หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบวิธีการรวบรวมข้อมูล

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-WLOK-934A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบวิธีการรวบรวมข้อมูล

3. ทบทวนครั้งที่ 1 /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 2359 ผู้ประกอบวิชาชีพอื่นๆ ด้านการสอน ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับมีความรู้ และทักษะที่จำเป็นในการกำหนดวิธีการและกำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลสำหรับการประเมินหลักสูตร การวิเคราะห์ตัวชี้วัดเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในการประเมินหลักสูตร การสรุปผลการประเมินหลักสูตร รวมถึงการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร สาขางานท่องเที่ยว

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30201.01

กำหนดวิธีการเครื่องมือประเมินหลักสูตร

1.1 เตรียมข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

1.2 ออกแบบวิธีการกำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้อย่างเหมาะสม

1.3 สรุปผลการกำหนดเครื่องมือตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้


30201.01.01 220132
30201.02

วิเคราะห์ผลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในการประเมินหลักสูตร

2.1 เตรียมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ประเมินผลลัพธ์การบริหารหลักสูตร

2.2 วิเคราะห์ตัวชี้วัดเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในการประเมินหลักสูตรตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 


30201.02.01 220133
30201.03

สรุปผลการประเมินหลักสูตร

3.1 จัดทำรายงานผลการประเมินหลักสูตรตามเกณฑ์ที่กำหนด
3.2 ตรวจสอบผลการประเมินตามเกณฑ์ที่กำหนด

30201.03.01 220134
30201.04

ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร

4.1 ระบุปัญหาอุปสรรค และข้อค้นพบจากผลการประเมินและการนำหลักสูตรไปใช้

4.2 ระบุหัวข้อการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับผลการประเมิน

4.3 กำหนดวิธีการและขั้นตอนการปรับปรุงหลักสูตร

4.4  เปรียบเทียบผล ข้อดี ข้อเสียระบุผลที่คาดว่าจะได้รับ และผลสัมฤทธิ์จากการปรับปรุงหลักสูตร


30201.04.01 220135

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- เตรียมข้อมูลออกแบบวิธีการและกำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลสำหรับการประเมินหลักสูตร



- กำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลสำหรับการประเมินหลักสูตร



- สรุปผลการกำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลสำหรับการประเมินหลักสูตร



- เตรียมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ประเมินผลลัพท์การบริหารหลักสูตร



- วิเคราะห์ตัวชี้วัดเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในการประเมินหลักสูตร



- สรุปผลการรายงานผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร



- เตรียมข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนา



- ออกแบบวิธีการนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนา



- สรุปผลการนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนา



- วิธีการมีส่วนร่วมในการวางแผนและพัฒนากระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- รูปเล่มรายงานการวิเคราะห์ตัวชี้วัดเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในการประเมินหลักสูตร



- การปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และ ควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



  1. หลักฐานแสดงประสบการณ์การทำงานด้านการสอนมัคคุเทศก์ หรือการสอนสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง



  2. หลักฐานการผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง



  3. ผลงาน/รางวัล จากการปฏิบัติงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          - เอกสารรวบรวมข้อมูลสำหรับการประเมินหลักสูตร




  • คำแนะนำในการประเมิน



หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยต้องแสดงถึง 



1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฏระเบียบที่เกี่ยวข้อง



3. ขอบเขตด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน



     1. ข้อสอบปรนัย



     2. แบบสัมภาษณ์



     3. แบบสำรวจรายการ


15. ขอบเขต (Range Statement)

ระบบการประเมินหลักสูตร หมายถึง การตรวจสอบประสิทธิภาพของการใช้หลักสูตร รวมทั้งประสิทธิผลของหลักสูตร โดยมีการวางแผน การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งจะนำไปสู่การตัดสินคุณค่า (value judgments) ของหลักสูตรในมิติต่างๆ รวมทั้งการปรับปรุงหลักสูตรบนพื้นฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ (empirical data) ที่ได้จากการประเมินหลักสูตร มีการรายงานผลการประเมินต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ระบบการประเมินหลักสูตรประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) การวางแผนการประเมิน 2) การวางแผนเก็บข้อมูล 3) การเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล และ 4) การรายงานผลต่อผู้เกี่ยวข้อง โดยแต่ละกิจกรรมมีสาระสำคัญดังนี้



          1) การวางแผนการประเมิน หมายถึง การออกแบบการประเมินหลักสูตรอย่างเป็นระบบ และสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการประเมินเพื่อให้ได้ผลการประเมินที่มีความถูกต้องและสามารถนำไปใช้เป็นสารสนเทศสำหรับการปรับปรุงหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ การกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินการกำหนดกรอบการประเมิน การกำหนดวิธีการเครื่องมือสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูล การกำหนดแหล่งข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และเกณฑ์การประเมินการวางแผนการประเมินเป็นสิ่งสำคัญต่อการประเมินหลักสูตรเพราะเปรียบเสมือนพิมพ์เขียว (blue print) ของการดำเนินการจริง ช่วยทำให้การประเมินหลักสูตรมีความถูกต้องและประหยัดงบประมาณได้เป็นอย่างดี



          2) การวางแผนเก็บข้อมูล หมายถึง การเตรียมความพร้อมก่อนดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การเตรียมเครื่องมือสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูล การติดต่อประสานงานและนัดหมายวันเวลาสถานที่กับผู้ให้ข้อมูล การกำหนดบุคคลที่จะทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูล การบันทึกข้อมูล ตลอดจนผู้ทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลและเขียนรายงานผลการประเมิน ระยะเวลาการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ประเมินหลักสูตรต้องวางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูลให้สอดคล้องกับแผนการการประเมินเพื่อให้การประเมินบรรลุจุดมุ่งหมายอย่างมีประสิทธิภาพ การวางแผนเก็บรวบรวมข้อมูลที่ดี จะทำให้การเก็บข้อมูล มีความประหยัดทั้งในด้านเวลา งบประมาณและทรัพยากรอื่นๆ ทำให้ผลการประเมินมีความถูกต้อง



          3) การเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล หมายถึง การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามแผนที่กำหนดไว้ แล้วนำมาวิเคราะห์และแปลความหมายตลอดจนลงสรุปผลการประเมิน การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ดีต้องได้ข้อมูลครบถ้วนทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ นอกจากนี้ยังต้องมีความซื่อสัตย์ต่อข้อมูล การเก็บข้อมูลในการประเมินหลักสูตรมีความซับซ้อน เนื่องจากต้องใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการ ที่หลากหลาย เช่น การสัมภาษณ์ การสังเกตพฤติกรรม การสอบถามการประเมินเอกสาร เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สอดคล้องกับวิธีการเก็บข้อมูลอีกด้วย สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ประเมินหลักสูตรต้องวิเคราะห์อย่างตรงไปตรงมา และไม่นำมุมมองของตนเองไปใช้เป็นเกณฑ์การประเมินหลักสูตรเพราะจะทำให้ผลการประเมินมีความคลาดเคลื่อน ส่วนการสรุปผลการประเมินต้องสรุปไปตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า อย่างไรก็ตามหากมีประเด็นอื่นที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อหลักสูตรยังสามารถนำเสนอเพิ่มเติมได้



          4) การรายงานผลต่อผู้เกี่ยวข้อง หมายถึง การสื่อสารข้อสรุปจากการประเมินหลักสูตรด้วยวิธีการต่างๆ อย่างเหมาะสมไปยังผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับหลักสูตรทุกฝ่าย เช่น ผู้บริหาร ผู้สอน ผู้สนับสนุน ผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชนการรายงานผลต่อผู้เกี่ยวข้องมีความสำคัญมากในฐานะที่จะทำให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายได้มีโอกาสรับรู้คุณภาพของหลักสูตรในประเด็นต่างๆ ทั้งที่เป็นจุดแข็งและจุดที่ต้องปรับปรุงแก้ไข อันจะนำไปสู่การปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การปรับเปลี่ยนจุดมุ่งหมายของหลักสูตร การเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผล การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร การจัดซื้อจัดหาวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตลอดจนการปรับปรุงแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา อย่างไรก็ตามการรายงานผลการประเมินหลักสูตรจะต้องใช้วิธีการสื่อสารเชิงบวก (positive communication) และเสริมพลัง (empowerment) ที่ช่วยให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของหลักสูตรทั้งระบบ



          สรุประบบการประเมินหลักสูตร คือ ระบบที่เชื่อมโยงมาจากระบบการบริหารหลักสูตรและระบบร่างหลักสูตรในการพัฒนาหลักสูตรเชิงระบบ ซึ่งเป็นกระบวนการวางแผน เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลนำไปสู่การตัดสินคุณค่าของหลักสูตรในมิติต่างๆ บนพื้นฐานข้อมูลสารสนเทศเชิงประจักษ์ ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) การวางแผนการประเมิน 2) การวางแผนเก็บรวบรวมข้อมูล 3) การเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล 4) การรายงานผลต่อผู้เกี่ยวข้อง (มารุต พัฒผล., 2567)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ข้อสอบปรนัย



2. ข้อสอบสัมภาษณ์



3. แบบสำรวจแฟ้มสะสมผลงาน



 



ยินดีต้อนรับ