงาน

10124.2.06 220362
101M24.2

วิเคราะห์ผลการจำลองการทุบขึ้นรูปร้อน

2.7 วิเคราะห์ความเสียหายที่เกิดจากการขึ้นรูปของแม่พิมพ์

10124.2.07 220363
101M24.2

วิเคราะห์ผลการจำลองการทุบขึ้นรูปร้อน

2.8 สรุปผลวิเคราะห์การจำลองและกำหนดแนวทางในการแก้ปัญหา

10124.2.08 220364
101M24.3

กำหนดแนวทางในการออกแบบ และแก้ไขแม่พิมพ์

3.1 นำผลวิเคราะห์ที่ได้มากำหนดแนวทาง และข้อกำหนดในการออกแบบชิ้นงาน

10124.3.01 220365
101M24.3

กำหนดแนวทางในการออกแบบ และแก้ไขแม่พิมพ์

3.2 นำผลวิเคราะห์ที่ได้มากำหนดแนวทาง และข้อกำหนดในการออกแบบแม่พิมพ์

10124.3.02 220366

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.   สามารถนำผลวิเคราะห์ด้วย CAE มากำหนดแนวทางและข้อกำหนดในการออกแบบและแก้ไขแบบชิ้นงานแม่พิมพ์

2.  การใช้โปรแกรมช่วยในการออกแบบ

3.  การสื่อสาร

4.  การทำงานเป็นทีม

5.  ความสามารถในการแก้ไขปัญหา

6.  การเรียนรู้

7.  การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.  ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลการจำลองการทุบขึ้นรูปร้อนที่ต้องการและจำเป็นต่อการออกแบบและการแก้ไขแบบแม่พิมพ์

2.  ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลการจำลองการทุบขึ้นรูปร้อนด้วยคอมพิวเตอร์ (CAE)

3.  ความรู้เกี่ยวกับค่าตัวแปรที่จำเป็นในการจำลองการทุบขึ้นรูปร้อน ด้วยคอมพิวเตอร์ (CAE)

4.  ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมแบบชิ้นงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria)  และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and

Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1.  ผลวิเคราะห์การจำลองการทุบขึ้นรูปร้อน

      2.  แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกต

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1. อธิบายเงื่อนไขของแบบชิ้นงาน (Product) สำหรับการออกแบบแม่พิมพ์

      2. อธิบายทฤษฎีหรือหลักการออกแบบแม่พิมพ์

      3.    วิเคราะห์การจำลองการฉีดที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วย CAE

      4.    อธิบายการจำลองการทุบขึ้นรูปร้อน ที่จำเป็นต่อการออกแบบและการแก้ไขแบบชิ้นงานแม่พิมพ์

      5.    อธิบายการจำลองการทุบขึ้นรูปร้อน ด้วยคอมพิวเตอร์ (CAE)

      6.    อธิบายค่าตัวแปรที่จำเป็นในการจำลองการทุบขึ้นรูปร้อน ด้วยคอมพิวเตอร์ (CAE)

      7.    อธิบายหรือระบุวิธีการหรือขั้นตอนในการเตรียมแบบชิ้นงาน

      8.    แบบบันทึกประกอบผลการสัมภาษณ์หรือ

      9.    ใบบันทึกผลการสอบข้อเขียนหรือแนวคำถามที่ใช้ประเมิน

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

       ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลจาก CAE มาใช้ในการออกแบบแม่พิมพ์ทุบขึ้นรูปร้อน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง)    วิธีการประเมิน

       1.  แบบทดสอบสังเกตการปฏิบัติงาน

       2.  แบบทดสอบการสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

      1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องและสมบูรณ์

      2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถแสดงแนวคิดสำหรับกระบวนการออกแบบอุปกรณ์เสริมสำหรับแม่พิมพ์ทุบขึ้นรูปร้อน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

      เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้ และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะ และความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะ ได้แก่

      1.  แบบทดสอบการสังเกตการปฏิบัติงาน

      ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ