หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนการกำหนดรูปแบบการจัดการเรียนการสอน

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-QHMG-931A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนการกำหนดรูปแบบการจัดการเรียนการสอน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 2359 ผู้ประกอบวิชาชีพอื่นๆ ด้านการสอน ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับมีความรู้ และทักษะที่จำเป็นในขอบเขตของการกำหนดกำหนดจุดมุ่งหมายและรูปแบบการจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้สอนมัคคุเทศก์ การออกแบบการจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้สอนมัคคุเทศก์ และการสรุปและประเมินผลและการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร สาขางานท่องเที่ยว

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20302.01

กำหนดจุดมุ่งหมายและรูปแบบการจัดการเรียนการสอน

1.1 จัดทำจุดมุ่งหมายการเรียนรู้

1.2 ระบุขอบเขตและรูปแบบการจัดการเรียนการสอนทั้งแบบมีชั้นเรียนและการเรียนรู้ด้วยตนเองสอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย


20302.01.01 220124
20302.02

ออกแบบการจัดการเรียนการสอน

2.1 กำหนดรูปแบบการสอนทั้งแบบมีชั้นเรียนและการเรียนรู้ด้วยตนเอง

2.2 จัดทำสื่อการเรียนรู้ที่มีเนื้อหาทันสมัย จากกรณีศึกษาใหม่ๆสอดคล้องกับรูปแบบการเรียนรู้

2.3 ระบุแหล่งข้อมูลในการศึกษาค้นคว้าที่มีความน่าเชื่อถือ

2.4 กำหนดรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ครอบคลุมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

2.5 เขียนผลลัพธ์การเรียนรู้ได้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและขอบเขตรายวิชา

2.6 กำหนดเวลาแต่ละกิจกรรมได้อย่างเหมาะสมกับรูปแบบที่กำหนด

2.7 กำหนดวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติสอดคล้องกับรูปแบบที่กำหนด


20302.02.01 220125
20302.03

สรุปและปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน

3.1 จัดทำแบบประเมินเพื่อให้ผู้เรียนประเมินการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบที่กำหนด

3.2 รวบรวมผลการประเมินตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

3.3 จัดทำผลการประเมินตามขั้นตอนและวิธีการประเมินที่กำหนดไว้

3.4 จัดทำแนวทางการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบที่กำหนด


20302.03.01 220126

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- จัดทำเอกสารแผนการสอน



        - การสอนวิธีการเรียนรู้ และการพัฒนาตนเองในการปฏิบัติงาน รวมถึงการใช้ทฤษฎี เทคนิค การวิเคราะห์ สังเคราะห์ ในการแก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- เนื้อหารายวิชา เช่น อุตสาหกรรมท่องเที่ยว จิตวิทยาการบริการ การวางแผนและการจัดนำเที่ยว มรดกไทยและภูมิปัญญาไทยเพื่อการท่องเที่ยว เป็นต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

  หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และ ควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



  1. หลักฐานแสดงประสบการณ์การทำงานด้านการสอนมัคคุเทศก์ หรือการสอนสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง



  2. หลักฐานการผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง



  3. ผลงาน/รางวัล จากการปฏิบัติงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



     - แผนการกำหนดรูปแบบการจัดการเรียนการสอน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยต้องแสดงถึง 



1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฏระเบียบที่เกี่ยวข้อง



3. ขอบเขตด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน



    1.ข้อสอบปรนัย



             2.แบบสำรวจรายการ


15. ขอบเขต (Range Statement)

รูปแบบการจัดการเรียนการสอน หมายถึง วิธีการและเทคนิคที่ใช้ในการนำเสนอเนื้อหาการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการศึกษา รูปแบบการจัดการเรียนการสอนมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับลักษณะของผู้เรียน วัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน และสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ นอกจากนี้ ประเภทของรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย การบรรยาย (Lecture) การเรียนรู้แบบกลุ่ม (Group Learning) การเรียนรู้แบบปฏิบัติ (Hands-on Learning) การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) และการเรียนรู้โดยการแก้ปัญหา (Problem-Based Learning) (Picciano & Seaman, 2020; Reigeluth & Carr-Chellman, 2019).



ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning outcomes) หมายถึง ผลลัพธ์หรือผลที่ผู้เรียนได้รับหลังจากที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้บางอย่าง ซึ่งสามารถวัดหรือประเมินได้ว่าผู้เรียนได้รับการเรียนรู้อะไรไปบ้าง และมีการพัฒนาอย่างไรในด้านความรู้ ทักษะ ทัศนคติ หรือพฤติกรรมที่เป็นเป้าหมาย



ตัวอย่างของผลลัพธ์การเรียนรู้



1. ความรู้ ผู้เรียนเข้าใจหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร



2. ทักษะ ผู้เรียนสามารถใช้ซอฟต์แวร์การบริหารจัดการข้อมูลได้



3. ทัศนคติ ผู้เรียนมีความเข้าใจถึงความสำคัญของการเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ



4. พฤติกรรม ผู้เรียนมีทักษะในการแก้ปัญหาและทำงานร่วมกับผู้อื่น (Bloom, B. S., Engelhart, M. D., Furst, E. J., Hill, W. H., & Krathwohl, D. R., 1956)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ข้อสอบปรนัย



2. แบบสำรวจแฟ้มสะสมผลงาน



ยินดีต้อนรับ