หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดประเด็นการสรุปผลข้อมูล

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-BHHA-924A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดประเด็นการสรุปผลข้อมูล

3. ทบทวนครั้งที่ 1 /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 2359 ผู้ประกอบวิชาชีพอื่นๆ ด้านการสอน ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับมีความรู้ และทักษะที่จำเป็นในการจำแนกเนื้อหาเพื่อสรุปประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบผลของข้อมูลตามประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และสรุปตามประเด็นที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร สาขางานท่องเที่ยว

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10301.01 จำแนกข้อมูลเนื้อหาเพื่อสรุปประเด็น
1.1 รวบรวมเนื้อหาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสอดคล้องกับประเด็นที่กำหนด
1.2 กำหนดขอบเขตเนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวตามประเด็นที่กำหนด
1.3 สรุปเนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวตามประเด็นที่กำหนด

10301.01.01 220105
10301.02

วิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบผลข้อมูล

2.1 วิเคราะห์ข้อมูลตามประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด

2.2 จัดทำข้อมูลตามประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

2.3 สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว


10301.02.01 220106
10301.03

สรุปผลตามประเด็น

3.1 กำหนดเครื่องมือเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณในการรวบรวมผลที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด

3.2 วิเคราะห์เครื่องมือเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณในการรวบรวมผลที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด

3.3 สรุปข้อมูลตามประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว


10301.03.01 220107

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- รวบรวม สืบค้น และจำแนกเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้อย่างถูกต้อง



- กำหนดขอบเขตเนื้อหาความรู้ด้านการท่องเที่ยวมีมูลค่าสูง



- จำแนก และดำเนินการสรุปเนื้อหาความรู้ด้านการท่องเที่ยวมีมูลค่าสูง



- จัดเตรียมข้อมูลตามประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว



- ปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลตามประเด็นได้อย่างถูกต้องตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด



- สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว



- ออกแบบวิธีการในการรวบรวมผลการวิเคราะห์เนื้อหาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว



- กำหนดเครื่องมือเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณในการรวบรวมผลได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด



- สรุปผลการรวบรวมข้อมูลตามประเด็นที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว



- สามารถแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับงาน โดยใช้ทฤษฎีและเทคนิคด้วยตนเอง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- การจำแนกเนื้อหาเพื่อสรุปประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว



- ความพร้อมเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของฐานข้อมมูลที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ตามประเด็นด้านการท่องเที่ยวมูลค่าสูง



- ความพร้อมเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของการรวบรวมและสรุปตามประเด็นที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวตามประเด็นด้านการท่องเที่ยวมูลค่าสูง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และ ควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



  1. หลักฐานแสดงประสบการณ์การทำงานด้านการสอนมัคคุเทศก์ หรือการสอนสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง



  2. หลักฐานการผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง



  3. ผลงาน/รางวัล จากการปฏิบัติงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



- เอกสารรายการรวบรวม สืบค้น และจำแนกเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว



- เอกสารการสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยต้องแสดงถึง 



1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฏระเบียบที่เกี่ยวข้อง



3. ขอบเขตด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



 



(ง) วิธีการประเมิน



1. ข้อสอบปรนัย



2. แบบสำรวจรายการ


15. ขอบเขต (Range Statement)

เครื่องมือเชิงคุณภาพ (Qualitative Tool) และเชิงปริมาณ (Quantitative Tool) เป็นเครื่องมือในการรวบรวมผล หมายถึง เครื่องมือหรือเทคนิคที่ใช้ในกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือผลของการวิจัย โดยมุ่งเน้นไปที่ลักษณะของข้อมูลที่ต้องการจะเก็บรวบรวม



เครื่องมือเชิงคุณภาพ (Qualitative Tool) หมายถึง เครื่องมือที่ใช้สำหรับการเก็บข้อมูลที่มีลักษณะเป็นคำบรรยาย ความคิดเห็น หรือความรู้สึกของบุคคล มุ่งเน้นไปที่คุณภาพและความลึกของข้อมูลที่เก็บรวบรวม ใช้ในการสัมภาษณ์หรือการสำรวจทางคุณภาพ



เครื่องมือเชิงปริมาณ (Quantitative Tool) หมายถึง เครื่องมือที่ใช้สำหรับการเก็บข้อมูลที่มีลักษณะเป็นตัวเลข หรือข้อมูลที่สามารถวัดได้เป็นปริมาณ มุ่งเน้นไปที่การวัดและการเปรียบเทียบตัวเลขหรือข้อมูลที่เป็นตัวเลข ใช้ในการสำรวจทางปริมาณ หรือการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก ความสำคัญของเครื่องมือเชิงคุณภาพและ (Creswell, J. W., 2014)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ข้อสอบปรนัย



2. แบบสำรวจแฟ้มสะสมผลงาน



ยินดีต้อนรับ