หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ริเริ่มและวางแผนโครงการภายใต้รัฐบาลดิจิทัล

สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ DG-WPJL-028

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ริเริ่มและวางแผนโครงการภายใต้รัฐบาลดิจิทัล

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถเริ่มต้นในการทำโครงการ (Project Initiation) กำหนดเป้าประสงค์ของโครงการ จัดการผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ จัดทำกฏบัตรโครงการ วางแผนการดำเนินโครงการ และวางแผนโครงการได้ (Project Planning) ตลอดจนการประเมินความคุ้มค่าในการพัฒนาบริการดิจิทัล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
DL401

กำหนดเป้าประสงค์ของโครงการ

กำหนดขอบเขตและผลลัพธ์ที่ชัดเจนของโครงการได้ DL401.01 217369
DL401

กำหนดเป้าประสงค์ของโครงการ

วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Analysis)
DL401.02 217370
DL402

ประเมินความคุ้มค่าในการทำโครงการ (Cost-Benefit Analysis)

วิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อสนับสนุนการประเมินความคุ้มค่าของการพัฒนาบริการดิจิทัลได้
DL402.01 217371
DL402

ประเมินความคุ้มค่าในการทำโครงการ (Cost-Benefit Analysis)

ระบุต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบริการดิจิทัลได้
DL402.02 217372
DL402

ประเมินความคุ้มค่าในการทำโครงการ (Cost-Benefit Analysis)

ระบุประโยชน์ที่จะได้รับจากการพัฒนาบริการดิจิทัลได้ DL402.03 217373
DL402

ประเมินความคุ้มค่าในการทำโครงการ (Cost-Benefit Analysis)

ระบุผลกระทบและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาบริการดิจิทัลต่อผู้ใช้และองค์กรได้

DL402.04 217374
DL402

ประเมินความคุ้มค่าในการทำโครงการ (Cost-Benefit Analysis)

สื่อสารผลการประเมินความคุ้มค่าในการพัฒนาบริการดิจิทัลไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจและนำไปสู่การตัดสินใจที่ถูกต้องได้

DL402.05 217375
DL403

จัดการผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ

ระบุหน่วยงานหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการได้ (Identify stakeholders)
DL403.01 217376
DL403

จัดการผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ

วิเคราะห์บทบาทและความสำคัญของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ
DL403.02 217377
DL403

จัดการผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ

รวบรวมความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ DL403.03 217378
DL403

จัดการผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ

สื่อสารและทำงานร่วมกันกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการด้วยเครื่องมือดิจิทัล
DL403.04 217379
DL404

จัดทำกฏบัตรโครงการ (Project Charter)

ระบุอุปสรรค และความเสี่ยงในภาพรวมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการ
DL404.01 217380
DL404

จัดทำกฏบัตรโครงการ (Project Charter)

กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ DL404.02 217381
DL404

จัดทำกฏบัตรโครงการ (Project Charter)

รวบรวมข้อมูลทั้งหมดเพื่อนำเสนอขออนุมัติโครงการ DL404.03 217382
DL405

วางแผนการดำเนินโครงการ

กำหนดความต้องการ (Requirement) ของโครงการครบถ้วนตามเป้าประสงค์
DL405.01 217383
DL405

วางแผนการดำเนินโครงการ

ระบุสิ่งที่ต้องส่งมอบและเงื่อนไขการตรวจรับในแต่ละช่วงเวลาได้
DL405.02 217384
DL405

วางแผนการดำเนินโครงการ

ระบุข้อจำกัดและเงื่อนไขของโครงการให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับ
DL405.03 217385
DL406

จัดทำงบประมาณโครงการ และการนำระบบดิจิทัลไปใช้

สามารถประเมินงบประมาณของโครงการได้ DL406.01 217386
DL406

จัดทำงบประมาณโครงการ และการนำระบบดิจิทัลไปใช้

ประมาณการค่าใช้จ่ายในการนำโครงการดิจิทัลไปใช้ (Implementation Cost Estimation) DL406.02 217387
DL406

จัดทำงบประมาณโครงการ และการนำระบบดิจิทัลไปใช้

จัดทำรายงานเพื่อเสนอของบประมาณโครงการและการนำไปใช้
DL406.03 217388

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

−    ทักษะการเรียนรู้ในศตวววษที่ 21

−    ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบราชการ หน้าที่ความรับผิดชอบ และการบริหารจัดการภาครัฐ

−    ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายปกครอง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการ กฎหมายว่าด้วยการละเมิด

−    ความรู้เกี่ยวกับทิศทางและยุทธศาสตร์ของประเทศ 

−    ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

−    มองเห็นภาพรวมและความเชื่อมโยงระหว่างการทำงานของตนเองและคนอื่น (Holistic View and Task Linkage)

−    ทักษะการสื่อสารและการสร้างความร่วมมือ (Communication and Collaboration)

−    สร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ (Networking Ability)

−    การชี้ชวนและการเจรจาต่อรอง (Convincing and Negotiation) 

−    จูงใจให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อคล้อยตาม (Interpersonal Influencing)

−    กล้าตัดสินใจ กล้ารับความเสี่ยง (Risk Taking)

−    มีความคิดริเริ่ม (Innovative)

−    เปิดใจรับสิ่งใหม่ ๆ (Open to New Experience)

(ข) ความต้องการด้านความรู้

−    ความรู้เกี่ยวกับเป้าหมาย พันธกิจ กระบวนการทำงานและการให้บริการของหน่วยงาน

−    เทคนิคการวิเคราะห์กระบวนการทำงานทางธุรกิจ (Business process modeling and analysis)

−    เทคนิคการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ (Feasibility analysis)

−    เทคนิคการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการทำโครงการ (Cost Benefit Analysis)

−    ความรู้ด้านการจัดการความเสี่ยงดิจิทัล (Digital Risk Management)

−    ความรู้ด้านการจัดทำกฏบัตรโครงการ (Project Charter)

−    ความรู้ด้านการระบุความต้องการประกอบ (Non-functional requirement)

−    เทคนิคการสร้างโครงสร้างแยกย่อยงาน (Work Breakdown Structure)

−    เทคนิคการประเมินงบประมาณ (Estimation method) 

−    ความรู้พื้นฐานการควบคุมและประกันคุณภาพ (Quality control and Quality assurance)

−    ความรู้ด้านการจัดการโครงการ (Project Management)

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน(PerformanceEvidence)

-    หลักฐานการริเริ่มและวางแผนโครงการภายใต้รัฐบาลดิจิทัล

-    เอกสารหรือรายงานที่แสดงถึงการริเริ่มและวางแผนโครงการภายใต้รัฐบาลดิจิทัล

(ข)    หลักฐานความรู้(KnowledgeEvidence)

−    ประกาศนียบัตรด้านการจัดการโครงการ (Project Management) 

−    ประกาศนียบัตรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความเสี่ยง (Risk Management) 

−    ผลการทดสอบความรู้ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 

−    ประกาศนียบัตรต่างๆ จากการฝึกอบรมพัฒนาหรือการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

-    พิจารณาความเป็นสากลและเป็นที่ยอมรับของประกาศนียบัตร

-    พิจารณาได้จากคุณภาพของหลักฐานการปฏิบัติงาน 

-    ตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้ 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

หน่วยสมรรถนะนี้ควรเลือกใช้กับโครงการขนาดกลางขึ้นไป โดยพิจารณาจากมูลค่าโดยประมาณ

ของโครงการ (Estimated Budget) ที่ไม่ต่ำกว่า 500,000 บาท หรือเป็นโครงการที่ใช้เวลาโดยประมาณ (Estimated Effort) ไม่ต่ำกว่า 10 คน/เดือน (Man-month) 

(ก) คำแนะนำ

กรณีจัดการโครงการในรูปแบบพลวัตรปรับต่อเนื่อง (Agile)

−    SPM404 วางแผนการดำเนินโครงการ จะต้องกำหนดช่วงเวลาและเงื่อนไขการส่งมอบในรูปแบบ

ชิ้นงานที่ใช้ได้ตามกำหนดช่วงเวลา (Minimum Viable Product on Release based) 

−    SPM405 จัดทำงบประมาณโครงการและการนำระบบดิจิทัลไปใช้ ควรประเมินค่าใช้จ่ายและเสนอ

ของบประมาณตามช่วงเวลาการส่งมอบ (Release) โดยพิจารณาชิ้นงานที่ส่งมอบล่าสุดแล้วจึงกำหนด

สิ่งที่ต้องการในการส่งมอบถัดไปแล้วประเมินค่าใช้จ่าย

−    SPM407 วางแผนจัดการความเสี่ยงโครงการ ควรดำเนินการทุกวงรอบ (Release/Time box) โดยประเมินสถานการณ์ล่าสุดและวางแผนจัดการความเสียงเฉพาะหน้าที่จะเกิดขึ้นในวงรอบถัดไป





(ข) คำอธิบายรายละเอียด

−    ความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility study) เป็นการศึกษาเพื่อตัดสินใจในการทำโครงการ

ประกอบด้วย 

o    การสร้างความแตกต่างเมื่อโครงการสำเร็จ

o    ความเป็นไปได้ด้านเทคโนโลยี

o    กระบวนการ กฎหมายและกฎระเบียบ 

o    ความปลอดภัย

o    สิ่งแวดล้อม

−    ความคุ้มค่าในการทำโครงการ (Cost Benefit Analysis) เป็นการคำนวณผลตอบแทน โดยคิดครอบคลุมเงินลงทุนทั้งหมด ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ จุคคุ้มทุน

−    กฏบัตรโครงการ (Project Charter) เป็นเอกสารสรุปข้อมูลโครงการเพื่อขออนุมัติ มีเนื้อหาหลัก คือ

o    วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ

o    กรอบเวลา วันที่เริ่มต้นและวันสิ้นสุดโครงการ

o    เหตุผลที่จำเป็นต้องมีโครงการ

o    ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญของโครงการ

o    บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมในโครงการ

o    ผลลัพธ์ที่คาดหมายและตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ

o    ทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินโครงการ

o    อุปสรรค และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการ

−    การประเมินงบประมาณของโครงการ (Cost estimation) เป็นส่วนสำคัญในการวางแผนโครงการ

เพื่อให้รู้งบประมาณโดยสังเขป โดยการประเมินควรอ้างอิงโมเดลสากลที่ใช้ทั่วไป เช่น Analogous, Parametric, PERT, Bottom-up เป็นต้น

−    การระบุความเสี่ยงของโครงการที่อาจเกิดขึ้น (Risk identification) คือการระบุความเสี่ยงทุกประเภท

ที่เผชิญอยู่หรือแฝงอยู่ในการดำเนินโครงการ

−    การจัดกลุ่มความเสี่ยงของโครงการ (Risk Categorization) คือการแยกความเสี่ยงเป็นหมวดหมู่

ตามความเหมาะสม เช่น แยกตามแหล่งที่มา สาเหตุ ช่วงการดำเนินโครงการ หรือกิจกรรมในการดำเนินโครงการ การจัดกลุ่มมีความสำคัญโดยช่วยให้เห็นโครงสร้าง ง่ายต่อการประเมินและจัดการความเสี่ยง

−    การวิเคราะห์ผลกระทบของความเสี่ยง (Risk Impact Analysis) และสร้างตารางสรุปผลกระทบฯ โดยพิจารณาจาก

o    โอกาสที่จะเกิด (Likelihood) หมายถึง ความถี่หรือโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ ความเสี่ยง

o    ผลกระทบ (Impact) หมายถึง ขนาดความรุนแรงของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากเกิด เหตุการณ์ความเสี่ยง



−    การสร้างโครงสร้างแยกย่อยงาน (Work Breakdown Structure) คือการกระจายงานที่มีขอบเขต

ใหญ่ลงไปให้มีขนาดเล็กและมีองค์ประกอบที่จัดการได้ง่ายขึ้น โดยมากมักแสดงในลักษณะแผนภูมิ

เพื่อให้เห็นโครงสร้างชัดเจนเข้าใจง่าย

−    การวิเคราะห์กระบวนการทำงานทางธุรกิจ (Business process modeling and analysis) คือความเข้าใจในกระบวนการทำงาน สามารถเขียนอธิบายในรูปแบบแผนผังแสดงการไหลของขั้นตอน

และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์จุดอ่อนและสิ่งที่ปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้

−    เอกสารระบุความต้องการ (Business requirement document) ประกอบด้วย ความต้องการด้านธุรกิจทั้งหมดที่เป็นผลลัพธ์ของโครงการ โดยเอกสารควรใช้รูปแบบที่เป็นสากล เช่น Use case, SRS และอาจประกอบด้วยรูปภาพแสดงลำดับขั้นตอนการทำงาน เช่น UML diagrams, Dataflow diagram, Workflow diagram เป็นต้น

−    ความต้องการอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับหน้าที่หลัก (Non-functional requirement) คือผลลัพธ์ของโครงการที่ไม่เกี่ยวข้องกับหน้าที่หลัก แต่เป็นคุณสมบัติประกอบที่จำเป็นต้องมี เช่น การรักษาความปลอดภัย เวลาตอบสนอง ความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูล ความสามารถในการรองรับจำนวนผู้ใช้บริการ เป็นต้น 

−    เทคนิคการประเมินงบประมาณ (Estimation Method) การประเมินงบประมาณของโครงการ

มีเทคนิคสากลให้เลือกใช้หลายรูปแบบ เช่น Expert Judgment, Analogous, Top-down, Parametric model, PERT ควรพิจารณาสถานการณ์และสภาพแวดล้อมเพื่อเลือกใช้เทคนิค

ที่เหมาะสม  

−    ตารางการสื่อสาร (Communication Matrix) คือรายละเอียดการสื่อสารกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

และคณะทำงานโครงการ ประกอบด้วย รายชื่อบุคคล รายการข้อมูลที่ต้องสื่อสาร ชั้นความลับ ช่วงเวลาและช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม เป็นต้น

−    ทะเบียนข้อมูลความเสี่ยง (Risk Register) เป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญในการวางแผนการบริหาร

ความเสี่ยง วางกรอบการปฏิบัติงานในการตรวจติดตามปัญหาที่อาจจะมีผลต่อการดำเนินโครงการ และใช้ประเมินเปรียบเทียบการลดลงของโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง ความรุนแรงของผลกระทบ

จากเหตุการณ์ความเสี่ยง ข้อมูลสำคัญในทะเบียนประกอบด้วยชื่อและรายละเอียด ประเภทความเสี่ยง

 โอกาสการเกิด ความรุนแรงหรือผลกระทบ วิธีการควบคุมความเสี่ยง ฯลฯ

−    การรับมือความเสี่ยง (Risk Treatments) คือวิธีที่เลือกใช้เพื่อลดความรุนแรงจากผลกระทบ

เมื่อเกิดเหตุการณ์ หรือลดโอกาสการเกิดความเสี่ยงแต่ละประเภท ประกอบด้วยวิธีหลัก ๆ คือ การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Avoidance) การโอนย้ายความเสี่ยง (Transfer) การลดความเสี่ยง (Reduce) การยอมรับความเสี่ยง (Accept) และการยุติความเสี่ยง (Terminate)

−    การประเมินความคุ้มค่าของโครงการ (Cost-Benefit Analysis) เป็นเทคนิคสำหรับการค้นหา

ต้นทุนและผลประโยชน์ที่คิดค่าออกมาเป็นตัวเงินของโครงการ ณ ช่วงเวลาที่กำหนดให้ การประเมินจะพิจารณามุมมองทางเศรษฐศาสตร์ สังคมหรือเชิงสวัสดิการ พิจารณาผลกระทบ

ของโครงการต่อประชาชนหรือสภาพแวดล้อมภายนอกโครงการ ควบคู่กับต้นทุนและผลประโยชน์

ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากโครงการ

−    ต้นทุนคุณภาพ (Cost of Quality) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องจากกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ของโครงการที่มีคุณภาพยอมรับได้ เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการวัด

ประสิทธิภาพการบริหารคุณภาพ ต้นทุนคุณภาพมีทั้งทางตรงและทางอ้อม 

o    ต้นทุนทางตรง เช่น ต้นทุนการป้องกัน, ต้นทุนการตรวจสอบ, ต้นทุนจากความบกพร่องด้านคุณภาพ

o    ต้นทุนทางอ้อม เช่น ต้นทุนเมื่อผู้ใช้ได้รับความเสียหาย ต้นทุนการเสียชื่อเสียง เป็นต้น

o    เป้าหมายของการทำโครงการคือต้องลดต้นทุนคุณภาพโดยรวมให้เหลือน้อยที่สุด โดยพิจารณาการลงทุนต่อการจัดการต้นทุนทั้งทางตรงและทางอ้อมให้สมดุลย์และเหมาะสม  

−    การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) หมายถึงกิจกรรมที่เกิดขึ้นในโครงการเพื่อให้มั่นใจว่าผลลัพธ์

ของโครงการมีคุณภาพยอมรับได้ โดยมากกิจกรรมหลักคือการตรวจสอบหาความผิดพลาดของผลลัพธ์

เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องก่อนจะนำออกใช้งานจริง

−    การประกันคุณภาพ (Quality Assurance) เป็นการบริหารจัดการเพื่อสร้างความมั่นใจว่ากระบวน

การหรือการดำเนินงานจะได้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพตรงตามที่กำหนด โดยกิจกรรมหลักมุ่งไปที่การตรวจสอบ

และปรับปรุงกระบวนการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด

−    ผลลัพธ์โครงการที่น้อยที่สุดที่เพียงพอใช้งานได้ (Minimum Viable Product) เป็นแนวคิดในการจัดการโครงการแบบอไจล์ ซึ่งมองว่าผลลัพธ์ของโครงการทั้งหมดมีขนาดใหญ่

และมีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้อยู่เสมอ แทนที่จะใช้เวลานานในการทำงานให้ได้ผลลัพธ์ทั้งหมดในครั้งเดียว

ก็เปลี่ยนมาใช้เวลาเพียงสั้นๆ ผลิตผลลัพธ์ที่มีขนาดเล็กที่พอใช้งานได้เฉพาะส่วนแล้วนำออกไปทดลองใช้

หรือให้ผู้ใช้จริงทำงานเพื่อเก็บผลนำเอาข้อเสนอแนะกลับมาปรับปรุงให้ตรงตามความต้องการ จากนั้นก็ค่อยๆ เพิ่มความสามารถให้มากขึ้นวนซ้ำไปเรื่อยๆ จนได้ผลลัพธ์ทั้งหมดของโครงการ

−    รุ่นของผลลัพธ์ (Release) การส่งมอบผลลัพธ์ของโครงการอาจมีการแบ่งส่งมอบเป็นรุ่น โดยการวางแผนโครงการจะมีการกำหนดคุณสมบัติที่คาดหวังในแต่ละรุ่นที่จะส่งมอบรวมถึงช่วงเวลา ในกรณีมีการปรับปรุงหรือแก้ไขผลลัพธ์ก็อาจรวบรวมส่งมอบเป็นรุ่นได้เช่นกัน 

−    ระยะเวลาการทำงานวนรอบ (Time box) เป็นแนวคิดในการจัดการโครงการแบบอไจล์ โดยแบ่งเวลาในการพัฒนาโครงการเป็นช่วงๆ และมีการกำหนดผลลัพธ์ที่จะได้อย่างชัดเจนทีละช่วงไป ในการทำงานเป็นทีมย่อยอาจกำหนดระยะเวลาการทำงานวนรอบในระดับ 2-4 สัปดาห์ ในระดับการส่งมอบผลลัพธ์โครงการ (Release) อาจกำหนดเป็นใน 2-6 เดือน เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน



ยินดีต้อนรับ