หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประยุกต์ใช้กรอบการดำเนินงานร่วมกันสำหรับพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ DG-XBGY-006

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประยุกต์ใช้กรอบการดำเนินงานร่วมกันสำหรับพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความสามารถใน สามารถจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อบูรณาการ (De-Siloed) กระบวนงานและข้อมูลที่แยกส่วน สามารถจัดทำสถาปัตยกรรมระบบ ตามกรอบการดำเนินงานร่วมกันสำหรับ พัฒนารัฐบาลดิจิทัล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
-    พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558-    พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560-    พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
DG301 จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อบูรณาการ (De-Siloed) กระบวนงานและข้อมูลที่แยกส่วน กำหนดกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องที่ต้องการบูรณาการ (Community of Interest) การทำงานดิจิทัล DG301.01 217453
DG301 จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อบูรณาการ (De-Siloed) กระบวนงานและข้อมูลที่แยกส่วน ระบุกระบวนงานและฐานข้อมูลที่ทำงานแบบแยกส่วน (Siloed Database) DG301.02 217454
DG301 จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อบูรณาการ (De-Siloed) กระบวนงานและข้อมูลที่แยกส่วน
วิเคราะห์การกระบวนงานและข้อมูลที่ต้องการเชื่อมโยง/แลกเปลี่ยนระหว่างหน่วยงาน
DG301.03 217455
DG301 จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อบูรณาการ (De-Siloed) กระบวนงานและข้อมูลที่แยกส่วน
กำหนดผลที่คาดหวังและแผนปฏิบัติการสำหรับบูรณาการกระบวนงานและข้อมูล
DG301.04 217456
DG302 จัดทำสถาปัตยกรรมระบบตามกรอบการดำเนินงานร่วมกันสำหรับ พัฒนารัฐบาลดิจิทัล
กำหนดแผนงานหลักเป้าหมายและบทบาทของสมาชิกในกลุ่ม
DG302.01 217457
DG302 จัดทำสถาปัตยกรรมระบบตามกรอบการดำเนินงานร่วมกันสำหรับ พัฒนารัฐบาลดิจิทัล
กำหนดรูปแบบและรายละเอียดกระบวนงานที่มีการดำเนินงานร่วม (BusinessInter-Operational Model)
DG302.02 217458
DG302 จัดทำสถาปัตยกรรมระบบตามกรอบการดำเนินงานร่วมกันสำหรับ พัฒนารัฐบาลดิจิทัล จัดทำสถาปัตยกรรมระบบกระบวนงาน (Business Reference Model) และข้อมูล (Data Reference Model) เพื่อใช้อ้างอิงร่วมกันระหว่างหน่วยงาน DG302.03 217459

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-    ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่21

-    ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบราชการหน้าที่ความรับผิดชอบและการบริหารจัดการภาครัฐ

-    ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายปกครองพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการกฎหมายว่าด้วยการละเมิด

-    ความรู้เกี่ยวกับทิศทางและยุทธศาสตร์ของประเทศ

-    ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก)    ความต้องการด้านทักษะ

-    มองเห็นภาพรวมและความเชื่อมโยงระหว่างการทำงานของตนเองและคนอื่น (Holistic Viewand Task Linkage)

-    ทักษะในการอธิบายถึงธุรกรรมหลักที่สำคัญขององค์กรสามารถชี้แจงให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจถึงขั้นตอน

และกระบวนการดำเนิงานหลักขององค์กรระบุได้ถึงช่องทางหรือโอกาสในการพัฒนาการให้บริการแก่ผู้รับบริการ

-    สามารถทำงานร่วมกับทีมงานอื่นๆที่มาจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกองค์กรรวมทั้งให้

ความร่วมมือและการช่วยเหลือทีมงานอื่นๆเพื่อให้เป้าหมายของการดำเนินงานร่วมหรือการบูรณาการที่กำหนดร่วมกันบรรลุผลสำเร็จ

-    ทักษะในการฟังและตั้งคำถามสามารถตั้งข้อคำถามโดยอ้างอิงได้ถึงข้อมูลหรือประสบการณ์จากผู้รู้ได้

สามารถตั้งและปรับเปลี่ยนข้อคำถามให้เหมาะสมกับสถานการณ์และกลุ่มบุคคลในระดับที่แตกต่างกันได้ยอมรับฟังและวิเคราะห์สรุปความคิดเห็นที่หลากหลายของสมาชิกในทีมได้

-    ทักษะในการกำหนดตัวชี้วัดและการประเมินคุณภาพบริการ

-    ทักษะในการปรับเปลี่ยนแผนการการทำงานให้รองรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

-    แสดงออกถึงความพร้อมและความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลที่เปิดเผยเพื่อการบูรณาการและเชื่อมโยงแลกเปลี่ยน (Open Mindset)

-    ชอบแก้ปัญหาที่มีความท้าทาย (Problem Solving)

-    มีความพยายามไม่ย่อท้อ (Persistent)

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับเป้าหมายพันธกิจกระบวนการทำงานและการให้บริการของหน่วยงาน

-    ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและมาตรฐานด้านดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับการทำงานภาครัฐ

-    ความรู้ด้านการเชื่อมโยง(Alignment)แผนการดำเนินงานกับยุทธศาสตร์ชาติและยุทธศาสตร์องค์กร

-    ความรู้และความเข้าใจในประเภทและขั้นตอนการดำเนินงานตามภารกิจที่รับผิดชอบตลอดจน

สามารถระบุผู้ที่เกี่ยวข้องตลอดกระบวนงานที่ต้องการบูรณาการ

-    ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมองค์กร(EnterpriseArchitecture)ได้แก่BusinessProcessModelingandIntegration,OperationalAlignment

-    ความรู้ด้านมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่ดีเช่นTOGAF,TH-eGIF,ISO9001(QMS), ISO/IEC27001,27002(ISMS), ISO/IEC20000,ITIL(IT Services) เป็นต้น

-    เทคนิคการบริหารผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Management)

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน(PerformanceEvidence)

-    หลักฐานการประยุกต์ใช้กรอบการดำเนินงานร่วมกันสำหรับพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

-    เอกสารหรือรายงานที่แสดงถึงการประยุกต์ใช้กรอบการดำเนินงานร่วมกันสำหรับพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

(ข)    หลักฐานความรู้(KnowledgeEvidence)

-    สามารถอธิบายและแนะนำให้ผู้อื่นจัดทำสถาปัตยกรรมระบบทั้งทางด้านรูปแบบกระบวนงานและ

ข้อมูลเสนอเพื่อการดำเนินงานร่วมกันโดยอ้างอิงได้ถึงประสบการณ์ที่ประสบผลสำเร็จและล้มเหลว

-    ประกาศนียบัตรต่าง ๆ จากการฝึกอบรมพัฒนาหรือการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

-    ตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และ

หลักฐานด้านความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ

    หน่วยสมรรถนะนี้ใช้สำหรับจัดทำกระบวนการดำเนินงานร่วมหรือการบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐเป็นสมรรถนะด้านการวิเคราะห์การทำงานร่วมกันข้ามหน่วยงานเพื่อให้บริการดิจิทัลแก่ประชาชนซึ่งเป็นสมรรถนะของการปรับใช้กรอบงาน (Framework) โดยเฉพาะกรอบการทำงานข้ามหน่วยงานซึ่งอ้างอิง THe-GIF2.0,

e-Government Capability Maturity Model ที่แต่ละหน่วยงาน ต้องทำการปรับกรอบงาน ให้เหมาะสมกับกระบวนการทำงานของหน่วยงาน เป็นต้น

-    กระบวนการบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐจะต้องทำการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับกฎหมาย

กฎระเบียบประกาศ และกระบวนการทำงานในหน่วยงานของตน



-    เมื่อปรับกรอบการทำงานแล้วและมีแผนปฏิบัติการเพื่อบูรณาการ (De-Siloed) กระบวนงานและข้อมูลที่แยกส่วนพร้อมทั้งกำหนด แผนงานหลัก มีสถาปัตยกรรม ระบบกระบวนงาน (Business Reference Model) และข้อมูล (Data Reference Model) เพื่อใช้อ้างอิง ร่วมกันระหว่างหน่วยงานควรสื่อสารและประกาศใช้ให้ทั่วทั้งองค์กรที่มีข้อตกลงร่วมกัน

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

-    สถาปัตยกรรมธุรกิจ (Business Architecture) คือ อธิบายการพัฒนาสถาปัตยกรรม ด้านธุรกิจเพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์สถาปัตยกรรมตามที่ได้ระบุไว้ในขั้นตอนก่อนหน้า

-    แบบจำลองอ้างอิงข้อมูล (Data Reference Model) คือ อธิบายถึงการบริหารจัดการข้อมูล ให้เป็นมาตรฐานและการแลกเปลี่ยนข้อมูลตลอดทั้งองค์กร

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน



ยินดีต้อนรับ