หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดขนาดของเครื่องจักรที่ใช้สำหรับแม่พิมพ์ทุบขึ้นรูปร้อน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-MRQY-556A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดขนาดของเครื่องจักรที่ใช้สำหรับแม่พิมพ์ทุบขึ้นรูปร้อน

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO - อาชีพช่างออกแบบแม่พิมพ์ทุบขึ้นรูปร้อน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้ และทักษะในการคำนวณแรงที่ใช้ในการทุบขึ้นรูป แรงปลดชิ้นงาน โดยต้องศึกษาแบบชิ้นงาน และข้อกำหนด เพื่อกำหนดขนาดของเครื่องจักรที่ใช้ในการปั๊มขึ้นรูปทั้งด้านแรงสูงสุดของเครื่อง และขนาดของ Bolster และระยะการเคลื่อนที่ของ Ram ตลอดจนสามารถกำหนดข้อมูลของแม่พิมพ์ที่เหมาะสมกับเครื่องทุบขึ้นรูปร้อนได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
      อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
101M19.1

เตรียมข้อมูลในการกำหนดขนาดของเครื่องจักร

1.1 ศึกษาแบบชิ้นงาน

10119.1.01 220310
101M19.1

เตรียมข้อมูลในการกำหนดขนาดของเครื่องจักร

1.2 ศึกษาแบบเครื่องทุบขึ้นรูปร้อน ขนาด Bolster ระยะต่างๆ ที่จำเป็นในการออกแบบแม่พิมพ์

10119.1.02 220311
101M19.2

กำหนดขนาดเครื่องทุบขึ้นรูปร้อน

2.1 เลือกเครื่องทุบขึ้นรูปร้อนให้เหมาะสมกับขนาด (ก×ย×ส) ของแม่พิมพ์ และแรงในการทุบขึ้นรูป

10119.2.01 220312
101M19.2

กำหนดขนาดเครื่องทุบขึ้นรูปร้อน

2.2 ความเหมาะสมของพื้นที่ในการจับยึดแม่พิมพ์เข้ากับเครื่องทุบขึ้นรูป

10119.2.02 220313
101M19.2

กำหนดขนาดเครื่องทุบขึ้นรูปร้อน

2.3 เลือกเครื่องทุบขึ้นรูปร้อนให้เหมาะสมกับความเร็วในการผลิต ระยะกระทุ้ง และข้อจำกัดของเครื่องทุบขึ้นรูป

10119.2.03 220314
101M19.2

กำหนดขนาดเครื่องทุบขึ้นรูปร้อน

2.4 กำหนดตำแหน่ง และขนาดความโตของรู Ejector Pin เพื่อใช้ในการออกแบบแม่พิมพ์ให้สอดคล้องกับเครื่องทุบขึ้นรูป

10119.2.04 220315

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ความรู้ด้านการออกแบบแม่พิมพ์

2. ความรู้ด้านคุณสมบัติของแต่ละชนิดวัสดุ

3. ความรู้ด้านกระบวนการทำงานของแม่พิมพ์

4. ความรู้ด้านการคำนวณแรงที่ใช้ขึ้นรูป แรงปลดชิ้นงาน

5. ความรู้ด้านการกำหนดขนาดเครื่องเพรส

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. สามารถอ่านแบบแม่พิมพ์

2. สามารถกำหนดแรงในขึ้นรูป

3. สามารถกำหนดแรงปลดชิ้นงาน

4. สามารถแสดงขนาด Bolster ระยะต่างๆ ที่จำเป็นในการออกแบบแม่พิมพ์

5. สามารถกำหนดขนาดเครื่องเพรส

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria)  และทักษะ และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1.  แสดงเอกสารรายงานผลการกำหนดขนาดเครื่องจักรที่ในการปั๊มขึ้นรูปร้อน

      2.  ใบรับรองผลจากแบบประเมินผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1.  อธิบาย หรือระบุรายละเอียดของแบบชิ้นงาน

      2.  อธิบายการคำนวณแรงที่ใช้ในการขึ้นรูป แรงปลดชิ้นงาน

      3.  ระบุขนาดเครื่องเพรส

      4.  ระบุขนาด และพื้นที่ของ Bolster

      5.  ใบรับรองผลจากการประเมินความรู้จากแบบทดสอบสัมภาษณ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

      ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดขนาดเครื่องจักรที่ใช้สำหรับแม่พิมพ์ปั๊ม โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง)    วิธีการประเมิน

      1. การสอบสัมภาษณ์

      2. การสังเกตการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

      -“เครื่องจักรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง” ในหน่วยสมรรถนะนี้หมายถึง เครื่องตัด เครื่องให้ความร้อน และอุปกรณ์ควบคุมการเย็นตัว

      -“ข้อกำหนดในแบบของลูกค้า” ในหน่วยสมรรถนะนี้หมายถึง ความแข็ง ความเหนียว และโครงสร้างทางโลหะวิทยา

      -“Bolster” ในหน่วยสมรรถนะนี้หมายถึง พื้นที่สำหรับยึดแม่พิมพ์

(ก) คำแนะนำ

      1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง และสมบูรณ์

      2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถแสดงแนวคิดสำหรับในกระบวนการทุบขึ้นรูปร้อนแบบต่างๆ ได้ดี

      3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้พื้นฐานของวัสดุที่นำมาใช้ทุบขึ้นรูปร้อน (Forge ability of materials)

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

      เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้ และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะ และความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะ ได้แก่

      1. แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์

      2. แบบทดสอบการสังเกตการปฏิบัติงาน

      ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ