หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบแม่พิมพ์ทุบขึ้นรูปร้อนที่มีความซับซ้อน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-VOER-560A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบแม่พิมพ์ทุบขึ้นรูปร้อนที่มีความซับซ้อน

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO - อาชีพช่างออกแบบแม่พิมพ์ทุบขึ้นรูปร้อน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้ ความเข้าใจในการเลือกตัวแปรของแม่พิมพ์ที่ใช้ในการทุบขึ้นรูปร้อนที่มีความซับซ้อน รวมทั้งสามารถทำการออกแบบแม่พิมพ์ทุบขึ้นรูป แม่พิมพ์ตัดขอบและเจาะรู ตลอดจนจัดทำแบบแม่พิมพ์ได้    

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
      อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
101M23.1

ออกแบบแม่พิมพ์ทุบขึ้นรูปร้อนที่มีความซับซ้อนของชิ้นงาน และแม่พิมพ์

1.1 คำนวณ และกำหนดค่าตัวแปรต่างๆ ที่จำเป็นให้เหมาะสมในการออกแบบแม่พิมพ์

10123.1.01 220341
101M23.1

ออกแบบแม่พิมพ์ทุบขึ้นรูปร้อนที่มีความซับซ้อนของชิ้นงาน และแม่พิมพ์

1.2 กำหนด Parting Line และขนาด Flash Land ตามลักษณะของเครื่องจักรและรูปร่างของชิ้นงานแต่ละขั้นตอน

10123.1.02 220342
101M23.1

ออกแบบแม่พิมพ์ทุบขึ้นรูปร้อนที่มีความซับซ้อนของชิ้นงาน และแม่พิมพ์

1.3 กำหนดขนาดแนวกันครีบ 

10123.1.03 220343
101M23.1

ออกแบบแม่พิมพ์ทุบขึ้นรูปร้อนที่มีความซับซ้อนของชิ้นงาน และแม่พิมพ์

1.4 กำหนดขนาด และตำแหน่ง  In-die Guiding ให้เหมาะสมกับชิ้นงานในแต่ละแบบ

10123.1.04 220344
101M23.1

ออกแบบแม่พิมพ์ทุบขึ้นรูปร้อนที่มีความซับซ้อนของชิ้นงาน และแม่พิมพ์

1.5 สร้าง Cavity ตามแบบชิ้นงานร้อน

10123.1.05 220345
101M23.1

ออกแบบแม่พิมพ์ทุบขึ้นรูปร้อนที่มีความซับซ้อนของชิ้นงาน และแม่พิมพ์

1.6 การกำหนดฟังก์ชันการทำงานของแม่พิมพ์ เช่น การป้องกันชิ้นงานสลับด้าน,  Timing การทำงานของแม่พิมพ์, ความปลอดภัยในการใช้งาน

10123.1.06 220346
101M23.1

ออกแบบแม่พิมพ์ทุบขึ้นรูปร้อนที่มีความซับซ้อนของชิ้นงาน และแม่พิมพ์

1.7 ความเหมาะสมในการออกแบบ เช่น โครงสร้างแม่พิมพ์, การเลือกใช้ชิ้นส่วนมาตรฐาน, การจับยึดชิ้นส่วนแม่พิมพ์

10123.1.07 220347
101M23.2

การออกแบบแม่พิมพ์ตัดขอบ และเจาะรู

2.1 คำนวณ และกำหนดค่าตัวแปรต่างๆ ที่จำเป็นให้เหมาะสมในการออกแบบแม่พิมพ์

10123.2.01 220348
101M23.2

การออกแบบแม่พิมพ์ตัดขอบ และเจาะรู

2.2 การกำหนดฟังก์ชันการทำงานของแม่พิมพ์ เช่น การป้องกันชิ้นงานสลับด้าน,  Timing การทำงานของแม่พิมพ์, ความปลอดภัยในการใช้งาน

10123.2.02 220349
101M23.2

การออกแบบแม่พิมพ์ตัดขอบ และเจาะรู

2.3 ความเหมาะสมในการออกแบบ เช่น โครงสร้างแม่พิมพ์, การเลือกใช้ชิ้นส่วนมาตรฐาน, การจับยึดชิ้นส่วนแม่พิมพ์

10123.2.03 220350
101M23.3

จัดทำแบบแม่พิมพ์

3.1 ตาราง BOM (Bill of Materials)

10123.3.01 220351
101M23.3

จัดทำแบบแม่พิมพ์

3.2 การกำหนดขนาดชิ้นส่วนแม่พิมพ์

10123.3.02 220352
101M23.4

การกำหนดตัวแปรต่างๆ ที่จำเป็นในการออกแบบ

4.1 การเลือกวัสดุที่ใช้ทำแม่พิมพ์ให้เหมาะสม

10123.4.01 220353
101M23.4

การกำหนดตัวแปรต่างๆ ที่จำเป็นในการออกแบบ

4.2 กำหนดค่าความแข็ง และกระบวนการเคลือบผิวแม่พิมพ์

10123.4.02 220354

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ความรู้ด้านการออกแบบแม่พิมพ์

2. กรรมวิธีการทุบขึ้นรูปร้อน

3. ลักษณะของเครื่องจักรต่างๆ ที่ใช้ในกระบวนการทุบขึ้นรูปร้อน

4. ข้อจำกัดเบื้องต้นในชิ้นงานที่สามารถทุบขึ้นรูปร้อน

7. Geometric Dimensioning & Tolerancing (GD&T)

8. เครื่องมือและเครื่องมือกลที่ใช้ในการผลิต

9. กำหนดเงื่อนไขในการทุบขึ้นรูป

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การอ่านและเขียนแบบแม่พิมพ์

2. การสเก็ตช์แบบงาน

3. การใช้โปรแกรมช่วยในการออกแบบ

4. การสื่อสาร

5. การทำงานเป็นทีม

6. ความสามารถในการแก้ไขปัญหา

7. การเรียนรู้

8. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria)  และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1. อธิบายหรือระบุรายละเอียดของแบบชิ้นงาน

      2. ใบบันทึกผลจากการประเมินความรู้จากแบบทดสอบสัมภาษณ์

(ข) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1. แสดงแบบแม่พิมพ์ทุบขึ้นรูปร้อน

      2. ใบรับรองผลจากแบบประเมินผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

      ผู้ประเมินหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถประเมินโดยการพิจารณาร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

      1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

      2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

       -“แม่พิมพ์ทุบขึ้นรูปร้อนระดับกลาง” ในหน่วยสมรรถนะนี้หมายถึง อัตราส่วนระหว่างส่วนที่ลึกที่สุด (H) ต่อส่วนที่แคบที่สุด (t) ในแม่พิมพ์ประมาณ 1-1.5 เท่า)

      -“แนวกันครีบ” ในหน่วยสมรรถนะนี้ หมายถึง ขนาดแนวที่ป้องกันการไหลออกของโลหะ

      -“In-die Guiding” ในหน่วยสมรรถนะนี้หมายถึง เป็นตัวนำแม่พิมพ์บนและล่างในขณะที่เกิดการขึ้นรูป

      -“Cavity” ในหน่วยสมรรถนะนี้หมายถึง เบ้ารูปร่างชิ้นงาน

(ก) คำแนะนำ 

      1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องและสมบูรณ์

      2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถแสดงแนวคิดสำหรับในกระบวนการทุบขึ้นรูปร้อนแบบต่างๆได้ดี 

      3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้พื้นฐานของวัสดุที่นำมาใช้ทุบขึ้นรูปร้อน (Forge ability of materials)

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

       เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้ และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะ และความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะ ได้แก่

       1. แบบทดสอบการสังเกตการปฏิบัติงาน

      ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ