หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนาผลิตภัณฑ์บาติกที่ยั่งยืน

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-IAYN-449B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนาผลิตภัณฑ์บาติกที่ยั่งยืน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 7316 ช่างเขียนลายผ้าบาติก

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 7318 คนทำผ้าบาติก

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      หน่วยสมรรถนะนี้ครอบคลุมการเตรียมผ้าและแบบลวดลายที่จะใช้ในการเขียนลายบนผ้าบาติก จัดวางลายผ้าและจัดองค์ประกอบบาติกลายเขียน ใช้จันติ้งสร้างลวดลายบนผ้าได้และสามารถควบคุมอุณหภูมิของน้ำเทียนได้ถูกต้องเลือกประเภทการพิมพ์เทียน เช่น พิมพ์ลายเส้น พิมพ์เทียนเพื่อกันสีจากการแต้มสีและระบายสี พิมพ์เทียนเพื่อเก็บสีพื้น พิมพ์เทียนเพื่อเก็บสีบางส่วน เตรียมผ้าและแบบลวดลายที่จะใช้ในการพิมพ์ลายเทียนบนผ้าบาติกลายพิมพ์ จัดวางลายผ้าและจัดองค์ประกอบสำหรับผ้าบาติกลายพิมพ์ ควบคุมเวลาขณะที่แม่พิมพ์แช่ลงในน้ำเทียนและพิมพ์ลายเทียนลงบนผ้า เลือกสูตรน้ำเทียนที่เหมาะสมกับเทคนิคการย้อมสี เตรียมน้ำเทียนหรือผสมเทียนสำหรับวาดลายเพื่อกันสีให้เกิดลวดลายก่อนที่จะนำไปย้อมสี เตรียมน้ำเทียนสำหรับปิดลาย เพื่อเก็บสีที่ย้อมหรือปิดพื้นที่ในส่วนที่ไม่ต้องการให้สีติด ควบคุมอุณหภูมิของน้ำเทียน เตรียมน้ำสำหรับลอกเทียนอกจากผ้า และทำความสะอาดผ้า และทำให้ผ้าแห้ง ตกแต่งผ้าหลังการย้อม เพื่อป้องกันสีตก และซีดจางเพื่อให้สีผ้ามีความคงทน และเก็บความเรียบร้อยของผ้าบาติกได้ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ผลิตผ้าบาติก หรือ ปาเต๊ะ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10231

วางแผนการผลิตที่ลดการปล่อยของเสียและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

1. ออกแบบกระบวนการผลิตที่ลดของเสีย 

10231.01 220055
10231

วางแผนการผลิตที่ลดการปล่อยของเสียและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

2. นำของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิตมาใช้ซ้ำในผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่า

10231.02 220056
10232

ประเมินความต้องการของตลาดและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการ

1. ทำการสำรวจและวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ

10232.01 220057
10232

ประเมินความต้องการของตลาดและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการ

2. ปรับเปลี่ยนรูปแบบและลวดลายตามความต้องการของตลาดและแฟชั่นในปัจจุบัน

10232.02 220058

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)  ทักษะเกี่ยวกับการพัฒนาการวางแผนการผลิตอย่างเป็นระบบเพื่อลดของเสีย

2)  ทักษะเกี่ยวกับการวิเคราะห์แนวโน้มตลาดและความต้องการของลูกค้าอย่างแม่นยำ

3)  ทักษะเกี่ยวกับการคิดเชิงนวัตกรรมในการออกแบบลวดลายและผลิตภัณฑ์ใหม่จากวัสดุรีไซเคิล

4)  ทักษะเกี่ยวกับการระบุจุดที่เกิดของเสียในกระบวนการผลิตและหาวิธีลดของเสีย

5)  ทักษะเกี่ยวกับการทำการสำรวจลูกค้าและเข้าใจแนวโน้มแฟชั่น

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)  ความรู้เกี่ยวกับการผลิตที่ยั่งยืนเพื่อลดของเสีย

2)  ความรู้เกี่ยวกับวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์และเทคนิคการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับวัสดุรีไซเคิล

3)  ความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มและความต้องการของลูกค้าในอุตสาหกรรมแฟชั่นปัจจุบัน

4)  ความรู้เกี่ยวกับการนำของเสียในกระบวนการผลิตมาใช้ใหม่

5)     ความรู้เกี่ยวกับหลักการออกแบบแฟชั่นและลวดลายที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับความรู้ที่ต้องการ (Knowledge Evidence) และหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 

      (ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

             1)    เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือผู้ว่าจ้าง หรือ

             2)    ผลงานประกอบการประเมิน หรือผลงานผ้าบาติก หรือชิ้นงาน

             3)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolios) 

      (ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

             1)    หนังสือหรือเอกสารรับรองผลการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ที่ต้องการ หรือ

             2)    ใบประกาศนียบัตร

      (ค)  คำแนะนำในการประเมิน

             การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

      (ง) วิธีการประเมิน

             เทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ (RESK : Recognition of Existing Skills and Knowledge)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

      (ก)  คำแนะนำ 

 การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

      (ข)  คำอธิบายรายละเอียด

             1) ออกแบบกระบวนการผลิตที่ลดของเสีย หมายถึง การวางแผนและพัฒนาขั้นตอนการผลิตเพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด โดยสามารถนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ในผลิตภัณฑ์อื่นได้เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับทรัพยากรที่มีอยู่

             2) การรีไซเคิลน้ำย้อม หมายถึง การนำน้ำที่ใช้ในการย้อมผ้ากลับมาใช้ซ้ำ เพื่อลดการสิ้นเปลืองของทรัพยากรและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากของเสียที่เป็นสารเคมี

             3) การรีไซเคิล wax หรือ เทียน หมายถึง การนำเทียนที่ใช้ในการเขียนลายผ้ากลับมาใช้ซ้ำในกระบวนการผลิต เพื่อประหยัดวัสดุและลดของเสียจากการผลิตผ้าบาติก

             4) แฟชั่น หมายถึง แนวโน้มการออกแบบและสไตล์ของเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายที่เป็นที่นิยมในช่วงเวลานั้น

      (ค)  เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็น 

             N/A 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

      พิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า และให้เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานของผู้เข้ารับการประเมิน ในกระบวนการประเมินเทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ โดยหลักฐานต้องมีความสอดคล้องตามหน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence: UOC) สมรรถนะย่อย (Element of Competence: EOC) และเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria: PC)

 



ยินดีต้อนรับ