หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนด Process Design และ Die Layout

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-CFXM-549A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนด Process Design และ Die Layout

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO - อาชีพช่างออกแบบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ

         3115 ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมเครื่องกล

         3118 ช่างเขียนแบบ

         3118.30 ช่างเขียนแบบเครื่องกล

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีทักษะด้านการวาง Process Design และ Die Layout โดยจะต้องคำนึงถึงการกำหนดขั้นตอนการขึ้นรูปตามลำดับก่อนหลัง กำหนดระนาบ และทิศทางการขึ้นรูป และออกแบบรูปร่าง และจัดวางตำแหน่งของการขึ้นรูปตามแต่ละขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้แล้ว

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
      อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
101M12.1

เตรียมข้อมูลในการกำหนด Process Design และ Die Layout

1.1 ศึกษาแบบ และข้อกำหนดของชิ้นงาน

10112.1.01 220256
101M12.1

เตรียมข้อมูลในการกำหนด Process Design และ Die Layout

1.2 ศึกษาขีดจำกัดการขึ้นรูป

10112.1.02 220257
101M12.2

กำหนด Process Design และ Die Layout

2.1 กำหนดขั้นตอนการขึ้นรูปตามลำดับก่อนหลัง

10112.2.01 220258
101M12.2

กำหนด Process Design และ Die Layout

2.2 กำหนดระนาบ และทิศทางการขึ้นรูป

10112.2.02 220259
101M12.2

กำหนด Process Design และ Die Layout

2.3 ออกแบบรูปร่าง และจัดวางตำแหน่งของการขึ้นรูปตามแต่ละขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้แล้ว

10112.2.03 220260

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.   สามารถกำหนดขั้นตอนการขึ้นรูปตามลำดับก่อนหลัง

2.   สามารถกำหนดระนาบ และทิศทางการขึ้นรูป

3.   สามารถออกแบบรูปร่าง และจัดวางตำแหน่งของการขึ้นรูปตามแต่ละขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้แล้ว

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.   ความรู้เกี่ยวกับการเขียนแบบภาพฉายในระบบ ISO Method-E และ ISO Method-A

2.   ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการขึ้นรูปโลหะแผ่น ทฤษฎีการตัดโลหะแผ่น ทฤษฎีพับ-ดัดโลหะแผ่น ทฤษฎีการลากขึ้นรูปโลหะแผ่น

3.   ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้าง ชิ้นส่วน และกลไกการทำงานของแม่พิมพ์

4.   ความรู้เกี่ยวกับการอ่านแบบชิ้นงาน และข้อกำหนด

5.   ความรู้เกี่ยวกับขีดจำกัดการขึ้นรูปของวัสดุ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะ และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and

Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1.  แสดงขั้นตอนการขึ้นรูปตามหลักทฤษฎี

      2.   แสดงวิธีการในการกำหนดระนาบ และทิศทางการขึ้นรูป

      3.  แบบงานแสดง Process Design และ Die Layout

      4.  ใบรับรองผลจากแบบประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1.  อธิบาย หรืออ่านเพื่อตีความหมายของแบบภาพฉายในระบบ ISO Method-E และ ISO Method-A

      2.  อธิบายหรือกำหนดกระบวนการขึ้นรูปโลหะแผ่นตามหลักการหรือทฤษฎี

      3.  อธิบายขีดจำกัดการขึ้นรูป

      4.  ใบรับรองผลจากการประเมินความรู้จากแบบทดสอบข้อเขียน และสัมภาษณ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

      ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนด Process Design และ Die Layout ของแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง)    วิธีการประเมิน

      1. การสอบสัมภาษณ์

      2. การสาธิตการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ

      1.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับข้อกำหนด และมาตรฐานการผลิต

      2.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องเขียนรายงาน หรืออธิบายขั้นตอนการทำงาน ในการกำหนด Process Design และ Die Layout

      3.  ผู้เข้ารับการประเมินสามารถเลือกใช้ขนาดมาตรฐานของแผ่นวัสดุ ตามมาตรฐาน JIS, AISI, DIN, มอก. หรือมาตรฐานฐานที่เทียบเท่า

      4.  ผู้เข้ารับการประเมินสามารถออกแบบชุดการกำหนด Process Design และ Die Layout คำนึงถึงความเที่ยงตรง ความคุ้มค่าในการใช้วัสดุโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

      1.  การจัดทำ Process Design และ Die Layout ของแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ โดยไม่มีข้อจำกัดทางด้าน Software ที่เลือกใช้

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

      เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้ และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะ และความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะ ได้แก่

      1.   แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์

      2.   แบบทดสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ