หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ส่งเสริมสืบทอดภูมิปัญญาบาติกให้คนรุ่นใหม่

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-NJWF-456B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ส่งเสริมสืบทอดภูมิปัญญาบาติกให้คนรุ่นใหม่

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO – 08 รหัสอาชีพ 7316 ช่างเขียนลายผ้าบาติก

ISCO – 08 รหัสอาชีพ 7318 คนทำผ้าบาติก

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ครอบคลุมการแก้ปญหาที่เกิดจากการเขียนเทียน หรือพิมพ์ลายผ้าบาติก และแก้ปัญหาที่เกิดจากการระบายสี หรือย้อมสีผ้าบาติก รวมทั้งการแก้ปัญหาที่เกิดจากการตกแต่งผ้าบาติกได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ผลิตผ้าบาติก หรือ ปาเต๊ะ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10361

พัฒนาโครงการการศึกษาหรือการฝึกงานในสถานประกอบการบาติก

1. ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาโครงการการศึกษาหรือการฝึกงานที่เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมบาติก

10361.01 220083
10361

พัฒนาโครงการการศึกษาหรือการฝึกงานในสถานประกอบการบาติก

2. ส่งเสริมให้เยาวชนมีโอกาสเรียนรู้และฝึกทักษะด้านบาติกในสถานประกอบการ

10361.02 220084
10362

ทำงานร่วมกับโรงเรียนหรือสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับงานบาติก

1. พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะด้านบาติกร่วมกับโรงเรียนหรือสถานศึกษา

10362.01 220085
10362

ทำงานร่วมกับโรงเรียนหรือสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับงานบาติก

2. จัดโครงการที่สนับสนุนการเรียนรู้เกี่ยวกับงานบาติกในระดับเยาวชน

10362.02 220086

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)  ทักษะเกี่ยวกับการสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา ความสามารถในการประสานงานและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีเพื่อพัฒนาโครงการร่วมกับสถาบันการศึกษา

2)  ทักษะเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการฝึกงาน ความสามารถในการออกแบบและพัฒนาโครงการฝึกงานที่เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมบาติกเพื่อเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ของเยาวชน

3)  ทักษะเกี่ยวกับการส่งเสริมการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ ความสามารถในการสร้างโอกาสให้เยาวชนได้ฝึกทักษะด้านบาติกในสถานประกอบการจริง

4)  ทักษะเกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับสถานศึกษา ความสามารถในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะและความรู้ด้านบาติกให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษา

5)  ทักษะเกี่ยวกับการจัดการโครงการ ความสามารถในการวางแผนและบริหารโครงการที่สนับสนุนการเรียนรู้ด้านบาติกให้เกิดผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)  ความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมบาติก เข้าใจลักษณะและกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมบาติกเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้และฝึกอบรม

2)  ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาโครงการฝึกงาน รู้วิธีการออกแบบและจัดการโครงการฝึกงานที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับเยาวชน

3)  ความรู้เกี่ยวกับการประสานงานกับสถาบันการศึกษา เข้าใจหลักการและวิธีการในการสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้านบาติก

4)  ความรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีความเข้าใจในการวางแผนและพัฒนากิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในระดับเยาวชนและเหมาะสมกับโรงเรียนหรือสถานศึกษา

5)  ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมทักษะอาชีพในเยาวชน เข้าใจหลักการและวิธีการส่งเสริมให้เยาวชนได้รับทักษะและความรู้ที่เป็นประโยชน์สำหรับการประกอบอาชีพในอนาคต

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับความรู้ที่ต้องการ (Knowledge Evidence) และหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 

      (ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

             1)    เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือผู้ว่าจ้าง หรือ

             2)    ผลงานประกอบการประเมิน หรือผลงานผ้าบาติก หรือชิ้นงาน

             3)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolios) หรือ

      (ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

             1)    หนังสือหรือเอกสารรับรองผลการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ที่ต้องการ หรือ

             2)    ใบประกาศนียบัตร

      (ค)  คำแนะนำในการประเมิน

             การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

      (ง) วิธีการประเมิน

            เทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ (RESK : Recognition of Existing Skills and Knowledge)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

      (ก)  คำแนะนำ 

              การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

      (ข)  คำอธิบายรายละเอียด

              1) อุตสาหกรรมบาติก หมายถึง อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผ้าหรือสินค้าที่มีลวดลายจากเทคนิคบาติก ซึ่งเป็นเทคนิคการเขียนเทียนและการย้อมสีในการสร้างลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์บนผ้า

              2) เยาวชน หมายถึง กลุ่มคนที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นหรือวัยหนุ่มสาว ซึ่งกำลังพัฒนาตนเองทั้งด้านการศึกษาและทักษะในการประกอบอาชีพ

              3) ทักษะด้านบาติก หมายถึง ความสามารถและทักษะที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในกระบวนการผลิตผ้าบาติก รวมถึงการออกแบบ การเขียนเทียน และการย้อมสี

              4) สถานประกอบการ หมายถึง สถานที่หรือองค์กรที่มีการดำเนินกิจการทางธุรกิจหรือการผลิต ซึ่งเป็นแหล่งที่ให้โอกาสในการทำงานและฝึกทักษะด้านบาติก

              5) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการออกแบบและจัดกิจกรรมที่สนับสนุนการเรียนรู้และเสริมสร้างทักษะต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียน

              6) ส่งเสริมทักษะด้านบาติก หมายถึง การสนับสนุนและจัดกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนหรือผู้สนใจมีโอกาสฝึกฝนและพัฒนาความสามารถในการทำงานด้านบาติก

      (ค)  เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็น 

              N/A 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

      พิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า และให้เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานของผู้เข้ารับการประเมิน ในกระบวนการประเมินเทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ โดยหลักฐานต้องมีความสอดคล้องตามหน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence: UOC) สมรรถนะย่อย (Element of Competence: EOC) และเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria: PC)



ยินดีต้อนรับ