หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบองค์กรดิจิทัล

สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ DG-EJJM-026

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบองค์กรดิจิทัล

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ (Forward thinking) ใช้ความรู้ในการวิเคราะห์องค์กรปัจจุบันและเปรียบเทียบกับองค์กรดิจิทัลอนาคตออกแบบองค์ประกอบองค์กรดิจิทัล (Future Design) เพื่อจัดทำพิมพ์เขียว 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
DL201

วิเคราะห์องค์กรปัจจุบันเปรียบเทียบกับองค์กรดิจิทัลอนาคต 

กำหนดกระบวนงานหลักขององค์กรดิจิทัลที่ควรจะเป็นให้สอดคล้องกับนโยบายและกลยุทธ์ 
DL201.01 217398
DL201

วิเคราะห์องค์กรปัจจุบันเปรียบเทียบกับองค์กรดิจิทัลอนาคต 

กำหนดบทบาทหน้าที่ ภาระงาน และทักษะ ของบุคลากรในกระบวนงานหลักขององค์กรดิจิทัลที่ควรจะเป็น 
DL201.02 217399
DL201

วิเคราะห์องค์กรปัจจุบันเปรียบเทียบกับองค์กรดิจิทัลอนาคต 

วิเคราะห์ข้อมูลหลัก (Core Data) เพื่อการแลกเปลี่ยนเชื่อมต่อข้อมูล (Information Sharing) นำไปสู่องค์กรดิจิทัล
DL201.03 217400
DL201

วิเคราะห์องค์กรปัจจุบันเปรียบเทียบกับองค์กรดิจิทัลอนาคต 

วิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) เพื่อใช้เป็นข้อมูลวางแผนองค์กรดิจิทัล

DL201.04 217401
DL202

ออกแบบส่วนประกอบขององค์กรดิจิทัล 

ปรับโครงสร้างองค์กรและวิธีการบริหารจัดการที่เหมาะสมกับองค์กรดิจิทัล
DL202.01 217402
DL202

ออกแบบส่วนประกอบขององค์กรดิจิทัล 

ปรับปรุงรูปแบบการบริหารจัดการบุคลากรให้เหมาะสมกับองค์กรดิจิทัล 
DL202.02 217403
DL202

ออกแบบส่วนประกอบขององค์กรดิจิทัล 

ระบุอุปกรณ์เครื่องมือ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสู่องค์กรดิจิทัล
DL202.03 217404
DL203

ส่งมอบพิมพ์เขียว (Blueprint) องค์กรดิจิทัล 

จัดทำพิมพ์เขียว (Blueprint) องค์กรดิจิทัล DL203.01 217405
DL203

ส่งมอบพิมพ์เขียว (Blueprint) องค์กรดิจิทัล 

สื่อสารภายในและระหว่างหน่วยงานให้เข้าใจถึงการปรับเปลี่ยนไปสู่องค์กรดิจิทัล
DL203.02 217406
DL203

ส่งมอบพิมพ์เขียว (Blueprint) องค์กรดิจิทัล 

ระบุอุปกรณ์เครื่องมือ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสู่องค์กรดิจิทัล
DL203.03 217407

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

−    ทักษะการเรียนรู้ในศตวววษที่ 21

−    ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบราชการ หน้าที่ความรับผิดชอบ และการบริหารจัดการภาครัฐ

−    ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายปกครอง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการ กฎหมายว่าด้วยการละเมิด

−    ความรู้เกี่ยวกับทิศทางและยุทธศาสตร์ของประเทศ 

−    ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

−    มองเห็นภาพรวมและความเชื่อมโยงระหว่างการทำงานของตนเองและคนอื่น (Holistic View and Task Linkage)

−    ทักษะการเป็นผู้นำ (Leadership Skills)

−    ทักษะการแก้ไขปัญหา (Problem Solving)

−    ทักษะการบริหารความเสี่ยง (Risk Management)

−    ทักษะการมีวิสัยทัศน์ (Visioning)

−    มีความคิดริเริ่ม (Innovative)

−    มีความพยายาม ไม่ย่อท้อ (Persistent)

−    จูงใจให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อคล้อยตาม (Interpersonal Influencing)

−    สร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ (Networking Ability)

−    มีความฉลาดทางอารมณ์ (Emotionally Intelligent)

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

−    ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture)

−    ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานเทคโนโลยีดิจิทัลที่จำเป็นเพื่อขับเคลื่อนองค์กรดิจิทัล

−    ความรู้ด้านการออกแบบองค์กรและเทคนิคการทำให้บรรลุผล Organization Design and Implementation)

−    ความรู้เบื้องต้นด้านการออกแบบการให้บริการ และกรอบมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น ITIL (Information Technology Infrastructure Library โดยมุ่งเน้นเรื่อง IT service management (ITSM) เป็นต้น

−    ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีใหม่ เช่น Artificial Intelligence, Big data Analytics        เป็นต้น

−    ความรู้ในทิศทางการใช้งานเทคโนโลยีของผู้ใช้บริการ เช่น Mobile Applications, Social medias เป็นต้น

−    แนวคิดและเทคนิคการทำ Design thinking

−    เทคนิคการจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management)

−    เทคนิคการจัดการการสื่อสาร (Communication Management)

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

−    หลักฐานการออกแบบองค์กรดิจิทัลอนาคต

−    เอกสารหรือรายงานที่แสดงถึงการออกแบบองค์กรดิจิทัลอนาคต

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

−    ผลการทดสอบความรู้ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 

−    ประกาศนียบัตรต่างๆ จากการฝึกอบรมพัฒนาหรือการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

−    พิจารณาได้จากคุณภาพของหลักฐานการปฏิบัติงาน

−    ตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

    หน่วยสมรรถนะนี้สำหรับการพัฒนาองค์กรดิจิทัลในช่วง 1-2 ปีแรก โดยเน้นการกำหนดกระบวนงานหลัก

ขององค์กรดิจิทัลที่ควรสอดคล้องกับนโยบายและกลยุทธ์ การกำหนดบทบาทหน้าที่ ภาระงาน และทักษะ ของบุคลากรในกระบวนงานหลัก การปรับโครงสร้างองค์กรและวิธีการบริหารจัดการที่เหมาะสม รวมไปถึงการวิเคราะห์ช่องว่างเพื่อใช้เป็นข้อมูลวางแผนองค์กรดิจิทัล สำหรับระยะช่วง 2-5 ปี ควรเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการแลกเปลี่ยนระหว่างหน่วยงาน (G2G, G2C, G2B) และ การสื่อสารภายใน

และระหว่างหน่วยงานให้เข้าใจถึงการปรับเปลี่ยนไปสู่องค์กรดิจิทัล ได้แก่กระบวนการพัฒนาของการเชื่อมโยง

ข้อมูลภายในหน่วยงานและกระบวนการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน



(ก)    คำแนะนำ 

ผู้ปฏิบัติงานภายใต้หน่วยสมรรถนะนี้จะเป็นผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องกับงานบริการเพื่อวิเคราะห์สถานภาพ

และวาดภาพองค์กรเป้าหมายที่มีกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอีกทั้งติดตามแนวโน้ม

เทคโนดิจิทัลที่ทันสมัยที่สามารถเปลี่ยนผ่านสู่การทำงานของภาครัฐแบบดิจิทัลในอนาคตและเริ่มสร้างสรรค์

นวัตกรรมร่วมข้ามกระทรวง



(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

การทำงานแบบบูรณาการ ควรมีความครอบคลุมกระบวนการ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนกระทั่งปลายน้ำ รวมทั้งกำหนดบทบาทภารกิจให้มีความชัดเจนว่าใคร มีความรับผิดชอบในเรื่องหรือกิจกรรมใด

รวมทั้งการจัดทำตัวชี้วัดของกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกัน (Joint KPIs) การประเมินความคุ้มค่าในการพัฒนา

บริการดิจิทัล (Cost Benefit Analysis) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อสนับสนุนการประเมิน

ความคุ้มค่าของการพัฒนาบริการดิจิทัล โดยการวิเคราะห์ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบริการดิจิทัล ประโยชน์ที่จะได้รับจากการพัฒนาบริการดิจิทัล รวมถึงวิเคราะห์ผลกระทบและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

จากการพัฒนาบริการดิจิทัลต่อผู้ใช้และองค์กร ตลอดจนการสื่อสารผลการประเมินความคุ้มค่าในการพัฒนา

บริการดิจิทัลไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจและนำไปสู่การตัดสินใจที่ถูกต้อง

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน 



ยินดีต้อนรับ