หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์วิธีการวัดและประเมินผลลัพธ์ของการบริหารหลักสูตร

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-UPIB-933A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์วิธีการวัดและประเมินผลลัพธ์ของการบริหารหลักสูตร

3. ทบทวนครั้งที่ 1 /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 2359 ผู้ประกอบวิชาชีพอื่นๆ ด้านการสอน ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับมีความรู้ และทักษะที่จำเป็นในการกำหนดวัตถุประสงค์การวัดและประเมินผลลัพธ์การบริหารหลักสูตรผู้สอนมัคคุเทศก์ และการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของประเมินผลลัพธ์การบริหารหลักสูตรผู้สอนมัคคุเทศก์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร สาขางานท่องเที่ยว

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30101.01

กำหนดวัตถุประสงค์การวัดและประเมินผลลัพธ์การบริหารหลักสูตร

1.1 จัดทำวัตถุประสงค์การวัดและประเมินผลลัพธ์การบริหารหลักสูตรเกี่ยวกับผู้สอนมัคคุเทศก์

1.2 ออกแบบการวัดและประเมินผลลัพธ์การบริหารหลักสูตรเกี่ยวกับผู้สอนมัคคุเทศก์ตามองค์ประกอบและหลักเกณฑ์ที่กำหนด


30101.01.01 220129
30101.02

รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา

2.1 วิเคราะห์วิธีการวัดและประเมินผลลัพธ์การบริหารหลักสูตรเกี่ยวกับผู้สอนมัคคุเทศก์

2.2 รวบรวมวิธีการวัดและประเมินผลลัพธ์การบริหารหลักสูตรเกี่ยวกับผู้สอนมัคคุเทศก์

2.3 สรุปผลการวิเคราะห์วิธีการวัดและประเมินผลลัพธ์การบริหารหลักสูตรเกี่ยวกับผู้สอนมัคคุเทศก์


30101.02.01 220131

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ออกแบบวิธีการในการกำหนดวัตถุประสงค์การวัดและประเมินผลลัพท์การเรียนรู้



- กำหนดวัตถุประสงค์การวัดและประเมินผลลัพท์การเรียนรู้



- สรุปผลการกำหนดวัตถุประสงค์การวัดและประเมินผลลัพท์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ



- ออกแบบวิธีการในการวิเคราะห์การวิเคราะห์วิธีการวัดและประเมินผลลัพท์การเรียนรู้



- ประเมินผลการวิเคราะห์วิธีการวัดและประเมินผลลัพท์การเรียนรู้



- สรุปผลการประเมินการการวิเคราะห์วิธีการวัดและประเมินผลลัพท์การเรียนรู้



- วิธีการมีส่วนร่วมในการวางแผนและพัฒนากระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- วิธีการกำหนดวัตถุประสงค์การวัดและประเมินผลลัพท์การเรียนรู้เพื่อให้เข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- วิธีการกำหนดรูปแบบโครงสร้างของการวิเคราะห์วิธีการวัดและประเมินผลลัพท์การเรียนรู้ของผู้สอนมัคคุเทศก์และผู้เรียนหลักสูตรมัคคุเทศก์


 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และ ควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



  1. หลักฐานแสดงประสบการณ์การทำงานด้านการสอนมัคคุเทศก์ หรือการสอนสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง



  2. หลักฐานการผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง



  3. ผลงาน/รางวัล จากการปฏิบัติงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



- เอกสารรูปแบบโครงสร้างของวัตถุประสงค์การวัดและประเมินผลลัพท์การเรียนรู้



- เอกสารรูปแบบโครงสร้างของการวิเคราะห์วิธีการวัดและประเมินผลลัพท์การเรียนรู้ของผู้สอนมัคคุเทศก์และผู้เรียนหลักสูตรมัคคุเทศก์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยต้องแสดงถึง 



1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฏระเบียบที่เกี่ยวข้อง



3. ขอบเขตด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน



          1. ข้อสอบปรนัย



          2. แบบสำรวจรายการ


15. ขอบเขต (Range Statement)

การบริหารหลักสูตร (Curriculum Management) หมายถึง กระบวนการหรือกิจกรรมที่ใช้ในการวางแผน ออกแบบ ดำเนินการ และปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและเป็นระบบ การบริหารหลักสูตรมุ่งเน้นการวิเคราะห์และประเมินความต้องการของผู้เรียน การวางแผนที่เหมาะสมของเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาทรัพยากรการเรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาต่อไป (Oliva, P. F., 2009; Kowalski, T. J., Lasley, T. J., & Mahoney, J. W., 2013)



          ระบบการบริหารหลักสูตร หมายถึง การวางแผนและดำเนินการนำหลักสูตรไปปฏิบัติอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ได้แก่ 1) การขออนุมัติใช้หลักสูตร 2) การประชาสัมพันธ์หลักสูตรสู่กลุ่มเป้าหมาย 3) การวางแผนการใช้หลักสูตร 4) การกำหนดทรัพยากรหลักสูตร 5) การกำหนดคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และ 6) การกำกับดูแลคุณภาพการใช้หลักสูตร โดยแต่ละกิจกรรมมีสาระสำคัญ ดังนี้



          1) การขออนุมัติใช้หลักสูตร หมายถึง การนำเอกสารหลักสูตรเสนอคณะกรรมการควบคุมคุณภาพหลักสูตร เพื่อขอความเห็นชอบและอนุมัติให้ใช้หลักสูตร การขออนุมัติใช้หลักสูตรเป็นกระบวนการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพหลักสูตรประเภทหนึ่ง เพราะคณะกรรมการจะร่วมกันพิจารณาว่าหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นเป็นประโยชน์สูงสุดต่อกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริงหรือไม่ ถ้าคณะกรรมการพบว่ามีประเด็นที่ต้องปรับปรุงแก้ไขก่อนการนำไปใช้ คณะกรรมการจะแจ้งให้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ก่อนแล้วจึงอนุมัติให้ใช้หลักสูตร



          2) การประชาสัมพันธ์หลักสูตรสู่กลุ่มเป้าหมาย หมายถึง การสื่อสารสาระสำคัญเกี่ยวกับหลักสูตรจากผู้รับผิดชอบหลักสูตรไปสู่กลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ได้รับข้อมูลประกอบการตัดสินใจเข้าศึกษาในหลักสูตร เช่น วัตถุประสงค์โครงสร้างเวลาเรียน ทีมผู้สอน การประชาสัมพันธ์หลักสูตรสู่กลุ่มเป้าหมายทำได้หลายวิธีการ เช่น การติดป้ายประกาศ การประกาศผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ การสื่อสารบนโลกออนไลน์ (online) การจัดสัมมนาทางวิชาการ เป็นต้น



          3) การวางแผนการใช้หลักสูตร หมายถึง การเตรียมความพร้อมก่อนการใช้หลักสูตรทุกด้านอย่างเป็นระบบชัดเจน เพื่อให้การใช้หลักสูตรมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ โดยทั่วไปการวางแผนการใช้หลักสูตรจะดำเนินการก่อนการใช้หลักสูตรใหม่ หรือก่อนการใช้หลักสูตร



4) การกำหนดทรัพยากรหลักสูตร หมายถึง การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งหมดประกอบด้วย บุคคล สิ่งของ และงบประมาณ ให้มีความเหมาะสมกับการนำหลักสูตรไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น การแบ่งภาระหน้าที่รับผิดชอบของบุคลากรไม่ว่าจะเป็นผู้สอน ผู้สนับสนุนทางวิชาการ เป็นต้น ในกรณีที่มีบุคลากรน้อยอาจต้องกำหนดให้ผู้สอนมีหน้าที่สนับสนุนทางวิชาการควบคู่กับหน้าที่การจัดการเรียนการสอนด้วย การกำหนดวันเวลาและสถานที่ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้คุ้มค่ามากที่สุด ตลอดจนการจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ในการจัดการศึกษาในแต่ละส่วน



         5) การกำหนดคณะกรรมการบริหารหลักสูตร หมายถึง การกำหนดคณะบุคคลผู้มีหน้าที่กำหนดนโยบายและดูแลคุณภาพทางวิชาการของหลักสูตรการกำหนดคณะกรรมการบริหารหลักสูตรควรเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเข้าใจธรรมชาติของหลักสูตรเป็นอย่างดีมีความสนใจงานด้านวิชาการ เพราะจะสามารถกำกับดูแลคุณภาพของหลักสูตรบนพื้นฐานหลักวิชาการ การบริหารจัดการหลักสูตรจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินการในรูปของคณะกรรมการ ทั้งนี้เพราะงานหลักสูตรเป็นงานวิชาการที่มีความละเอียดอ่อน การคิดและตัดสินใจเพียงคนเดียวอาจมีข้อจำกัดด้านความรู้และประสบการณ์ที่ส่งผลให้ตัดสินใจผิดพลาดได้



6) การกำกับดูแลคุณภาพการใช้หลักสูตร หมายถึง การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและควบคุมคุณภาพทางวิชาการของการใช้หลักสูตร มีองค์ประกอบหลักได้แก่ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการสนับสนุนงานวิชาการ กิจกรรมการดูแลคุณภาพการใช้หลักสูตรมีหลายรูปแบบ เช่น การนิเทศการเรียนการสอน การฝึกอบรมและพัฒนาครูการพัฒนาเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง การประเมินคุณภาพการศึกษา การดูแลช่วยเหลือผู้เรียน การประชุม การสัมมนา การกำกับดูแลคุณภาพการใช้หลักสูตรที่มีประสิทธิภาพต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลาการใช้หลักสูตร โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งผู้สอน ผู้บริหาร ผู้ปกครอง ชุมชน ตลอดจนผู้เรียนทั้งนี้เพื่อให้การใช้หลักสูตรเป็นไปอย่างมีคุณภาพ (มารุต พัฒผล, 2567)



 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ข้อสอบปรนัย และ



2. แบบสำรวจแฟ้มสะสมผลงาน



ยินดีต้อนรับ