หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดฐานข้อมูลการสืบค้นข้อมูลและเนื้อหา

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-XNFH-920A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดฐานข้อมูลการสืบค้นข้อมูลและเนื้อหา

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

2359: ผู้ประกอบวิชาชีพอื่นๆ ด้านการสอนซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น


1 2359 ผู้ประกอบวิชาชีพอื่นๆ ด้านการสอน ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับมีความรู้ และทักษะที่จำเป็นในการระบุประเภทของฐานข้อมูลในการสืบค้นเนื้อหา และการเลือกรูปแบบอุปกรณ์ในการเข้าถึงฐานข้อมูลในการสืบค้นเนื้อหาด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร สาขางานท่องเที่ยว

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10101.01

ระบุประเภทของฐานข้อมูลในการสืบค้น

1.1 กำหนดหัวข้อการสืบค้นข้อมูลด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

1.2 สำรวจแหล่งข้อมูล เพื่อค้นหาข้อมูลด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวตามเนื้อหาที่กำหนด

1.3 จัดทำข้อมูลจากแหล่งข้อมูล ด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว


10101.01.01 220095
10101.02

เลือกรูปแบบ อุปกรณ์การเข้าถึงฐานข้อมูล

2.1 จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

2.2 รวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือและมีการจดบันทึกข้อมูลด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวตามรูปแบบที่กำหนด

2.3 สรุปข้อมูลด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจากฐานข้อมูลตามหัวข้อที่กำหนด


10101.02.01 220096

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- กำหนดหัวข้อ และการค้นข้อมูลการสืบค้น



- ค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลชนิดต่างๆ



- เลือกแหล่งข้อมูลที่สามารถค้นหาข้อมูลได้



- เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล



- รวบรวมข้อมูล จากการสืบค้นเนื้อหา



- พิจารณาและสรุปข้อมูลในการสบค้นเนื้อหา



- ความสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- สืบค้นบทความ บทวิพากษ์ บทสรุปผู้บริหาร รายงานประจำปี แผนปฏิบัติการประจำปี แผนยุทธศาสตร์ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ



 - ความพร้อมและจำนวนของสื่อสิ่งพิมพ์ ตำรา รวมถึงฐานข้อมูลในการสืบค้น



 



 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และ ควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. หลักฐานแสดงประสบการณ์การทำงานด้านการสอนมัคคุเทศก์ หรือการสอนสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

2. หลักฐานการผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

3. ผลงาน/รางวัล จากการปฏิบัติงาน





(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

- แบบสรุปข้อมูล

- รายการสื่อสิ่งพิมพ์ ตำรา รวมถึงฐานข้อมูลในการสืบค้น





(ค)    คำแนะนำในการประเมิน 

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยต้องแสดงถึง  

1.    ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง 

2.    วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฏระเบียบที่เกี่ยวข้อง 

3.    ขอบเขตด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง 



(ง) วิธีการประเมิน 

1. ข้อสอบปรนัย


 


15. ขอบเขต (Range Statement)

 ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง สิ่งที่เป็นทรัพยากรสารสนเทศที่ได้บันทึกและรวบรวมไว้                เป็นระบบที่ใช้จัดเก็บข้อมูลในรูปแบบที่มีโครงสร้างและสามารถเข้าถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีหลายประเภทของฐานข้อมูลที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการในการจัดการข้อมูลที่แตกต่างกัน โดยมีการพัฒนาและใช้งานอย่างแพร่หลายในการจัดเก็บและจัดการข้อมูลในหลายอุตสาหกรรม (Elmasri, R., & Navathe, S. B., 2020)

อุปกรณ์การเข้าถึงฐานข้อมูล หมายถึง เครื่องมือที่เป็นส่วนสำคัญในการใช้งานฐานข้อมูล เนื่องจากช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงและจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งออกเป็น

1. คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปและแล็ปท็อป (Desktop and Laptop Computers)

คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปและแล็ปท็อปยังคงเป็นอุปกรณ์หลักในการเข้าถึงฐานข้อมูล โดยเฉพาะสำหรับการจัดการฐานข้อมูลขนาดใหญ่และการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ต้องการประสิทธิภาพสูง (Pérez, F., Granger, B. E., & Hunter, J. D., 2015)

2.สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต (Smartphones and Tablets)

สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตถูกใช้งานอย่างแพร่หลายสำหรับการเข้าถึงฐานข้อมูลในระดับผู้ใช้ทั่วไปและการจัดการข้อมูลแบบเคลื่อนที่ แอปพลิเคชันบนมือถือช่วยให้ผู้ใช้สามารถดูและแก้ไขข้อมูลได้จากทุกที่ (Kumar, N., & Singh, A. K., 2020) 

3. คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing)

บริการคลาวด์เช่น Amazon Web Services (AWS), Microsoft Azure, และ Google Cloud Platform ช่วยให้สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย โดยไม่จำเป็นต้องมีฮาร์ดแวร์ในสถานที่ (Hashem, I. A. T., Yaqoob, I., Anuar, N. B., Mokhtar, S., Gani, A., & Khan, S. U., 2015) 

4. อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things, IoT)

อุปกรณ์ IoT เช่น เซ็นเซอร์และเครื่องมือสวมใส่ (wearable devices) ใช้ในการเก็บข้อมูลและส่งไปยังฐานข้อมูลโดยอัตโนมัติ ซึ่งช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเรียลไทม์ (Whitmore, A., Agarwal, A., & Da Xu, L., 2015) 

5. เครื่องมือพัฒนาและสืบค้นฐานข้อมูล (Database Development and Query Tools)

เครื่องมือเช่น SQL Developer, DBeaver, pgAdmin, และ MongoDB Compass ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงและจัดการฐานข้อมูลได้อย่างง่าย ทั้งในแง่ของการออกแบบ การสืบค้น และการบำรุงรักษา(Thakkar, M., & Thakkar, D., 2020) 

การเลือกใช้อุปกรณ์การเข้าถึงฐานข้อมูลที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและความต้องการของผู้ใช้ เช่น การเข้าถึงข้อมูลจากที่ใดก็ได้ การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ หรือการวิเคราะห์ข้อมูลแบบทันเวลา (Realtime) 


 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ข้อสอบปรนัย



ยินดีต้อนรับ