หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนด Process Design และ Die Layout แม่พิมพ์ทุบขึ้นรูปร้อน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-DTCO-559A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนด Process Design และ Die Layout แม่พิมพ์ทุบขึ้นรูปร้อน

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO - อาชีพช่างออกแบบแม่พิมพ์ทุบขึ้นรูปร้อน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้ ความเข้าใจการกำหนดข้อมูลการออกแบบชิ้นงานเพื่อทำการทุบขึ้นรูปร้อนในแต่ละขั้นตอน โดยการวิเคราะห์รายละเอียดจากแบบชิ้นงาน รวมถึงเข้าใจลักษณะของรูปร่างของชิ้นงาน ตลอดจนสามารถกำหนดข้อมูลของแม่พิมพ์ที่เหมาะสมกับเครื่องทุบขึ้นรูปร้อนได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
      อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
101M22.1

การรวบรวมข้อมูลความต้องการของลูกค้าเพื่อสรุปข้อมูลที่จำเป็นในการผลิต และการวิเคราะห์แบบชิ้นงานจากลูกค้าเพื่อเลือกกระบวนการ

1.1 รวบรวมความต้องการของลูกค้าเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน และเป็นประโยชน์ต่อการเลือกวิธีการผลิต

10122.1.01 220333
101M22.1

การรวบรวมข้อมูลความต้องการของลูกค้าเพื่อสรุปข้อมูลที่จำเป็นในการผลิต และการวิเคราะห์แบบชิ้นงานจากลูกค้าเพื่อเลือกกระบวนการ

1.2 วิเคราะห์รายละเอียดจากแบบชิ้นงาน เช่น จุดวิกฤตของชิ้นงาน (Critical Point)

10122.1.02 220334
101M22.1

การรวบรวมข้อมูลความต้องการของลูกค้าเพื่อสรุปข้อมูลที่จำเป็นในการผลิต และการวิเคราะห์แบบชิ้นงานจากลูกค้าเพื่อเลือกกระบวนการ

1.3 วิเคราะห์รายละเอียดจากแบบชิ้นงานที่ได้จากลูกค้าทางด้านรูปร่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่สามารถทำได้ และไม่ได้

10122.1.03 220335
101M22.1

การรวบรวมข้อมูลความต้องการของลูกค้าเพื่อสรุปข้อมูลที่จำเป็นในการผลิต และการวิเคราะห์แบบชิ้นงานจากลูกค้าเพื่อเลือกกระบวนการ

1.4 วิเคราะห์รายละเอียดจากแบบชิ้นงานที่ได้จากลูกค้าทางด้านวัสดุโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่สามารถทำได้ และไม่ได้

10122.1.04 220336
101M22.1

การรวบรวมข้อมูลความต้องการของลูกค้าเพื่อสรุปข้อมูลที่จำเป็นในการผลิต และการวิเคราะห์แบบชิ้นงานจากลูกค้าเพื่อเลือกกระบวนการ

1.5 เลือกกระบวนการ และประเภทของการทุบขึ้นรูปร้อน

10122.1.05 220337
101M22.2

การกำหนดขั้นตอนการทุบขึ้นรูป

2.1 กำหนดทิศทางในการทุปขึ้นรูป

10122.2.01 220338
101M22.2

การกำหนดขั้นตอนการทุบขึ้นรูป

2.2 กำหนดจำนวนขั้นตอนการขึ้นรูปตามความซับซ้อนของรูปร่างชิ้นงาน และจัดทำแบบรายละเอียดแต่ละขั้นตอน

10122.2.02 220339
101M22.2

การกำหนดขั้นตอนการทุบขึ้นรูป

2.3 กำหนดขนาดของเครื่องจักรที่ใช้สำหรับแม่พิมพ์ทุบขึ้นรูปร้อนได้อย่างเหมาะสม

10122.2.03 220340

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ความรู้ด้านการออกแบบแม่พิมพ์

2. กรรมวิธีการทุบขึ้นรูปร้อน

3. ลักษณะของเครื่องจักรต่างๆ ที่ใช้ในกระบวนการทุบขึ้นรูปร้อน

4. ข้อจำกัดเบื้องต้นในชิ้นงานที่สามารถทุบขึ้นรูปร้อน

7. Geometric Dimensioning & Tolerancing (GD&T)

8. เครื่องมือและเครื่องมือกลที่ใช้ในการผลิต

9. กำหนดเงื่อนไขในการทุบขึ้นรูป

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.การอ่านและเขียนแบบแม่พิมพ์

2.การสเก็ตช์แบบงาน

3.การใช้โปรแกรมช่วยในการออกแบบ

4.การสื่อสาร

5.การทำงานเป็นทีม

6.ความสามารถในการแก้ไขปัญหา

7.การเรียนรู้

8.การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria)  และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1. อธิบายหรือระบุรายละเอียดของแบบชิ้นงาน

      2. ใบบันทึกผลจากการประเมินความรู้จากแบบทดสอบสัมภาษณ์

(ข) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1. แสดงแบบลำดับขั้นตอนการทุบขึ้นรูปชิ้นงาน

      2. ใบรับรองผลจากแบบประเมินผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

      ผู้ประเมินหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถประเมินโดยการพิจารณาร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

       1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

       2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

      -“การให้แรง” ในหน่วยสมรรถนะนี้หมายถึง แรงต่อระยะ Strokes

      -“รูปร่างของชิ้นงาน”ในหน่วยสมรรถนะนี้หมายถึง  ชิ้นงานที่มีความลึก หรือ/และ มีการควบคุมความหนา 

      -“ขนาดของแม่พิมพ์” ในหน่วยสมรรถนะนี้หมายถึง ขนาด (ก×ย×ส)

(ก) คำแนะนำ 

      1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจในลักษณะของเครื่องทุบขึ้นรูปร้อนที่นำมาใช้โดยคำนึงถึงกลไกการให้แรง

      2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจลักษณะของรูปร่างของชิ้นงาน

      3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถกำหนดข้อมูลของแม่พิมพ์ที่เหมาะสมกับเครื่องทุบขึ้นรูปร้อนได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

      เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้ และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะ และความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะ ได้แก่

      1. แบบทดสอบการสังเกตการปฏิบัติงาน

      ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ